รัล์ฟ รังนิค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัล์ฟ รังนิค
รังนิคในปี 2019
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม รัล์ฟ รังนิค
วันเกิด (1958-06-29) 29 มิถุนายน ค.ศ. 1958 (65 ปี)
สถานที่เกิด บัคนัง เยอรมนีตะวันตก
ส่วนสูง 1.81 m (5 ft 11 12 in)[1]
ตำแหน่ง กองกลางตัวรับ
ข้อมูลสโมสร
สโมสรปัจจุบัน
ออสเตรีย (ผู้จัดการทีม)
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
1976–1979 เฟาเอ็ฟเบ ซตุทท์การ์ท 2
1979–1980 Southwick
1980–1982 VfR Heilbronn 66 (6)
1982–1983 Ulm 1846 32 (0)
1983–1985 FC Viktoria Backnang
1987–1988 TSV Lippoldsweiler
จัดการทีม
1983–1985 วิคทอเรีย บัคนัง
1987–1988 TSV Lippoldsweiler
1988–1990 เอ็สเซ คอร์พ
1995–1996 เอ็สเอ็สเฟา รียูทนิเทน
1997–1999 อุล์ม 1846
1999–2001 เฟาเอ็ฟเบ ชตุทการ์ท
2001–2004 ฮันโนเฟอร์ 96
2004–2005 ชัลเคอ 04
2006–2010 1899 ฮ็อฟเฟินไฮม์
2011 ชัลเคอ 04
2015–2016 แอร์เบ ไลพ์ซิช
2018–2019 แอร์เบ ไลพ์ซิช
2021–2022[2] แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด (ชั่วคราว)
2022– ออสเตรีย
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น

รัล์ฟ รังนิค (เยอรมัน: Ralf Rangnick; เกิด 29 มิถุนายน ค.ศ. 1958) เป็นผู้จัดการทีมชาวเยอรมัน ผู้อำนวยการกีฬา และอดีตนักฟุตบอล[3][4] ปัจจุบันเป็นผู้จัดการทีมฟุตบอลทีมชาติออสเตรีย

ภายหลังจากไม่ประสบความสำเร็จในอาชีพนักฟุตบอล รังนิคได้เริ่มต้นอาชีพผู้ฝึกสอนใน ค.ศ. 1983 ในวัย 25 ปี ต่อมาใน ค.ศ. 1997 เขาได้รับการจ้างจากสโมสร เอสเอสวี อุล์ม 1846 ซึ่งเป็นสโมสรที่เขาเคยเล่นอาชีพ โดยรังนิคสามารถพาทีมชนะเลิศการแข่งขันลีกได้ในฤดูกาลแรกที่คุมทีม ก่อนจะย้ายไปคุมทีมเฟาเอ็ฟเบ ชตุทการ์ท สโมสรในบุนเดิสลีกา และพาทีมชนะเลิศยูฟ่าอินเตอร์โตโตคัพใน ค.ศ. 2000 แต่ก็ถูกปลดในเวลาต่อมาจากผลงานอันย่ำแย่ ต่อมาใน ค.ศ. 2001 รังนิคไปคุมทีมฮันโนเฟอร์ 96 ในซไวเทอบุนเดิสลีกา แต่ก็ถูกปลดใน ค.ศ. 2004 ต่อมา รังนิคไปร่วมงานกับชัลเคอ 04 ในช่วงเวลาสั้น ๆ ก่อนจะไปคุมทีมเทเอ็สเก 1899 ฮ็อฟเฟินไฮม์ ใน ค.ศ. 2006 ซึ่งเขาพาทีมเลื่อนชั่นขึ้นมาสู่บุนเดิสลีกาได้สำเร็จ ก่อนจะลาทีมใน ค.ศ. 2011 เพื่อกลับไปร่วมงานกับชัลเคอ 04 และพาทีมชนะเลิศเดเอ็ฟเบ-โพคาล[5] และเข้าถึงรอบรองชนะเลิศยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกในปีนั้น ก่อนจะไปรับตำแหน่งผู้อำนวยการกีฬาให้กับสโมสรเร็ดบุลซัลทซ์บวร์คในออสเตรีย และแอร์เบ ไลพ์ซิชในเยอรมนี และยังทำหน้าที่ผู้ฝึกสอนให้แก่แอร์เบ ไลพ์ซิชสองครั้งในฤดูกาล 2015–16 และ 2018–19

