รัฐบัญญัติบาย–โดล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัฐบัญญัติบาย–โดล
มหาลัญจกรแห่งสหรัฐอเมริกา (Great Seal of the United States).
ชื่อในภาษาปาก รัฐบัญญัติการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายสิทธิบัตรและรัฐบาลกลาง
ผู้ตรา 96th United States Congress
วันเริ่มใช้ 12 ธันวาคม 1980
การเรียก
กฎหมายมหาชน 96-517
ประชุมกฎหมาย 94 Stat. 3015
การประมวล
รัฐบัญญัติที่แก้ไขเพิ่มเติม
ลักษณะที่แก้ไขเพิ่มเติม 35 U.S.C.: สิทธิบัตร
มาตราในประมวลกฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติม แม่แบบ:Usc-title-chap § 301
ประวัติทางนิติบัญญัติ
การแก้ไขเพิ่มเติมที่เป็นสาระสำคัญ
คดีที่เกี่ยวข้องของศาลสูงสุด
Stanford University v. Roche Molecular Systems, Inc., 563 U.S. 776 (2011)

รัฐบัญญัติบาย–โดล (อังกฤษ: Bayh–Dole Act) หรือ รัฐบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้า (อังกฤษ: Patent and Trademark Law Amendments Act) (Pub. L. 96-517, 12 ธันวาคม 1980) เป็นกฎหมายสหรัฐที่ว่าด้วยสิ่งประดิษฐ์จากการวิจัยที่รัฐบาลกลางเป็นผู้สนับสนุนทุน รัฐบัญญัติดังกล่าวได้ชื่อตามสมาชิกวุฒิสภาสองคนที่เป็นผู้สนับสนุน มีมติเห็นชอบกฎหมายดังกล่าวในปี 1980 และประมวลไว้ใน 94 Stat. 3015 และใน 35 U.S.C. § 200–212[1] และนำไปปฏิบัติโดย 37 C.F.R. 401 สำหรับความตกลงการจัดหาทุนของรัฐบาลกลางกับผู้รับเหมา[2] และ 37 C.F.R 404 สำหรับใบอนุญาตสิ่งประดิษฐ์ที่รัฐบาลกลางเป็นเจ้าของ[3]

การเปลี่ยนแปลงสำคัญของรัฐบัญญัตินี้ได้แก่วิธีดำเนินการซึ่งผู้รับเหมารัฐบาลกลางซึ่งได้รับความเป็นเจ้าของสิ่งประดิษฐ์ที่ได้รับเงินทุนสนับสนุนจากรัฐบาลกลางสามารถคงกรรมสิทธิ์ต่อไปได้ ก่อนหน้านั้น ข้อบังคับวิธีดำเนินการของรัฐบาลกลาง (Federal Procurement Regulation) กำหนดการใช้วรรคสิทธิในสิทธิบัตรซึ่งในบางกรณีกำหนดให้ผู้รับเหมาของรัฐบาลกลางหรือนักประดิษฐ์ของผู้รับเหมามอบสิ่งประดิษฐ์ที่ผลิตภายใต้สัญญาให้เป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐบาลกลาง ยกเว้นหน่วยงานที่สนับสนุนทุนกำหนดว่าเมื่อปล่อยให้ผู้รับเหมาหรือนักประดิษฐ์ยังคงสิทธิหลักหรือสิทธิ์แต่ผู้เดียวจะเป็นประโยชน์แก่สาธารณะมากกว่า[4] สถาบันสุขภาพแห่งชาติ มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติและกระทรวงพาณิชย์นำโครงการไปปฏิบัติซึ่งอนุญาตให้องค์การไม่แสวงผลกำไรคงสิทธิในสิ่งประดิษฐ์เมื่อแจ้งความโดยไม่ต้องขอการพิจารณากำหนดของหน่วยงาน[5] ในทางกลับกัน บาย–โดลอนุญาตให้องค์การไม่แสวงผลกำไรและผู้รับเหมาบริษัทธุรกิจขนาดย่อมคงกรรมสิทธิ์ของสิ่งประดิษฐ์ที่ผลิตภายใต้สัญญาและสิ่งประดิษฐ์ที่ได้มา หากสิ่งประดิษฐ์นั้นได้เปิดเผยในเวลาอันสมควร และผู้รับเหมาเลือกคงกรรมสิทธิ์ของสิ่งประดิษฐ์นั้นต่อไป[6]

การเปลี่ยนแปลงสำคัญประการที่สอง คือ รัฐบัญญัตินี้ให้อำนาจหน่วยงานของรัฐบาลกลางให้ใบอนุญาตแต่ผู้เดียวแก่สิ่งประดิษฐ์ที่รัฐบาลกลางเป็นเจ้าของ[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. "35 U.S. Code Chapter 18 - PATENT RIGHTS IN INVENTIONS MADE WITH FEDERAL ASSISTANCE". cornell.edu.
  2. "37 CFR Part 401 - RIGHTS TO INVENTIONS MADE BY NONPROFIT ORGANIZATIONS AND SMALL BUSINESS FIRMS UNDER GOVERNMENT GRANTS, CONTRACTS, AND COOPERATIVE AGREEMENTS". cornell.edu.
  3. "37 CFR Part 404 - LICENSING OF GOVERNMENT-OWNED INVENTIONS". LII / Legal Information Institute (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-10-23.
  4. Subcommittee on Domestic and International Scientific Planning and Analysis of the Committee on Science and Technology U.S. House of Representatives (1976). Background Materials on Government Patent Policies: The Ownership of Inventions Resulting From Federally Funded Research and Development. Washington DC: U.S. Government Printing Office. pp. 29–49.
  5. Latker, Norman (January 5, 1978). "The Patent Policy of the Department of Health, Education, and Welfare" (PDF). IP Mall. สืบค้นเมื่อ October 22, 2019.
  6. "U.S. Code § 202. Disposition of rights". Legal Information Institute. สืบค้นเมื่อ October 22, 2019.
  7. Latker, Norman (2000-09-24). "Brief History of Federal Technology Transfer" (PDF). IPMall. สืบค้นเมื่อ 2019-10-22.