ข้ามไปเนื้อหา

ระฆังสันติภาพญี่ปุ่น

พิกัด: 40°44′58″N 73°58′04″W / 40.74944°N 73.96778°W / 40.74944; -73.96778
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ระฆังสันติภาพสากลที่สำนักงานใหญ่สหประชาชาติในนครนิวยอร์ก

ระฆังสันติภาพญี่ปุ่น เป็นสัญลักษณ์แห่งสันติภาพของสหประชาชาติ หล่อขึ้นเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1952 เป็นของขวัญอย่างเป็นทางการของประชาชนญี่ปุ่นมอบให้แก่สหประชาชาติเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 1954 ระฆังสัญลักษณ์สื่อถึงสันติภาพนี้ ญี่ปุ่นบริจาคให้แก่สหประชาชาติ ในเวลานั้นซึ่งญี่ปุ่นยังไม่ได้รับการยอมรับเข้าสู่สหประชาชาติอย่างเป็นทางการ ระฆังสันติภาพญี่ปุ่นมอบให้แก่สหประชาชาติโดยสมาคมสหประชาชาติแห่งญี่ปุ่น

ประวัติ

[แก้]

โรงงานทาดะในญี่ปุ่นหล่อระฆังเสร็จในวันสหประชาชาติ เป็นผลงานของชิโยจิ นากางาวะ ถูกนำออกจัดแสดงชั่วคราวในโอซากา ประเทศญี่ปุ่น ในงานโอซากาเอ็กซ์โป 70 และภายหลังกลับคืนสู่ที่ตั้งถาวรภายในพื้นที่สหประชาชาติ

เร็นโซ ซาวาดะ ผู้สังเกตการณ์สหประชาชาติชาวญี่ปุ่น มอบระฆังให้แก่องค์การสหประชาชาติ ในเวลาที่มอบนั้น ซาวาดะให้ความเห็นว่า ระฆังทำให้ความปรารถนาสันติภาพเป็นรูปเป็นร่างขึ้น ซึ่งไม่เพียงเฉพาะแต่ชาวญี่ปุ่นเท่านั้น แต่รวมถึงประชาชนแห่งโลกทั้งใบด้วย ดังนั้น มันจึงเป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นสากลของสหประชาชาติ

รายละเอียด

[แก้]

ตัวระฆังหนัก 116 กิโลกรัม สูง 1 เมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางที่ฐาน 0.6 เมตร โลหะในระฆังได้มาจากเหรียญที่ได้รับบริจาคจากผู้แทน 60 ประเทศที่เข้าร่วมที่ประชุมสมาคมสหประชาชาติครั้งที่ 13 ซึ่งจัดขึ้นในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เหรียญนั้นผู้แทนได้เก็บรวบรวมจากเด็ก

ด้านหนึ่งของระฆังจารึกเป็นภาษาญี่ปุ่นความว่า "สันติภาพโลกเบ็ดเสร็จจงเจริญ" (世界絶対平和萬歳)

ระฆังสันติภาพญี่ปุ่นที่สำนักงานใหญ่สหประชาชาติในนครนิวยอร์ก ตั้งอยู่ภายในสิ่งก่อสร้างไม้ญี่ปุ่น ซึ่งคล้ายกับศาลเจ้าชินโตแบบดั้งเดิม โครงสร้างทั้งหมดรองรับด้วยฐานหินซึ่งได้รับบริจาคจากประเทศอิสราเอล

พิธีการ

[แก้]

แต่เดิมมีการเคาะระฆังสองครั้งในหนึ่งปี คือ วันแรกของฤดูใบไม้ผลิ หรือวันวสันตวิษุวัต (vernal equinox) และทุกวันเปิดประชุมสมัยประชุมประจำปีของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติในเดือนกันยายน

นอกจากนี้ยังมีการเคาะระฆังสันติภาพสากลในพิธีการวันคุ้มครองโลกประจำปี ซึ่งริเริ่มโดย จอห์น แมกคอนเนลล์ ผู้ก่อตั้งวันนั้น

อ้างอิง

[แก้]

40°44′58″N 73°58′04″W / 40.74944°N 73.96778°W / 40.74944; -73.96778