ในระหว่างการร่วมงานกับเร็ดบุล รังนิคมีส่วนสำคัญในการวางรากฐานและระบบทีมเพื่อแข่งขันในฟุตบอลยุโรป เขามีบทบาทในการดูแลระบบเยาวชน รวมถึงการเป็นแมวมองในการค้นหาผู้เล่นทักษะดีเข้ามาสู่ทีม และยังเป็นผู้นำปรัชญาการเล่นเกมรุกอันดุดันมาสู่สโมสร[6] ส่งผลให้สโมสรเร็ดบุลมีผลงานที่ดีขึ้น และยังมีมูลค่าการตลาดเพิ่มขึ้นจาก 120 ล้านยูโรเป็น 1.2 พันล้านยูโรในช่วงที่เขาทำงานให้สโมสร[7] รวมถึงการช่วยให้สโมสรแอร์เบ ไลพ์ซิช ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนด้วยผลกำไรมหาศาล และยกระดับทีมขึ้นมาเป็นหนึ่งในทีมชั้นนำของบุนเดิสลีกามาถึงปัจจุบัน[8] ซึ่งรังนิคยังได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นหัวหน้าฝ่ายกีฬาและการพัฒนาของสโมสรใน ค.ศ. 2019 ก่อนจะลาออกในปีต่อมา[9] รังนิคเข้ารับตำแหน่งเป็นผู้จัดการทีมชั่วคราวให้สโมสรแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2021 โดยเซ็นสัญญาไปจนสิ้นสุดฤดูกาล 2021–22

รังนิคได้รับการยกย่องในฐานะที่เป็นหนึ่งในผู้พัฒนาระบบการเล่นแบบเกเกนเพรสซิ่ง[a] (Gegenpressing)[10] และยังได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้จัดการทีมที่มีปรัชญาในการทำทีมที่ชัดเจน[11] มีความสามารถในการวางระบบและการพัฒนาศักยภาพนักเตะ เขายังถือเป็นบุคคลผู้มีอิทธิพลในการพัฒนาทักษะการคุมทีมของผู้ฝึกสอนหลายคน อาทิ แอ็นสท์ ฮัพเพิล, อาร์ริโก ซาคคี และ ซเดนเยค เซมัน [12] และยังเป็นผู้ฝึกสอนต้นแบบของผู้จัดการทีมชาวเยอรมันชื่อดังมากมาย อาทิ โทมัส ทุคเคิล, ยูลีอาน นาเกิลส์มัน, รัล์ฟ ฮาเซินฮึทเทิล และ เยือร์เกิน คล็อพ[13]

อาชีพผู้ฝึกสอน[แก้]

ช่วงแรก[แก้]

รังนิคเริ่มต้นอาชีพการเป็นผู้ฝึกสอนในช่วงทศวรรษ 1980 โดยสโมสรแรกที่เขาคุมทีมคือ Viktoria Backnang สโมสรในบ้านเกิดของเขาที่เมืองบัคยัง, เยอรมนี ซึ่งเขาเซ็นสัญญาในฐานะผู้เล่น-ผู้จัดการทีม ตามด้วยการย้ายไปคุมทีมสำรองของเฟาเอ็ฟเบ ซตุทท์การ์ท[14] และ Lippoldsweiler ตามลำดับ

