วรรณะ (ศาสนาฮินดู)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ระบบวรรณะในศาสนาฮินดู)

วรรณะ (สันสกฤต: वर्ण, อักษรโรมัน: varṇa) เป็นคำในภาษาบังที่มีความหมายหลายประการ เช่น ลำดับ สี และชนชั้น[1][2] ในทางศาสนาฮินดูใช้เรียกชนชั้นทางสังคมในความเชื่อ ในงานเขียนฮินดู เช่น มานุษมิรตี[1][3][4]ระบุว่ามีอยู่ทั้งหมดสี่วรรณและกำหนดอาชีพ ข้อกำหนดและหน้าที่ของตน (ธรรม) ได้แก่:[1][5]

ชุมชนที่เป็นหนึ่งในสี่วรรณะนี้จะเรียกว่าเป็น สวรรณะ (savarna) หรือ "วรรณะฮินดู" ส่วนชาวทลิตและ ชนเผ่าต่าง ๆ ที่ไม่ได้เป็นหนึ่งในสี่วรรณะนี้จะเรียกว่าเป็นพวก อวรรณะ[7][8]

การแบ่งชนชั้นนี้ต่างกับการแบ่งชนขั้นตามภูมิภาค ชาติ (Jāti) ที่ซึ่งต่อมาถูกนำไปสร้างเป็นแผนที่โดยบริติชราช เพื่อให้ตรงกับ"ชนชั้น" (caste) ในแนวคิดยุโรป[9]

ศัพทมูลวิทยาและต้นกำเนิด[แก้]

คำว่า วรรณะ ในภาษาสันสกฤตมีที่มาจากรากศัพท์ vṛ หมายถึง "หุ้ม ห่อ นับ จำแนก พิจารณา พรรณนา หรือเลือก"[10]

ศัพท์นี้ปรากฏในฤคเวท โดยมีความหมายว่า "สี รูปลักษณ์ภายนอก ภายนอก ร่าง หรือรูปร่าง"[3] ส่วนในมหาภารตะหมายถึง "สี สีย้อม หรือรงควัตถุ"[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Doniger, Wendy (1999). Merriam-Webster's encyclopedia of world religions. Springfield, MA, USA: Merriam-Webster. p. 186. ISBN 978-0-87779-044-0.
  2. Stanton, Andrea (2012). An Encyclopedia of Cultural Sociology of the Middle East, Asia, and Africa. USA: SAGE Publications. pp. 12–13. ISBN 978-1-4129-8176-7.
  3. 3.0 3.1 3.2 Monier-Williams, Monier (2005) [1899]. A Sanskrit-English Dictionary: Etymologically and Philologically Arranged with Special Reference to Cognate Indo-European Languages (Reprinted ed.). Motilal Banarsidass. p. 924. ISBN 978-81-208-3105-6.
  4. Malik, Jamal (2005). Religious Pluralism in South Asia and Europe. Oxford UK: Oxford University Press. p. 48. ISBN 978-0-19-566975-6.
  5. Ingold, Tim (1994). Companion Encyclopedia of Anthropology. London New York: Routledge. p. 1026. ISBN 978-0-415-28604-6.
  6. Kumar, Arun (2002). Encyclopaedia of Teaching of Agriculture. Anmol Publications. p. 411. ISBN 978-81-261-1316-3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-03. สืบค้นเมื่อ 2020-10-02.
  7. Chandra, Bipan (1989. India's Struggle for Independence, 1857-1947, pp. 230-231. Penguin Books India
  8. Yājñika, Acyuta and Sheth, Suchitra (2005). The Shaping of Modern Gujarat: Plurality, Hindutva, and Beyond, p. 260. Penguin Books India
  9. Juergensmeyer, Mark (2006). The Oxford Handbook of Global Religions. Oxford University Press, USA. p. 54. ISBN 978-0-19-972761-2.
  10. Krishna Charitra by Bankim Chandra Chattopadhyay. V&S Publishers