คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 56

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะรัฐมนตรีสุรยุทธ์
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 56 แห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. 2549 - 2551
วันแต่งตั้ง8 ตุลาคม พ.ศ. 2549[1]
วันสิ้นสุด6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
(1 ปี 121 วัน)
บุคคลและองค์กร
ประมุขแห่งรัฐพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
หัวหน้ารัฐบาลสุรยุทธ์ จุลานนท์
จำนวนรัฐมนตรี35
ประวัติ
การเลือกตั้ง
การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี
สภานิติบัญญัติสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
วาระสภานิติบัญญัติไม่ได้กำหนดไว้
ก่อนหน้าคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 55
ถัดไปคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 57

รัฐบาลพลเรือน ที่ตั้งขึ้นภายหลังเหตุการณ์รัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 อาศัยอำนาจตามความใน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ถึงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

รายชื่อคณะรัฐมนตรี

ดำรงตำแหน่งเมื่อตั้งคณะรัฐมนตรี
(จนสิ้นสุดคณะรัฐมนตรี)
รัฐมนตรีว่าการ
รัฐมนตรีช่วยว่าการ
รัฐมนตรีลอย
ออกจากตำแหน่ง
เปลี่ยนแปลง/โยกย้าย
แต่งตั้งเพิ่ม
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 56 ของไทย
ตำแหน่ง รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ หมายเหตุ
นายกรัฐมนตรี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 29 มกราคม พ.ศ. 2551 หมดวาระตามรัฐธรรมนูญ
รองนายกรัฐมนตรี หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล 8 ตุลาคม พ.ศ. 2549 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ลาออกจากตำแหน่ง
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2549 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม 7 มีนาคม พ.ศ. 2550 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน 1 ตุลาคม พ.ศ. 2550 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
สำนักนายกรัฐมนตรี คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2549 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
นายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2549 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
นายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ลาออกจากตำแหน่ง
กระทรวงกลาโหม พลเอก บุญรอด สมทัศน์ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2549 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
กระทรวงการคลัง หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล 8 ตุลาคม พ.ศ. 2549 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ลาออกจากตำแหน่ง
นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ 7 มีนาคม พ.ศ. 2550 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
นายสมหมาย ภาษี 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 13 ธันวาคม พ.ศ. 2550 มีคุณสมบัติต้องห้ามในการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี
กระทรวงการต่างประเทศ นายนิตย์ พิบูลสงคราม 8 ตุลาคม พ.ศ. 2549 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
นายสวนิต คงสิริ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2549 2 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ลาออกจากตำแหน่ง
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นายสุวิทย์ ยอดมณี 8 ตุลาคม พ.ศ. 2549 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
นายณัฐ อินทรปาณ 27 เมษายน พ.ศ. 2550 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม 8 ตุลาคม พ.ศ. 2549 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
นายพลเดช ปิ่นประทีป 7 มีนาคม พ.ศ. 2550 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
กระทรวงเกษตร
และสหกรณ์
นายธีระ สูตะบุตร 8 ตุลาคม พ.ศ. 2549 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
นายรุ่งเรือง อิศรางกูร ณ อยุธยา 8 ตุลาคม พ.ศ. 2549 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
กระทรวงคมนาคม พลเรือเอก ธีระ ห้าวเจริญ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2549 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม 8 ตุลาคม พ.ศ. 2549 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายเกษม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา 8 ตุลาคม พ.ศ. 2549 2 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ลาออกจากตำแหน่ง
นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2550 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รักษาราชการแทน
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นายสิทธิชัย โภไคยอุดม 8 ตุลาคม พ.ศ. 2549 1 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ลาออกจากตำแหน่ง
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2550 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน
กระทรวงพลังงาน นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2549 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
กระทรวงพาณิชย์ นายเกริกไกร จีระแพทย์ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2549 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
นางอรนุช โอสถานนท์ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 1 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ลาออกจากตำแหน่ง
กระทรวงมหาดไทย นายอารีย์ วงศ์อารยะ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2549 1 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ลาออกจากตำแหน่ง
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2550 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
นายบัญญัติ จันทน์เสนะ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2549 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
พลตำรวจโท ธีรวุฒิ บุตรศรีภูมิ 27 เมษายน พ.ศ. 2550 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
กระทรวงยุติธรรม นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2549 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
กระทรวงแรงงาน นายอภัย จันทนจุลกะ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2549 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
กระทรวงวัฒนธรรม คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2549 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2549 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
กระทรวงศึกษาธิการ นายวิจิตร ศรีสอ้าน 8 ตุลาคม พ.ศ. 2549 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
นายวรากรณ์ สามโกเศศ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
กระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์มงคล ณ สงขลา 8 ตุลาคม พ.ศ. 2549 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
นายแพทย์มรกต กรเกษม 7 มีนาคม พ.ศ. 2550 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
นายแพทย์วัลลภ ไทยเหนือ 27 เมษายน พ.ศ. 2550 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
กระทรวงอุตสาหกรรม นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2549 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2549 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ประวัติ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็น นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 โดยมีพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ และพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี นำคณะรัฐมนตรีเข้าเฝ้าฯ เพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณตน ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2549[2]