ต่อมาใน ค.ศ. 1988 รังนิคไปคุมทีมเอสซี คอร์ป เป็นเวลาสองฤดูกาล ก่อนจะกลับมาร่วมงานกับซตุทท์การ์ทในฐานะผู้จัดการทีมรุ่นอายุไม่เกิน 19 ปี และพาทีมชนะเลิศการแข่งขันบุนเดิสลีการะดับเยาวชนใน ค.ศ. 1991 ก่อนจะลาทีมเพื่อไปคุมสโมสร SSV Reutlingen 05 ในลีกสมัครเล่นของเยอรมนี และพาทีมจบอันดับ 4 ได้ในฤดูกาลแรก[15] และรังนิคได้อำลาทีมในฤดูกาล 1997 เพื่อคุมอุล์ม 1846 อดีตสโมสรซึ่งเขาเคยเล่นอาชีพ[16]

การคุมทีมนัดแรกอย่างเป็นทางการในฐานะผู้จัดการทีมของอุล์ม จบลงด้วยความพ่ายแพ้ต่อกร็อยเทอร์เฟือร์ท 0–2 และรังนิคพาทีมจบฤดูกาลแรกด้วยอันดับ 6 ก่อนจะพาทีมคว้าแชมป์ลีกระดับ 3 ได้ในฤดูกาล 1997–98 และยังพาทีมทำผลงานยอดเยี่ยมอย่างต่อเนื่องในซไวเทอบุนเดิสลีกา และมีส่วนสำคัญในการวางระบบการเล่นใหม่ ๆ ของทีมรวมถึงการหาผู้เล่นฝีเท้าดีเข้าสู่ทีม ส่งผลให้สโมสรสามารถเลื่อนชั้นสู่ลีกสูงสุดอย่างบุนเดิสลีกาได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ใน ค.ศ. 2000

อย่างไรก็ตาม รังนิคได้เจรจากับเฟาเอ็ฟเบ ซตุทท์การ์ทในช่วงกลางฤดูกาลที่สองที่เขาทำหน้าที่เป็นผู้จัดการทีมของอุล์ม และทั้งสองฝ่ายบรรลุข้อตกลงร่วมกันในการดึงตัวรังนิคไปคุมทีมในฤดูกาลถัดไป และข่าวนี้ได้รั่วไหลสู่สาธารณชนในในเวลาต่อมา ส่งผลให้รังนิคลาออกจากการคุมทีมอุล์ม และเซ็นสัญญากับซตุทท์การ์ทในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1999

เฟาเอ็ฟเบ ซตุทท์การ์ท[แก้]

รังนิคเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการในวันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1999 และคุมทีมในช่วง 5 นัดสุดท้ายของฤดูกาล และพาทีมชนะได้ 2 จาก 5 นัด จบในอันดับ 11[17] ต่อมา เขาได้คุมทีมเต็มฤดูกาลในฤดูกาลถัดมา และพาทีมจบอันดับ 8 ต่อมา เขาพาทีมคว้าแชมป์ยูฟ่าอินเตอร์โตโตคัพ ได้ในฤดูกาลที่สาม รวมถึงเข้ารอบ 16 ทีมสุดท้ายยูฟ่าคัพ และรอบรองชนะเลิศเดเอ็ฟเบ-โพคาล แต่รังนิคได้ถูกปลดในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2001 จากผลงานย่ำแย่ของทีม โดยอันดับของซตุทท์การ์ทได้ตกลงไปท้ายตาราง[18]

ฮันโนเฟอร์ 96[แก้]

รังนิคย้ายมาร่วมงานกับฮันโนเฟอร์ 96 ในซไวเทอบุนเดิสลีกา และสามารถพาทีมเลื่อนชั้นสู่บุนเดิสลีกาได้เป็นครั้งแรกในรอบ 13 ปี[19] ในฤดูกาลต่อมา ฮันโนเฟอร์ 96 จบในอันดับ 11 แต่รังนิคได้ถูกปลดกลางฤดูกาล 2003–04 เนื่องจากทีมมีผลงานย่ำแย่โดยตกลงไปอยู่อันดับ 15 ของตาราง[20]

