รอยโรคของเซลล์ประสาทสั่งการส่วนบน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รอยโรคที่เซลล์ประสาทสั่งการบน
(Upper motor neuron lesion)
ลำเส้นใยประสาทสั่งการ

รอยโรคที่เซลล์ประสาทสั่งการบน (อังกฤษ: upper motor neuron lesion, pyramidal insufficiency) เป็นรอยโรคที่วิถีประสาทเหนือปีกหน้า (anterior horn) ของไขสันหลัง หรือเหนือนิวเคลียสประสาทสั่งการ (motor nuclei) ของประสาทสมอง ในนัยตรงกันข้าม รอยโรคที่เซลล์ประสาทสั่งการล่างมีผลต่อใยประสาทที่ส่งจากปีกหน้าของไขสันหลังหรือจากนิวเคลียสประสาทสั่งการของประสาทสมองไปยังกล้ามเนื้อ[1]

รอยโรคที่เซลล์ประสาทสั่งการบนเกิดในสมองหรือในไขสันหลังโดยเป็นผลของโรคหลอดเลือดสมอง, โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง, ความบาดเจ็บที่สมอง (traumatic brain injury), อัมพาตสมองใหญ่, atypical parkinsonism, multiple system atrophy[A] และอะไมโอโทรฟิก แลเทอรัล สเกลอโรซิส

อาการ[แก้]

ความผิดปกติทางการทำงานของกล้ามเนื้อสามารถเรียกรวม ๆ ได้ว่าเป็นกลุ่มอาการ upper motor neuron syndrome ซึ่งจะต่าง ๆ กันขึ้นอยู่กับตำแหน่งและขนาดของรอยโรค แต่อาจรวม

  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง[3] ที่เรียกว่า pyramidal weakness
  • การเคลื่อนไหวที่ควบคุมได้น้อยลง โดยเฉพาะก็คือเคลื่อนไหวช้า
  • ภาวะหดเกร็ง (spasticity) เป็นการเปลี่ยนแปลงความตึงของกล้ามเนื้อโดยขึ้นอยู่กับความเร็วในการหดเกร็ง
  • clasp-knife response เป็นอาการที่กล้ามเนื้อขัดขืนการขยับอวัยวะที่แพทย์ทำในเบื้องต้น แต่อยู่ดี ๆ ก็จะคลาย
    ดูเพิ่มที่ พยาธิวิทยาเนื่องกับ Golgi tendon reflex
  • มีอาการ Babinski sign คือนิ้วโป้งเท้าจะงอขึ้น (ไปทางหน้าแข้ง) แทนที่จะงอลง (ไปทางใต้เท้า) เมื่อกระตุ้นฝ่าเท้าอย่างสมควร การมีอาการนี้ผิดปกติในผู้ใหญ่ เพราะรีเฟล็กซ์ฝ่าเท้า (plantar reflex) ที่ปกติจะงอนิ้วเท้าทั้งหมดลง แต่เมื่อผิดปกติคือมีอาการนี้ นิ้วโป้งจะงอขึ้นแต่นิ้วอื่น ๆ จะงอลง อาการผิดปกติในผู้ใหญ่นี้เป็นเรื่องปกติในทารกแรกเกิดจากตั้งแต่คลอดจนถึงอายุ 12 เดือน แต่ถ้ายังมีหลังจากนั้น จัดว่าเป็นอาการของรอยโรคของเซลล์ประสาทสั่งการบนที่ไม่จำเพาะเจาะจง
    ดูเพิ่มที่ รีเฟล็กซ์ฝ่าเท้า
  • การมี stretch reflex หรือ deep tendon reflex (DTR) ที่เพิ่มขึ้น
  • Pronator drift คือ เมื่อหมอให้คนไข้ยืดแขนทั้งสองออกทางด้านหน้าในระดับไหล่โดยแบมือขึ้นแล้วให้คงท่าไว้อย่างนั้น ถ้าไม่สามารถทำได้ ก็จัดว่ามีอาการนี้[4]

Corticospinal/pyramidal tract[แก้]

มีลำเส้นใยประสาทที่ส่งไปจากสมองไปยังปีกหน้าของไขสันหลัง เพื่อควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายด้วยกล้ามเนื้อโครงสร้างอันอยู่ใต้อำนาจจิตใจ แหล่งกำเนิดอยู่ที่เปลือกสมองส่วนสั่งการปฐมภูมิ (primary motor cortex) ซึ่งส่งเส้นประสาทไปทาง corona radiata ไปรวมกันที่ internal capsule ก่อนจะข้ามแนวกลางไปยังสมองซีกตรงข้ามที่ medullary pyramids ในก้านสมองส่วนท้าย แล้วดำเนินลงไปตามไขสันหลังไปจบลงที่เซลล์ประสาทสั่งการล่างในปีกหน้าของไขสันหลังคือที่ anterior grey column

วินิจฉัย[แก้]

เมื่อตรวจร่างกาย หมอจะตรวจอาการปัญหาทางระบบประสาทโดยเช็ค

  • การทรงตัวและการทำงานประสาน
  • การเคลื่อนไหว
  • การได้ยิน การพูด และสายตา
  • ความจำและสมาธิ

การตรวจเพื่อวินิจฉัย[แก้]

การรักษา[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. multiple system atrophy (MSA) หรือ Shy-Drager syndrome เป็นโรคประสาทเสื่อม (neurodegenerative disorder) ที่มีน้อย[2] มีอาการสั่น เคลื่อนไหวช้า กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง ทรงตัวได้ไม่ดี (ที่เรียกรวม ๆ ว่า parkinsonism) เพราะการทำงานผิดปกติของระบบประสาทอิสระและเพราะกล้ามเนื้อเสียสหการ มีเหตุจากการเสื่อมอย่างลุกลามของเซลล์ประสาทในสมองส่วนต่าง ๆ รวมทั้ง substantia nigra, striatum, inferior olivary nucleus และสมองน้อย

อ้างอิง[แก้]

  1. Fix, James D (2007-10-01). Neuroanatomy. Lippincott Williams & Wilkins. pp. 120-. ISBN 978-0-7817-7245-7. สืบค้นเมื่อ 2010-11-17.
  2. "multiple system atrophy". Dorland's Medical Dictionary. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-16. สืบค้นเมื่อ 2021-08-24.
  3. "upper motor neurone signs". GPnotebook.
  4. "The Precise Neurological Exam". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-29. สืบค้นเมื่อ 2009-11-28.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

การจำแนกโรค