การปรับคณะรัฐมนตรีครั้งที่หนึ่ง

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯแต่งตั้งประสิทธิ์ โฆวิไลกูล เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และนายสมหมาย ภาษี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549[3]

การปรับคณะรัฐมนตรีครั้งที่สอง

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯแต่งตั้งนางอรนุช โอสถานนท์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และนายวรากรณ์ สามโกเศศ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550[4]

การปรับคณะรัฐมนตรีครั้งที่สาม

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรีใหม่จำนวน 4 ตำแหน่ง เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2550 หลังจากหม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ลาออกจากตำแหน่ง มีผลเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2550[5]

การปรับคณะรัฐมนตรีครั้งที่สี่

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2550 แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีใหม่จำนวน 3 ตำแหน่ง [6]

รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง

วันที่ 20 กันยายน 2550 นายสิทธิชัย โภไคยอุดม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ลาออกจากตำแหน่ง หลังปปช. ระบุว่าเป็นหนึ่งในสามรัฐมนตรีที่ถือครองหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทเกินกว่าร้อยละ 5 ใบลาออกมีผลวันที่ 30 กันยายน 2550

วันที่ 23 กันยายน 2550 นางอรนุช โอสถานนท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ลาออกจากตำแหน่ง ตามนายสิทธิชัย

ตุลาคม 2550 นายอารีย์ วงศ์อารยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ลาออกตามนายสิทธิชัย และนางอรนุช

วันที่ 13 ธันวาคม 2550 นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง พ้นจากตำแหน่ง หลังจากศาลอาญามีคำสั่งจำคุกเป็นเวลา 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา ส่งผลให้มีคุณสมบัติต้องห้าม ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550

รายนามคณะรัฐมนตรี

  1. พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (รับตำแหน่ง เพิ่ม 3 ต.ค. 50)[7]
  2. นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม - รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รับตำแหน่ง เพิ่ม 7 มี.ค. 50)[8]
  3. นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ - รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
  4. พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน - รองนายกรัฐมนตรี (1 ต.ค. 50[9])
  5. คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ - รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  6. นายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ - รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  7. นายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล - รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (18 พ.ย. 49-21 พ.ค. 50)
  8. พล.อ.บุญรอด สมทัศน์ - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
  9. นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (7 มี.ค. 50)
  10. นายสมหมาย ภาษี - รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (18 พ.ย. 49-13 ธ.ค. 50)
  11. นายสุวิทย์ ยอดมณี - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
  12. นายณัฐ อินทรปาณ - รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (27 เม.ย. 50)
  13. นายแพทย์พลเดช ปิ่นประทีป- รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (7 มี.ค. 50)
  14. นายนิตย์ พิบูลสงคราม - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  15. นายสวนิต คงสิริ - รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  16. นายธีระ สูตะบุตร - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  17. นายรุ่งเรือง อิศรางกูร ณ อยุธยา - รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  18. พล.ร.อ.ธีระ ห้าวเจริญ - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
  19. นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม - รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
  20. นายเกษม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  21. นายสิทธิชัย โภไคยอุดม - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ลาออก 20 ก.ย. 50)
  22. นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
  23. นายเกริกไกร จีระแพทย์ - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
  24. นางอรนุช โอสถานนท์ - รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (1 ก.พ. 50)[10]
  25. นายอารีย์ วงศ์อารยะ - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (ลาออก ต.ค. 50)
  26. นายบัญญัติ จันทน์เสนะ - รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
  27. พล.ต.ท.ธีรวุฒิ บุตรศรีภูมิ - รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (27 เม.ย. 50)[11]
  28. นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
  29. นายอภัย จันทนจุลกะ - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
  30. คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
  31. นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  32. นายวิจิตร ศรีสอ้าน - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  33. นายวรากรณ์ สามโกเศศ - รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (1 ก.พ. 50)
  34. นายแพทย์มงคล ณ สงขลา - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  35. นายแพทย์มรกต กรเกษม - รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (7 มี.ค. 50)
  36. นายแพทย์วัลลภ ไทยเหนือ - รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (27 เม.ย. 50)
  37. นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ - รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

การปฏิบัติงานของรัฐบาล

  • วางยุทธศาสตร์ประชาชนอยู่ดีมีสุข โดยเน้นการพัฒนาคนและครอบครัวให้พึ่งพาตนเองได้ ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง มีงบประมาณส่วนกลาง 5000 ล้านบาท ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ประสานงานจากส่วนกลางสู่ชุมชน [12]