ชัลเคอ 04[แก้]

รังนิคได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้จัดการทีม ชัลเคอ 04 ในวันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 2004 โดยมาแทนที่ยุพ ไฮน์เคิส และพาทีมผ่านเข้ารอบแพ้คัดออกในยูฟ่าคัพได้ ก่อนจะแพ้ชัคตาร์ดอแนตสก์ และยังพาทีมเข้าชิงชนะเลิศเดเอ็ฟเบ-โพคาล แต่แพ้ไบเอิร์นมิวนิก 1–2[21] รวมถึงการจบฤดูกาลด้วยตำแหน่งรองแชมป์บุนเดิสลีกา เป็นรองเพียงไบเอิร์นมิวนิก

ในฤดูกาล 2005–06 รังนิคพาทีมคว้าแชมป์เดเอ็ฟเอ็ล-ลีกาโพคาล โดยเอาชนะเฟาเอ็ฟเบ ซตุทท์การ์ท สโมสรเก่าของเขา 1–0 และในฤดูกาลนี้ชัลเคอ 04 ยังได้ร่วมแข่งขันยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก แต่ไม่ผ่านรอบแบ่งกลุ่ม และผลงานของทีมก็ย่ำแย่ลงอย่างต่อเนื่องนับจากนั้น โดยอันดับในลีกได้ตกลงไปกลางตาราง รวมถึงการตกรอบฟุตบอลถ้วยเดเอ็ฟเบ-โพคาล โดยแพ้ไอน์ทรัคท์ฟรังค์ฟวร์ทไปถึง 0–6 ส่งผลให้รังนิคถูกปลดในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2005[22]

เทเอ็สเก 1899 ฮ็อฟเฟินไฮม์[แก้]

รังนิคใน ค.ศ. 2007

รังนิคย้ายมาร่วมงานกับสโมสรเทเอ็สเก 1899 ฮ็อฟเฟินไฮม์ในฤดูกาล 2006–07 โดยสโมสรเล่นอยู่ในเรกิโอนาลลีกา (ลีกระดับ 3) ในขณะนั้น[23] และเขาพาทีมเลื่อนชั้นขึ้นสู่ซไวเทอบุนเดิสลีกาได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ และยังทำผลงานยอดเยี่ยมต่อเนื่องด้วยการพาทีมจบอันดับ 2 ในฤดูกาลต่อมา เลื่อนชั้นสู่บุนเดิสลีกาได้สำเร็จ และยังเข้าถึงรอบ 8 ทีมสุดท้ายเดเอ็ฟเบ-โพคาล และในฤดูกาล 2008–09 เขาพาฮ็อฟเฟินไฮม์จบอันดับ 7 ในบุนเดิสลีกา

ในฤดูกาล 2009–10 ฮ็อฟเฟินไฮม์จบอันดับ 11[24] ต่อมา รังนิคได้ลาออกจากตำแหน่งในเดือนมกราคม ค.ศ. 2011 เนื่องจากไม่พอใจที่สโมสรขายลูอิส กุสตาวู กองกลางคนสำคัญให้แก่ไบเอิร์นมิวนิกโดยไม่ผานการตัดสินใจของเขา[25]

ชัลเคอ 04 (ครั้งที่สอง)[แก้]

รังนิคกลับมาเป็นผู้จัดการทีมให้กับ ชัลเคอ 04 อีกครั้ง โดยมาแทนที่ เฟลิคส์ มากัท และชาลเคอทำผลงานในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกได้อย่างยอดเยี่ยม โดยเอาชนะอินเตอร์มิลานในรอบ 8 ทีมสุดท้ายด้วยผลประตูรวม 7–3 ก่อนจะแพ้แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดในรอบรองชนะเลิศ[26]

