รัฐฉาน

พิกัด: 21°30′N 98°0′E / 21.500°N 98.000°E / 21.500; 98.000
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก รัฐไทใหญ่)
รัฐฉาน

မိူင်းတႆး

รัฐไทใหญ่
การถอดเสียงภาษากลุ่มไทและกลุ่มทิเบต–พม่า
 • ไทใหญ่မိူင်းတႆး
 • ไทใต้คงᥛᥫᥒᥰᥖᥭᥰ
 • พม่าသျှမ်းပြည်
 • ปะโอဖြောဝ်ꩻခမ်း
ธงของรัฐฉาน
ธง
เพลง: "เครือเราเครือราชา"
(ไทใหญ่: ၶိူဝ်းႁဝ်းၶိူဝ်းရႃႇၸႃႇ)
ที่ตั้งรัฐฉานในประเทศพม่า
ที่ตั้งรัฐฉานในประเทศพม่า
พิกัด: 21°30′N 98°0′E / 21.500°N 98.000°E / 21.500; 98.000
ประเทศ พม่า
ภูมิภาคกลาง-ตะวันออก
เมืองหลักตองจี
การปกครอง
 • มุขมนตรีลี่นทุ (เอ็นแอลดี)
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด155,801.3 ตร.กม. (60,155.2 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (พ.ศ. 2557)[2]
 • ทั้งหมด5,824,432 คน
 • ความหนาแน่น37 คน/ตร.กม. (97 คน/ตร.ไมล์)
ประชากร
 • กลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่, พม่า, จีน, ว้า, ลีซอ, ดะนุ, อินทา, มูเซอ, ปะหล่อง, ปะโอ, ตองโย, อินเดีย, กูรข่า
 • ศาสนาพุทธ, คริสต์, วิญญาณนิยม, อิสลาม, ฮินดู
เขตเวลาUTC+6:30 (เวลามาตรฐานพม่า)
รหัส ISO 3166MM-17
เว็บไซต์www.shanstate.gov.mm

ฉาน,[3] ชาน[3] (พม่า: ရှမ်း / သျှမ်း, ช่าน; ไทใหญ่: မိူင်းတႆး, ออกเสียง: [mə́ŋ.táj] เมิ้งไต๊) หรือ ไทใหญ่[4] เป็นรัฐที่มีเนื้อที่มากที่สุดในบรรดาเขตการปกครอง 14 เขตของประเทศพม่า โดยครอบคลุมพื้นที่ 155,800 ตารางกิโลเมตร ซึ่งคิดเป็นเกือบหนึ่งในสี่ของเนื้อที่ทั้งหมดของประเทศ พื้นที่ส่วนใหญ่ของรัฐเป็นเขตชนบท โดยมีเมืองเพียงสามเมืองที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ ได้แก่ ล่าเสี้ยว เชียงตุง และตองจีซึ่งเป็นเมืองหลักของรัฐ[5] ตองจีตั้งอยู่ห่างจากเนปยีดอ (เมืองหลวงของประเทศ) ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 150.7 กิโลเมตร

รัฐฉานเป็นที่อยู่อาศัยของกลุ่มชาติพันธุ์หลายกลุ่มและเป็นที่ตั้งของกองกำลังชาติพันธุ์ติดอาวุธหลายกองกำลัง ในขณะที่รัฐบาลทหารพม่าได้ลงนามในความตกลงหยุดยิงกับกองกำลังส่วนใหญ่ พื้นที่อันกว้างขวางของรัฐโดยเฉพาะทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำสาละวินยังคงอยู่นอกเหนือการควบคุมจากรัฐบาลกลางและอยู่ภายใต้อิทธิพลทางเศรษฐกิจและการเมืองของกลุ่มชาติพันธุ์ฮั่นมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ส่วนพื้นที่อื่น ๆ อยู่ภายใต้การควบคุมของกลุ่มทหารกลุ่มต่าง ๆ เช่น กองทัพรัฐฉาน เป็นต้น

ตามข้อมูลจากสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นโอดีซี) รัฐฉานเป็นภูมิภาคที่ผลิตฝิ่นมากที่สุดในประเทศพม่า โดยมีผลผลิตฝิ่นคิดเป็นร้อยละ 82 (331 เมตริกตัน) ของผลผลิตฝิ่นทั้งหมดของประเทศ (405 เมตริกตัน) ใน พ.ศ. 2563[6] ถึงกระนั้น การปลูกฝิ่นก็ลดลงเมื่อเทียบเป็นรายปีตั้งแต่ พ.ศ. 2558 เป็นต้นมา ใน พ.ศ. 2563 อัตราการปลูกฝิ่นในรัฐฉานลดลงร้อยละ 12 โดยภาคตะวันออก ภาคเหนือ และภาคใต้ของรัฐมีการปลูกฝิ่นลดลงร้อยละ 17, ร้อยละ 10 และร้อยละ 9 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับอัตราการปลูกฝิ่นในปีก่อนหน้าคือ พ.ศ. 2562[7]

