รังสรรค์ มณีรัตน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รังสรรค์ มณีรัตน์
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรลำพูน เขต 2
อยู่ในวาระ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม พ.ศ. 2562
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด 28 สิงหาคม พ.ศ. 2518 (47 ปี)
อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน
พรรค เพื่อไทย

นายรังสรรค์ มณีรัตน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำพูน เขต 2 ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2555 สังกัดพรรคเพื่อไทย และเป็นน้องนายของนายสถาพร มณีรัตน์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำพูน

ประวัติ[แก้]

รังสรรค์ มณีรัตน์ เกิดเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2518 เป็นบุตรของนายรัตน์ และนางบัวนำ มณีรัตน์ มีพี่น้อง 6 คน มีพี่ชายเป็นนักการเมืองคือ นายสถาพร มณีรัตน์[1]

การศึกษา[แก้]

นายรังสรรค์ มณีรัตน์ เข้ารับการศึกษาชั้นประถมศึกษา ที่โรงเรียนบ้านสันทราย ตำบลบ้านธิ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน ต่อมาได้เข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนจักรคำคณาทร จนจบชั้นมัธยมปลาย และเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง

งานการเมือง[แก้]

นายรังสรรค์ มณีรัตน์ เป็นนักการเมืองท้องถิ่น เคยดำรงตำแหน่งรองนายกเทศมนตรีตำบลบ้านธิ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน ก่อนจะเข้าสู่การเมืองระดับชาติในการเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขต 2 ลำพูน พ.ศ. 2555 แทนตำแหน่งที่ว่าง เนื่องจากนายสถาพร มณีรัตน์ พี่ชาย เสียชีวิต[2] โดยลงสมัครในนามพรรคเพื่อไทย ได้รับเลือกตั้ง[3] เอาชนะนายบรรจง วิพรหมชัย น้องชายของนายขยัน วิพรหมชัย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จากพรรคประชาธิปัตย์ หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เขาถูกทหารจับกุมและแจ้งข้อหา ในความผิดข้อหาร่วมกันกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือหรือวิธีอื่นใดอันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116, ร่วมกันเป็นซ่องโจร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 210 และร่วมกันเผยแพร่ข้อความที่ผิดไปจากข้อเท็จจริง หรือกล่าวหาบิดเบือนร่างรัฐธรรมนูญตาม พ.ร.บ.ประชามติ มาตรา 61 (2), (4)[4]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

รังสรรค์ มณีรัตน์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งสิ้น 2 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขต 2 ลำพูน พ.ศ. 2555 สังกัดพรรคเพื่อไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดลำพูน สังกัดพรรคเพื่อไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายสถาพร มณีรัตน์[ลิงก์เสีย], สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
  2. ไรคไตคร่าชีวิต"สถาพร มณีรัตน์"ส.ส.ลำพูนเพื่อไทย
  3. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง (จังหวัดลำพูน นายรังสรรค์ มณีรัตน์ พรรคเพื่อไทย)
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-19. สืบค้นเมื่อ 2016-08-16.
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๘, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2013-12-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๙๙, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