ถัดมาในฤดูกาล 2011–12 ชัลเคอ 04 คว้าแชมป์เดเอ็ฟเอ็ล-ซูเพอร์คัพได้ เอาชนะจุดโทษโบรุสซีอาดอร์ทมุนท์[27] ก่อนที่รังนิคจะลาออกอย่างกะทันหันในเดือนกันยายน ค.ศ. 2011 โดยให้เหตุผลว่าตนเองมีอาการล้าเรื้อรัง จากการทำงานหนักและสะสมความเครียดเป็นเวลานาน[28][29][30]

แอร์เบ ไลพ์ซิช[แก้]

รังนิคในฐานะผู้จัดการทีมแอร์เบ ไลพ์ซิช ในฤดูกาล 2018–19

หลังจากหยุดพักจากการคุมทีมไปหลายปี รังนิคซึ่งรับตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการกีฬาให้กับสโมสรเร็ดบุลซัลทซ์บวร์คในออสเตรียในขณะนั้น ประกาศว่าเขาจะกลับมารับทำหน้าผู้จัดการทีมให้สโมสรแอร์เบ ไลพ์ซิช ในฤดูกาล 2015–16 ซึ่งเขาพาทีมเลื่อนชั้นขึ้นสู่บุนเดิสลีกาได้สำเร็จ และรัล์ฟ ฮาเซินฮึทเทิลเข้ามารับช่วงต่อจากเขา

ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2018 รังนิคกลับมารับตำแหน่งผู้จัดการทีมไลพ์ซิชเป็นครั้งที่สอง[31] และพาทีมทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม โดยจบอันดับสามในบุนเดิสลีกา ได้สิทธิ์แข่งขันยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ รวมทั้งเข้าชิงชนะเลิศเดเอ็ฟเบ-โพคาล ก่อนจะแพ้ไบเอิร์นมิวนิก รวมถึงทำผลงานในยูโรปาลีกได้ดีพอสมควร[32] รังนิคได้ลาทีมเมื่อจบฤดูกาล[33] และผู้ที่มาคุมทีมต่อจากเขาคือ ยูลีอาน นาเกิลส์มัน

แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด[แก้]

ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2021 รังนิคได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้จัดการทีมชั่วคราวของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดในพรีเมียร์ลีก โดยเขาจะคุมทีมไปจนสิ้นสุดฤดูกาล 2021–22 และจะรับตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาให้แก่สโมสรไปอีกสองปีหลังจากหมดสัญญา[34] รังนิคประเดิมการคุมทีมนัดแรกในเกมพรีเมียร์ลีกวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 2021 ซึ่งยูไนเต็ดเปิดโอล์ดแทรฟฟอร์ดเอาชนะคริสตัล พาเลซ 1–0[35] แต่ต่อมาทางสโมสรได้ประกาศว่ารังนิคจะไม่ทำหน้าที่ที่ปรึกษาสโมสร โดยเขาจะไปรับงานเป็นผู้จัดการทีมชาติออสเตรีย[36]

สถิติการคุมทีม[แก้]

ณ วันที่ 2 พฤษภาคม 2022
สโมสร วันที่รับตำแหน่ง สิ้นสุด สถิติ
จำนวนนัด ชนะ เสมอ แพ้ เปอร์เซ็นต์ในการชนะ
เฟาเอ็ฟเบ ชตุทการ์ท
(ทีมสำรอง)
1 กรกฎาคม 1985 30 มิถุนายน 1987 70 28 16 26 040.00
Reutlingen 05 1 กรกฎาคม 1995 31 ธันวาคม 1996 51 26 12 13 050.98
อุล์ม 1846 1 มกราคม 1997 16 มีนาคม 1999 75 36 18 21 048.00
เฟาเอ็ฟเบ ชตุทการ์ท 3 พฤษภาคม 1999[37] 24 กุมภาพันธ์ 2001 86 36 16 34 041.86
ฮันโนเฟอร์ 96 23 พฤษภาคม 2001 8 มีนาคม 2004[38] 98 44 22 32 044.90
ชัลเคอ 04 28 กันยายน 2004[39] 12 ธันวาคม 2005 65 36 15 14 055.38
เทเอ็สเก 1899 ฮ็อฟเฟินไฮม์ 22 มิถุนายน 2006 2 มกราคม 2011[40] 166 79 43 44 047.59
ชัลเคอ 04 21 มีนาคม 2011 22 กันยายน 2011[41] 23 10 3 10 043.48
แอร์เบ ไลป์ซิก 29 พฤษภาคม 2015 16 พฤษภาคม 2016[42] 36 21 7 8 058.33
แอร์เบ ไลป์ซิก 9 กรกฎาคม 2018 30 มิถุนายน 2019 52 29 13 10 055.77
แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด (ชั่วคราว) 29 พฤศจิกายน 2021[43] 23 พฤษภาคม 2022 27 11 10 6 040.74
รวม 749 356 175 218 047.53