ภูมิศาสตร์[แก้]

ลักษณะภูมิประเทศของรัฐฉานเต็มไปด้วยภูเขาสูงและผืนป่า รัฐฉานจึงเต็มไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่า สินค้าส่งออกที่สำคัญจึงเป็นจำพวกแร่ธาตุและไม้ชนิดต่าง ๆ

รัฐฉานมีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ข้างเคียงเรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้

ประวัติศาสตร์[แก้]

ไทใหญ่เกิดขึ้น 96 ปี ก่อนคริสต์ศักราช พ.ศ. 448[ต้องการอ้างอิง] ในอดีตมีชื่อเรียกว่า "ไท" หรือที่เรียกกันว่า "เมิ้งไต๊" ในภาษาไทใหญ่ หรือ "เมืองไท" ในภาษาไทย มีประชากรหลายชนชาติอาศัยอยู่ร่วม โดยมีชนชาติไทใหญ่อาศัยอยู่มากที่สุด เมืองไทเคยมีเอกราชในการปกครองตนเองมาเป็นเวลาหลายพันปี[ต้องการอ้างอิง] ก่อนที่อังกฤษจะขยายอิทธิพลเข้ามาถึง อาณาเขตของเมืองไทประกอบด้วยเมืองรวมทั้งหมด 33 เมือง แต่ละเมืองปกครองด้วยระบบเจ้าฟ้าสืบต่อเนื่องกันมาตั้งแต่อดีต

เมืองไทกับพม่ามีการติดต่อค้าขายช่วยเหลือ และให้ความเคารพซึ่งกันและกันมาโดยตลอด เห็นได้จากในช่วงที่เจ้าฟ้าเมืองไทปกครองประเทศพม่าประมาณเกือบ 300 ปีไม่เคยมีการสู้รบกันเกิดขึ้น[ต้องการอ้างอิง] และยังมีการติดต่อค้าขายยังดำเนินไปอย่างสันติสุขเช่นกัน จนกระทั่งมาถึงสมัยบุเรงนอง ได้มีการสู้รบกันกับเจ้าฟ้าเมืองไทกับกษัตริย์พม่าเกิดขึ้น โดยฝ่ายเจ้าฟ้าเมืองไทเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ จึงทำให้ราชวงศ์เจ้าฟ้าบางเมือง ต้องจบสิ้นไปดังเช่นราชวงศ์เจ้าฟ้าเมืองนายซึ่งเป็นราชวงศ์ของกษัตริย์มังราย นอกจากนี้ยังมีอีกหลายราชวงศ์ที่ต้องสูญสิ้น ไปเพราะการสู้รบ[ต้องการอ้างอิง]

  • พ.ศ. 2305 ในสมัยพระเจ้าอลองพญา รัฐฉานตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า กษัตริย์พม่าได้ทำการปราบปรามราชวงศ์ เจ้าฟ้าไทใหญ่จนหมดสิ้นไปเป็นจำนวนมาก
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2428 อังกฤษได้ทำการจับกุมและยึดอำนาจกษัตริย์พม่า และขยายอาณาเขตไปยังเมืองเชียงตุงทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองไท
  • พ.ศ. 2433 อังกฤษได้ยึดเอาเมืองไทเรียบร้อยแล้ว

เนื่องจากพม่าตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่ม ส่วนเมืองไทตั้งอยู่บริเวณเทือกเขาไม่ใช่ประเทศเดียวกัน อังกฤษจึงไม่ได้เข้ายึดพร้อมกัน แม้อังกฤษจะยึดทั้งสองเมืองเป็นเมืองขึ้นของตนแต่ก็ไม่ได้ปกครองทั้งสองเมืองในลักษณะเดียวกัน หากแบ่งการปกครองออกเป็นสองลักษณะ คือประเทศพม่าเป็นเมืองใต้อาณานิคม ส่วนเมืองไทเป็นเมืองใต้การอารักขา

