รักษาการแทนประธานาธิบดีสหรัฐ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

รักษาการแทนประธานาธิบดีสหรัฐ (อังกฤษ: acting president of the United States) เป็นบุคคลที่ใช้อำนาจและหน้าที่ของประธานาธิบดีสหรัฐโดยถูกกฎหมายแม้ว่าบุคคลนั้นจะไม่ดำรงตำแหน่งของตนเอง เป็นคำสั่งที่ตั้งขึ้นซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลกลางสหรัฐอาจถูกเรียกให้รับตำแหน่ง เมื่อประธานาธิบดีไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ตาย ลาออก หรือถูกถอดจากตำแหน่ง (โดยการฟ้องให้ขับออกจากตำแหน่ง จากสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาวินิจฉัยว่ามีความผิด) ในระหว่างดำรงตำแหน่งสี่ปี หรือว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐยังไม่ได้รับการเลือกก่อนวันเข้ารับตำแหน่ง หรือไม่ผ่านการคัดเลือกภายในวันดังกล่าว

การสืบทอดตำแหน่งประธานาธิบดีมีการอ้างถึงหลายครั้งในรัฐธรรมนูญสหรัฐหมวด 2 มาตรา 1 ข้อ 6 เช่นเดียวกับการแก้ไขที่ยี่สิบ และการแก้ไขยี่สิบห้า รองประธานเป็นผู้ดำรงตำแหน่งเพียงคนเดียวที่มีชื่อในรัฐธรรมนูญในฐานะผู้สืบทอดตำแหน่งประธานาธิบดี รัฐธรรมนูญหมวด 2 อนุญาตให้รัฐสภากำหนดให้ผู้มีตำแหน่งในสำนักงานของรัฐบาลกลางสามารถดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ในกรณีที่รองประธานาธิบดีไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ รัฐบัญญัติการสืบทอดประธานาธิบดีฉบับปัจจุบันประกาศใช้เมื่อปี 1947 และแก้ไขครั้งล่าสุดในปี 2006 ลำดับการสืบทอดมีดังต่อไปนี้: รองประธาน, ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ, ประธานชั่วคราววุฒิสภาสหรัฐ จากนั้นเป็นหัวหน้ากระทรวงบริหารกลางสหรัฐซึ่งเป็นคณะรัฐมนตรีของประธานาธิบดี โดยเริ่มจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

หากประธานาธิบดีตาย ลาออก หรือถูกถอดจากตำแหน่ง รองประธานาธิบดีจะกลายเป็นประธานาธิบดีโดยอัตโนมัติ ในทำนองเดียวกัน หากว่าที่ประธานาธิบดีตายในช่วงเปลี่ยนผ่านหรือปฏิเสธตำแหน่ง ว่าที่รองประธานาธิบดีจะกลายเป็นประธานาธิบดีในวันเข้ารับตำแหน่งแทน อีกทั้งรองประธานาธิบดียังสามารถเป็นรักษาการแทนได้ หากประธานาธิบดีไร้ความสามารถ อย่างไรก็ตามหากตำแหน่งประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีทั้งคู่ว่างลง ผู้สืบทอดตำแหน่งตามกฎหมายจะไม่กลายเป็นประธานาธิบดี แต่จะทำหน้าที่ในฐานะประธานาธิบดีเท่านั้น จนถึงปัจจุบัน มีรองประธานาธิบดีจำนวน 3 คน ได้แก่ จอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช , ดิก ชีนีย์ และ กมลา แฮร์ริส ที่เคยทำหน้าที่รักษาการแทนประธานาธิบดี ไม่มีใครที่อยู่ในลำดับการสืบทอดต่ำกว่านั้นเคยได้รับหน้าที่รักษาการแทน

รายชื่อรักษาการแทนประธานาธิบดีสหรัฐ[แก้]

รักษาการแทนประธานาธิบดี ตำแหน่ง ระยะเวลา พรรค ประธานาธิบดี
จอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช
1924–2018
(ขณะมีชีวิตอยู่: 94 ปี)
รองประธานาธิบดี 13 กรกฎาคม 1985
11:28 – 19:22 นาฬิกา
ริพับลิกัน โรนัลด์ เรแกน
ดิก ชีนีย์
เกิด 1941
(83 ปี)
รองประธานาธิบดี 29 มิถุนายน 2002
7:09 – 9:24 นาฬิกา
ริพับลิกัน จอร์จ ดับเบิลยู. บุช
รองประธานาธิบดี 21 กรกฎาคม 2007
7:09 – 9:21 นาฬิกา
ริพับลิกัน จอร์จ ดับเบิลยู. บุช
กมลา แฮร์ริส
เกิด 1964
(59 ปี)
รองประธานาธิบดี 19 พฤศจิกายน 2021
10:10 – 11:35 นาฬิกา
เดโมแครต โจ ไบเดิน
ที่มา: [1][2]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Feerick, John D. (2011). "Presidential Succession and Inability: Before and After the Twenty-Fifth Amendment". Fordham Law Review. 79 (3): 928–932. สืบค้นเมื่อ December 17, 2018.
  2. Neale, Thomas H. (November 5, 2018). Presidential Disability Under the Twenty-Fifth Amendment: Constitutional Provisions and Perspectives for Congress (PDF). Washington, DC: Congressional Research Service. สืบค้นเมื่อ December 17, 2018.