เกียรติประวัติ[แก้]

ผู้จัดการทีม[44][แก้]

เฟาเอ็ฟเบ ชตุทการ์ท รุ่นอายุไม่เกิน 19 ปี

  • บุนเดิสลีการุ่นอายุไม่เกิน 19 ปี; ชนะเลิศ: 1990–91

อุล์ม 1846

  • เรกิโอนาลลีกา; ชนะเลิศ: 1997–98

เฟาเอ็ฟเบ ชตุทการ์ท

ฮันโนเฟอร์ 96

ชัลเคอ 04

แอร์เบ ไลป์ซิก

  • เดเอ็ฟเบ-โพคาล; รองชนะเลิศ: 2018–19

เชิงอรรถ[แก้]

  1. เป็นศาสตร์การเล่นฟุตบอลที่ผู้เล่นทุกคนจะต้องช่วยกันแย่งบอลกลับมาเล่นให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เมื่อทีมตัวเองเสียงการครอบครองบอล และจะต้องเคลื่อนที่ด้วยความรวดเร็ว เป็นหนึ่งในรูปแบบการเล่นที่ได้รับความนิยมสูงในฟุตบอลสมัยใหม่ ผู้จัดการทีมที่ขึ้นชื่อในการเล่นระบบนี้ เช่น เยือร์เกิน คล็อพ

อ้างอิง[แก้]