อังกฤษได้ล้มล้างระบบกษัตริย์พม่า ส่วนเมืองไทอังกฤษไม่ได้ทำลายราชวงศ์เจ้าฟ้า อีกทั้งยังสนับสนุนให้เจ้าฟ้าแต่ละเมือง มีอำนาจปกครองบ้านเมืองของตนเอง และได้สถาปนาให้เมืองทั้งหมดเป็นสหพันธรัฐฉานขึ้นกับอังกฤษ

  • 25 มกราคม พ.ศ. 2485 ญี่ปุ่นขอไทยสมัยจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ยกกำลังทหารยึดรัฐฉาน เชียงตุง ในประเทศพม่า จากทหารจีนก๊กมินตั๋ง ของจอมพลเจียงไคเช็ค ญี่ปุ่นได้ส่งมอบให้ไทย ผนวกเป็นสหรัฐไทยเดิม เป็นจังหวัดไทใหญ่
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2489 รัฐฉานกลับมาสู่อิสรภาพ ครั้งนี้อังกฤษได้ผนวกเป็นส่วนหนึ่งของพม่า
  • พ.ศ. 2490 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทางการพม่าพยายามโน้มน้าวเหล่าบรรดาเจ้าฟ้าไท ให้เข้าร่วมเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ เจ้าฟ้าไทจึงได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญาปางโหลง พร้อมกับกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ เพื่อขอเอกราชจากอังกฤษ โดยสัญญาดังกล่าวได้นำไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งระบุให้ชนชาติที่ร่วมลงนามในสัญญา สามารถแยกตัวเป็นอิสระได้หลังจากอยู่ร่วมกันครบสิบปี
  • พ.ศ. 2491 อังกฤษได้ให้เอกราชกับพม่าและไท ภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในพม่า สนธิสัญญาปางโหลงจึงเป็นโมฆะ เหตุนี้จึงทำให้ชาวไทหรือไทใหญ่ก่อตั้งกองกำลังกู้ชาติของตนเองขึ้น

ทางรัฐบาลทหารพม่าได้ใช้ระบอบเผด็จการทหารกับชาวไท อีกทั้งยังได้ทำลายพระราชวังของไทใหญ่ในเมืองเชียงตุงและอีกหลายเมือง และเข้ามาจัดการศึกษาเกี่ยวกับพม่าให้แก่เด็กในพื้นที่ ประชาชนมักถูกเกณฑ์ไปบังคับใช้แรงงาน ทั้งโครงการก่อสร้างและเป็นลูกหาบอาวุธให้ทหาร ทำให้มีผู้ลี้ภัยจำนวนมากหนีเข้ามายังประเทศไทย[ต้องการอ้างอิง]

ปัจจุบันสถานการณ์ภายในรัฐฉานก็ยังไม่มีเสถียรภาพทางความมั่นคงเท่าใดนัก และยังมีกองกำลังกู้ชาติของตนเองอยู่ ใน พ.ศ. 2552 ได้มีการจัดตั้งสภารัฐฉาน