วัฒนธรรม

  • ห้ามการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด แต่สามารถโฆษณาได้ในเวลา22.00 น.เป็นต้นไป [13]
  • ออกมาตรการคุมเข้มไม่ให้เยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี เต้นโคโยตี้ [14]

สาธารณสุข

  • ยกเลิกโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค เปลี่ยนเป็น รักษาฟรีทุกโรค และให้คนไทยห่างไกลจากโรค [15]

พลังงาน

  • ยกเลิกแผนการนำเข้าพลังงานไฟฟ้าและแก๊สธรรมชาติจากประเทศพม่า [16]

การศึกษา

  • ให้โรงเรียนดัง 430 โรงเรียนทั่วประเทศ รับเด็กนักเรียนจากพื้นที่ใกล้เคียงจำนวนครึ่งหนึ่ง ส่วนโรงเรียนอื่นจะต้องรับนักเรียนเข้าทั้งหมดโดยไม่มีการสอบ หากมีผู้สมัครเกินจำนวนที่รับ ให้ใช้วิธีจับสลาก [17]

สิทธิมนุษยชน

  • ยกเลิกคำสั่งคณะปฏิรูปฯเรื่องห้ามการชุมนุมประท้วง แต่ยังไม่ยกเลิกกฎอัยการศึก [18]
  • การสั่งห้ามคนขับรถแท็กซี่ และมอเตอร์ไซค์รับจ้างในกรุงเทพเข้าร่วมการประท้วงคณะเผด็จการ/รัฐบาลทหาร สมัชชาคนจนหลายพันคนถูกสกัดกั้นไม่ให้เข้าร่วมการประท้วงในกรุงเทพฯโดยอ้างว่าพวกเขาไม่มีใบอนุญาตให้เดินทางตามกฎอัยการศึก (ซึ่งยังมีผลครอบคลุม 30 กว่าจังหวัดในเวลานั้น) [19]
  • สิทธิชัย โภไคยอุดม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลนีสารสนเทศและการสื่อสาร ภายใต้รัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า การวิพากษ์วิจารณ์ประธานองคมนตรีถือเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ ดังนั้น การปิดเว็บไซต์ที่มีข้อความวิพากษ์วิจารณ์ดังกล่าวจึงเป็นเรื่องเหมาะสม[20]
  • รัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ผลักดันกฎหมายที่ระบุว่า ผู้ที่พยายามเข้าเว็บไซต์ใดๆที่รัฐบาลได้เซ็นเซอร์ไว้หนึ่งหมื่นกว่าเว็บ จะต้องรับโทษตามกฎหมาย และเอาผิดผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตที่ไม่เปิดเผยไอพีแอดเดรสของผู้ใช้แก่รัฐบาล[21]
  • การปิดวิทยุชุมชนที่ต่อสายตรงสัมภาษณ์อดีตนายกฯพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พ.ต.ท.ให้สัมภาษณ์หลังเกิดรัฐประหารเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 โดยได้โทรทัศน์เข้ามาที่สถานีวิทยุชุมชนคลื่น 87.75FM และคลื่น 92.75FM วันต่อมา รัฐบาลทหาร กรมประชาสัมพันธ์ และ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในได้เข้ามาตรวจสอบวิทยุชุมชนแห่งนี้ ทำให้วิทยุชุมชนนี้งดออกอากาศ[22]
  • การก่อตั้งเครือข่ายสนับสนุนรัฐบาลทหารจำนวน 700,000 คนเพื่อสกัดกั้นผู้ประท้วงรัฐบาลทหาร ผบ.กอ.รมน. กล่าวว่า "เราต้องสกัดกั้นผู้ประท้วงให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ ถ้ามีผู้ประท้วงน้อยกว่า 50,000 คน ก็ไม่น่าจะเกิดปัญหาอะไร"[23]
  • วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2550 รัฐบาลทหารสั่งเซ็นเซอร์การแพร่ภาพการสัมภาษณ์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทาง CNN ในประเทศไทย[24]

สื่อสารมวลชน

  • ได้ปิดสถานีโทรทัศน์ไอทีวีเมื่อวันพุธที่ 7 มีนาคม 2550
  • ได้เปิดสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม 2550 และปิดตัวลงเมื่อวันจันทร์ที่ 14 มกราคม 2551 เวลา00.00 น.
  • ได้เปิดสถานีโทรทัศน์ทีพีบีเอสก่อตั้งเมื่อวันอังคารที่ 15 มกราคม 2551 และ หลังจากวันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 30 เมษายน 2551 ใช้ชื่อว่าสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส และได้ทดลองออกอากาศเมื่อวันที่ 1 -14 กุมภาพันธ์ 2551 โดยยังไม่มีรายการข่าวและเปิดทำการออกอากาศเป็นครั้งแรกอย่างเต็มรูปแบบโดยภายใต้องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยเมื่อวันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2551 โดยใช้สีประจำสถานีคือ สีส้ม
  • จัดรายการที่ให้ข้อมูลข่าวสารของรัฐบาลให้แก่ประชาชน คือ รายการสายตรงทำเนียบ และรายการ เปิดบ้านพิษณุโลก ออกอากาศทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย

ฉายาของรัฐบาล

  • ขิงแก่— เพราะคณะรัฐมนตรีล้วนเป็นผู้สูงอายุแทบทั้งสิ้น และส่วนมากเป็นข้าราชการประจำที่เกษียณแล้ว แม้แต่กระทั่งผู้ที่มีอายุน้อยที่สุด คือ นายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อเข้ารับตำแหน่งก็ยังมีอายุถึง 51 ปี โดย "ขิงแก่" เป็นการเปรียบเปรยคนที่มีอายุมากแล้วแต่ก็ยังเก่งกาจอยู่ เสมือนรสชาติของขิงที่ยิ่งแก่ก็ยิ่งเผ็ด และเมื่อนำมาใช้กับคณะรัฐบาลชุดนี้ เป็นการตั้งความคาดหวังว่า ประสบการณ์การทำงานที่ยาวนานจะช่วยให้ประเทศชาติพ้นวิกฤตไปได้
  • เกียร์ว่าง— เพราะสังคมหลายภาคส่วนคาดหวังว่าจะมาเข้ามาสะสางปัญหาการทุจริตของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อันเป็นสาเหตุสำคัญประหารหนึ่งที่เกิดให้เกิดเหตุรัฐประหาร แต่ก็ไม่มีผลงานชัดเจนแต่อย่างใด

การสิ้นสุดลงของคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีคณะนี้ได้สิ้นสุดลง เนื่องจากมีการเลือกตั้งในวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 จึงเป็นเหตุให้คณะรัฐมนตรีทั้งคณะต้องพ้นจากตำแหน่ง แต่ยังคงปฏิบัติหน้าที่รักษาการต่อไปจนกว่าจะประกาศผลการเลือกตั้ง และมีการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ในวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2551 คณะรัฐมนตรีชุดนี้จึงพ้นจากตำแหน่งตามวาระ

อ้างอิง

  1. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (คณะรัฐมนตรี ชุดที่มี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี)
  2. โปรดเกล้าฯ ครม.แล้ว 'สุรยุทธ์1' 26คน - 28 ตำแหน่ง[ลิงก์เสีย]
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (นายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล นายสมหมาย ภาษี)
  4. ข่าวสารบ้านเมือง เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน รัฐสภาไทย
  5. คลังขึ้นตรงนายกฯทูลเกล้าฯสุรยุทธ์1/4ดึง"ฉลองภพ"นั่งรมว.คลัง เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน รัฐสภาไทย
  6. โปรดเกล้าฯ 3 รมช.ขิงแก่ 5 '2 หมอ' ตั้งเค้าซดเกาเหลา เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ไทยโพสต์
  7. โปรดเกล้า"สุรยุทธ์"ควบ มท.1
  8. "โปรดเกล้าฯ ฉลองภพ ขุนคลังใหม่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-02. สืบค้นเมื่อ 2009-07-23.
  9. โปรดเกล้าฯสนธิเป็นรองนายกฯ มีชัยชี้ปัญหาอื้อสุรยุทธ์ถอดใจ
  10. โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรีเพิ่ม 2 ตำแหน่ง
  11. โปรดเกล้าฯแต่งตั้ง 3รมช.ถวายสัตย์ 8 พ.ค.
  12. วางยุทธศาสตร์ประชาชนอยู่ดีมีสุข[ลิงก์เสีย]
  13. The Nation, NHSO backs plan to ditch Bt30 fee เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 31 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
  14. The Nation, No 'coyote dances' for Loy Krathong: Culture Ministry, 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
  15. The Nation, NHSO backs plan to ditch Bt30 fee เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 31 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
  16. Asia Times, Unplugging Thailand, Myanmar energy deals เก็บถาวร 2009-02-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
  17. The Nation, Famous schools ordered to take in half of new students from neighbourhood, 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
  18. The Nation, NLA revokes ban on demonstrations, 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
  19. The Nation, Some 1,000 villagers prevented from catching buses to Bangkok
  20. The Nation, Sitthichai gets no kick from the Net เก็บถาวร 2007-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 15 เมษายน พ.ศ. 2550
  21. Bangkok Post, Thailand gets new cyber crime law, 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2550
  22. Bangkok Post, After Thaksin calls, officials drop by, May 2007
  23. The Nation, Govt in move to head off violence เก็บถาวร 2007-05-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2550
  24. Thai generals pull plug on Thaksin CNN interview

แหล่งข้อมูลอื่น