  1. "Ralf Rangnick - Spielerprofil - DFB" (ภาษาเยอรมัน). dfb.de. สืบค้นเมื่อ 18 October 2020.
  2. RALF COMPLETES LAST MATCH IN CHARGE
  3. "Ralf Rangnick appointed Man Utd interim manager until end of the season". Sky Sports (ภาษาอังกฤษ).
  4. "Man Utd statement on Ralf Rangnick". www.manutd.com (ภาษาอังกฤษ).
  5. "MSV Duisburg - FC Schalke 04, 0:5, DFB-Pokal 2010/11 Finale". DFB Datencenter (ภาษาเยอรมัน).
  6. "Ralf Rangnick: The catalyst for RB Leipzig's success". bundesliga.com - the official Bundesliga website (ภาษาอังกฤษ).
  7. Smith, Rory (2020-12-08). "The Oracle Is Speaking Again. Who Will Listen This Time?". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2021-11-27.
  8. "Leipzig - Germany's most divisive club". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2021-11-27.
  9. "Rangnick leaves role with Red Bull following failed move to Milan | Goal.com". www.goal.com.
  10. "Thomas Tuchel could become third successive German coach to win Champ…". archive.ph. 2021-05-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-28. สืบค้นเมื่อ 2022-04-18.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  11. Wallrodt, Lars (2016-04-24). "Julian Nagelsmann: Das traurige Geheimnis des Bubitrainers". DIE WELT (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 2021-11-27.
  12. "Which manager has proved the most influential of all time?". Football Supporters' Association (ภาษาอังกฤษ). 2015-07-27.
  13. Rangnick, Ralf. "'Jürgen Klopp plays a special kind of football' – inside the mind of Liverpool's manager" (ภาษาอังกฤษ). ISSN 0140-0460. สืบค้นเมื่อ 2021-11-27.
  14. "VfB Stuttgart II - Manager history". worldfootball.net (ภาษาอังกฤษ).
  15. "Regionalliga Süd (1994-2000) 1995/96 | 34. Spieltag | Ergebnisse & Termine". kicker (ภาษาเยอรมัน).
  16. "SSV Ulm 1846 - Manager history". worldfootball.net (ภาษาอังกฤษ).
  17. "Bundesliga 2021/22 | 13. Spieltag | Ergebnisse & Termine". kicker (ภาษาเยอรมัน).
  18. "Magath wird neuer Trainer beim VfB Stuttgart". kicker (ภาษาเยอรมัน).
  19. "2. Bundesliga 2001/02 | 34. Spieltag | Ergebnisse & Termine". kicker (ภาษาเยอรมัน).
  20. "Hannover 96 | Trainer". kicker (ภาษาเยอรมัน).
  21. "FC Schalke 04 | Spielplan und Termine | Bundesliga 2004/05". kicker (ภาษาเยอรมัน).
  22. "Ralf Rangnick muss gehen". kicker (ภาษาเยอรมัน).
  23. "Rangnick trainiert Hoffenheim". kicker (ภาษาเยอรมัน).
  24. "Bundesliga 2009/10 | 34. Spieltag | Ergebnisse & Termine". kicker (ภาษาเยอรมัน).
  25. "Pezzaiuoli tritt Rangnick-Nachfolge an". kicker (ภาษาเยอรมัน).
  26. "Anderson lässt Schalkes Traum zerplatzen". kicker (ภาษาเยอรมัน).
  27. "FC Schalke 04 - Fixtures & Results 2011/2012". worldfootball.net (ภาษาอังกฤษ).
  28. "Erschöpfungssyndrom: Ralf Rangnick tritt zurück". kicker (ภาษาเยอรมัน).
  29. UEFA.com (2011-09-22). "Rangnick steps aside at Schalke". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ).
  30. Luckhurst, Samuel (2021-11-26). "Manchester United have learnt from their Ralf Rangnick mistake". Manchester Evening News (ภาษาอังกฤษ).
  31. "Chelsea wanted me as interim coach before turning to Tuchel, claims Rangnick | Goal.com". www.goal.com.
  32. Welle (www.dw.com), Deutsche. "Europa League Draw: Leipzig drawn with 'sister' club Salzburg, Frankfurt have it tough | DW | 31.08.2018". DW.COM (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
  33. "RB Leipzig | Trainer". kicker (ภาษาเยอรมัน).
  34. "Man Utd appoint Rangnick as interim boss". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2021-11-29.
  35. "Man Utd 1-0 Crystal Palace: Fred gives Ralf Rangnick winning start at Old Trafford". www.sportinglife.com (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
  36. ขอให้โชคดี!แมนยูประกาศรังนิกลาขาดไม่นั่งควบที่ปรึกษา
  37. "Ralf Rangnick | vereinslos | Trainerprofil". kicker (ภาษาเยอรมัน).
  38. "Ewald Lienen übernimmt bei 96". kicker (ภาษาเยอรมัน).
  39. "Ralf Rangnick übernimmt S04". kicker (ภาษาเยอรมัน).
  40. "Pezzaiuoli tritt Rangnick-Nachfolge an". kicker (ภาษาเยอรมัน).
  41. "Erschöpfungssyndrom: Ralf Rangnick tritt zurück". kicker (ภาษาเยอรมัน).
  42. "Hasenhüttl nach Leipzig - Kauczinski zum FCI". kicker (ภาษาเยอรมัน).
  43. "Ralf Rangnick takes interim Manchester United job with focus on success". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2021-11-29.
  44. "Ralf Rangnick - Honours". www.transfermarkt.com (ภาษาอังกฤษ).

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]