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

รัฐฉานแบ่งออกเป็น 22 จังหวัด, 4 พื้นที่ปกครองตนเอง และ 1 เขตปกครองตนเอง ดังนี้

การแบ่งเขตการปกครองในระดับอำเภอของรัฐฉาน
ภูมิภาคย่อย พื้นที่/เขต
ปกครองตนเอง
จังหวัด อำเภอ
ภาษาไทย ภาษาไทใหญ่ ภาษาไทย ภาษาไทใหญ่
 ฉานใต้  –  ดอยแหลม  လွႆလႅမ်  ดอยแหลม  လွႆလႅမ်
 ลายข้า  လၢႆးၶႃႈ
 เมืองกึ๋ง  မိူင်းၵိုင်
 ล้างเค้อ  လၢင်းၶိူဝ်း  ล้างเค้อ  လၢင်းၶိူဝ်း
 หมอกใหม่  မွၵ်ႇမႆႇ
 เมืองปั่น  မိူင်းပၼ်ႇ
 กาดล้อ  ၵၢတ်ႇလေႃႉ  กาดล้อ  ၵၢတ်ႇလေႃႉ
 ยองห้วย  ယွင်ႁူၺ်ႈ
 ผายขุ่น  ၽၢႆၶုၼ်ႇ
 น้ำจาง  ၼမ်ႉၸၢင်  น้ำจาง  ၼမ်ႉၸၢင်
 กุ๋นเหง  ၵုၼ်ႁဵင်
 เมืองนาย  မိူင်းၼၢႆး
 เมืองสู้  မိူင်းသူႈ  เมืองสู้  မိူင်းသူႈ
 เก๊ซี้  ၵေးသီး
 ตองจี  တူၼ်ႈတီး  ตองจี  တူၼ်ႈတီး
 ล้อกจอก  လွၵ်ႉၸွၵ်ႇ
 ปะโอ  หัวพง  ႁူဝ်ပူင်း
 สี่แส่ง  သီႇသႅင်ႇ
 ปางล้อง  ပၢင်လွင်း
 ดะนุ  ป๊างตะร่า  ပၢင်းတရႃႉ
 ยหว่าหง่าน  ယႂႃႇငၢၼ်ႇ
 ฉานเหนือ  –  ล่าเสี้ยว  လႃႈသဵဝ်ႈ  ล่าเสี้ยว  လႃႈသဵဝ်ႈ
 แสนหวี  သႅၼ်ဝီ
 กุ๋นโหลง  ၵုၼ်လူင်
 หมู่เจ้  မူႇၸေႈ  หมู่เจ้  မူႇၸေႈ
 น้ำคำ  ၼမ်ႉၶမ်း
 จ๊อกแม้  ၵျွၵ်းမႄး  จ๊อกแม้  ၵျွၵ်းမႄး
 หนองเขียว  ၼွင်ၶဵဝ်
 สี่ป้อ  သီႇပေႃႉ
 น้ำตู้  ၼမ်ႉတူႈ
 เมืองมีด  မိူင်းမိတ်ႈ  เมืองมีด  မိူင်းမိတ်ႈ
 ม่านเป๊ง  မၢၼ်ႈပဵင်း
 ต้างย้าน  တၢင်ႉယၢၼ်း  ต้างย้าน  တၢင်ႉယၢၼ်း
 เมืองไหย  မိူင်းယႆ
 ก้ดขาย  ၵူတ်ႉၶၢႆ၊  ก้ดขาย  ၵူတ်ႉၶၢႆ၊
 ปะหล่อง  น้ำสั่น  ၼမ်ႉသၼ်ႇ
 ม่านต้ง  မၢၼ်ႈတူင်ႈ
 โกก้าง  เล่าไก่  လဝ်ႉၵႆႇ  เล่าไก่  လဝ်ႉၵႆႇ
 กุ๊งจ้าง  ၵုင်းၸၢင်ႉ
 ว้า  หัวป่าง  ႁူဝ်ပၢင်ႇ  หัวป่าง  ႁူဝ်ပၢင်ႇ
 ปางหวาย  ပၢင်ဝၢႆ
 เมืองใหม่  မိူင်းမႂ်ႇ
 หมากหมัง  မၢၵ်ႇမင်  หมากหมัง  မၢၵ်ႇမင်
 ปางซาง  ပၢင်သၢင်း
 นาฟาน  ၼႃးၽၢၼ်း
 ฉานตะวันออก  –  เชียงตุง  ၵဵင်းတုင်  เชียงตุง  ၵဵင်းတုင်
 เมืองขาก  မိူင်းၶၢၵ်ႇ
 เมืองเพียง  မိူင်းပဵင်း
 เมืองสาด  မိူင်းသၢတ်ႇ  เมืองสาด  မိူင်းသၢတ်ႇ
 ท่าขี้เหล็ก  တႃႈၶီႈလဵၵ်း  ท่าขี้เหล็ก  တႃႈၶီႈလဵၵ်း
 เมืองพยาก  မိူင်းၽျၢၵ်ႈ
 เมืองยาง  မိူင်းယၢင်း  เมืองยาง  မိူင်းယၢင်း
 เมืองลา  မိူင်းလႃး  เมืองลา  မိူင်းလႃး
 เมืองต๋น  မိူင်းတူၼ်  เมืองต๋น  မိူင်းတူၼ်
 เมืองยอง  မိူင်းယွင်း  เมืองยอง  မိူင်းယွင်း

ประชากร[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Union of Myanmar". City Population. สืบค้นเมื่อ 2008-12-25.
  2. Census Report. The 2014 Myanmar Population and Housing Census. Vol. 2. Naypyitaw: Ministry of Immigration and Population. May 2015. p. 17.
  3. 3.0 3.1 "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
  4. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า 349. "ฉาน ๔ น. ชื่อรัฐหนึ่งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศพม่า ติดต่อกับทางภาคเหนือของประเทศไทย, ไทใหญ่ ก็เรียก."
  5. "Shan: largest cities and towns and statistics of their population". World Gazetteer. สืบค้นเมื่อ 19 January 2008.[ลิงก์เสีย]
  6. "Myanmar Opium Survey 2020: Cultivation, Production and Implications" (PDF). February 2021.
  7. "Myanmar Opium Survey 2020: Cultivation, Production and Implications" (PDF). February 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]