รถไฟฟ้ารางเบามาเก๊า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รถไฟฟ้ารางเบามาเก๊า
澳門輕軌系統
Metro Ligeiro de Macau
ข้อมูลทั่วไป
เจ้าของบริษัทรถไฟฟ้ารางเบามาเก๊า (รัฐบาลมาเก๊าถือหุ้น 96%)
ที่ตั้งมาเก๊า
ประเภทรถไฟฟ้าล้อยาง
จำนวนสาย1 (ปัจจุบัน)
จำนวนสถานีสาย ไตปา: 11
สายคาบสมุทรมาเก๊า: 10
เว็บไซต์http://www.mlm.com.mo
http://www.mtr.com.mo/en/
การให้บริการ
เริ่มดำเนินงาน10 ธันวาคม พ.ศ. 2562 (สาย ไตปา)[1][2]
ในปี พ.ศ. 2567 (ช่วง ไตปา-บาร์รา)[3]
ผู้ดำเนินงานเอ็มทีอาร์ (มาเก๊า), บริษัทย่อยถือหุ้น 100% โดย บริษัท เอ็มทีอาร์ ฮ่องกง (2562-2566) /
บริษัทรถไฟฟ้ารางเบามาเก๊า (มหาชน) หลังปี พ.ศ. 2566
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง9.3 km (6 mi)[4]
รางกว้าง1,850 มม. (รางคอนกรีต)
3,200 มม. (รางนำทาง)[5]
รัศมีความโค้ง30 m (98 ft 5 18 in)[6]
การจ่ายไฟฟ้ารางที่สาม 750 โวลต์ กระแสตรง[7]
รถไฟฟ้ารางเบามาเก๊า
Macau Light Rapid Transit
อักษรจีนตัวเต็ม澳門輕軌系統
อักษรจีนตัวย่อ澳门轻轨系统
ชื่อโปรตุเกส
โปรตุเกสMetro Ligeiro de Macau

รถไฟฟ้ารางเบามาเก๊า (จีน: 澳門輕軌系統; ยฺหวิดเพ็ง: ou3 mun4 hing1 gwai2 hai6 tung2, โปรตุเกส: Metro Ligeiro de Macau (MLM)) หรือ อังกฤษ: Macau Light Rapid Transit (MLRT) เป็นระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตเมืองของเขตบริหารพิเศษมาเก๊าแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน และเป็นขนส่งมวลชนทางรางสายแรกของมาเก๊า ให้บริการบริเวณคาบสมุทรมาเก๊า, ไตปาและโกไต บริการด่านตรวจคนเข้าเมืองที่สำคัญ เช่น ประตูพรมแดน (อังกฤษ: Border Gate; จีน: 關閘; โปรตุเกส: Portas do Cerco), ท่าเรือเฟอร์รี่ Outer Harbour (จีน: 外港碼頭; โปรตุเกส: Terminal Marítimo do Porto Exterior), สะพานดอกบัว (จีน: 蓮花大橋; โปรตุเกส: Ponte Flor de Lótus) และท่าอากาศยานนานาชาติมาเก๊า (จีน: 澳門國際機場; โปรตุเกส: Aeroporto Internacional de Macau) ส่วนแรกเริ่มก่อสร้างในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 และเปิดดำเนินการเดินรถในส่วนแรกเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2562[8] รถไฟฟ้ารางเบามาเก๊าดำเนินการโดย บริษัท เอ็มทีอาร์ (มาเก๊า) บริษัทย่อยของบริษัทเอ็มทีอาร์ ฮ่องกง (จีน: 香港鐵路有限公司)

ระบบรถไฟฟ้ารางเบามาเก๊าปัจจุบันแล้วเสร็จในสาย ไตปา ระหว่างสถานีโอเชียน (จีน: 海洋; โปรตุเกส: Oceano) และสถานีท่าเรือเฟอร์รี่ไตปา (จีน: 氹仔碼頭; โปรตุเกส: Terminal Marítimo da Taipa) ระยะทาง 9.3 กิโลเมตร โดยมี 11 สถานี การก่อสร้างอู่จอดซ่อมบำรุงและสายทางเริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555[9] โดยเริ่มก่อสร้างในเกาะไตปา อย่างไรก็ตามความล่าช้าอย่างมากในการก่อสร้างอู่จอดซ่อมบำรุง การเปิดเดินรถสายไตปาอย่างเป็นทางการจึงมีขึ้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2562[10] มูลค่าการก่อสร้างของโครงการเพิ่มขึ้นจากประมาณการในปี พ.ศ. 2552 ที่ 7.5 พันล้านปาตากามาเก๊า เป็น 11 พันล้านปาตากาในประมาณการในปี พ.ศ. 2554[11] และเพิ่มเป็น 14.273 พันล้านปาตากาในเดือนกันยายน พ.ศ. 2555[12] และสิ้นปี พ.ศ. 2560 เพิ่มอีกเป็น 15.4 พันล้านปาตากา[1] แต่ในสิ้นปี พ.ศ. 2562 สามารถลดค่าใช้จ่ายจากการเปิดดำเนินงานของสายไตปา ทำให้ค่าใช้จ่ายทั้งโครงการคงเหลือ 10.1-10.2 พันล้านปาตากามาเก๊า[13]

ประวัติ[แก้]

ในการแถลงนโยบายปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 ต่อสาธารณะ โดยผู้บริหารสูงสุดเขตบริหารพิเศษมาเก๊า เอ็ดมุนด์ โฮ (จีน: 何厚鏵; ยฺหวิดเพ็ง: ho4 hau5 waa4, โปรตุเกส: Edmund Ho Hau-wah)[14] ระบุว่ารัฐบาลจะนำเสนอระบบขนส่งมวลชนใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาการขนส่งในเมือง ต่อมาในปีพ.ศ. 2545 รัฐบาลได้มอบหมายให้ บริษัท ฮ่องกงเมโทรคอร์ปอเรชั่น (เอ็มทีอาร์) ทำการวิจัยเกี่ยวกับระบบขนส่งทางรถไฟของมาเก๊า ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 บริษัท เอ็มทีอาร์ของฮ่องกงได้ส่งมอบรายงานคำปรึกษาครั้งแรก[15] แนะนำให้ใช้ระบบรถไฟฟ้ารางเบาแบบทางยกระดับ แต่มีการพิจารณาประสิทธิผลด้านต้นทุนของแนวทางนี่ และยังได้รับการวิพากษ์วิจารณ์เนื่องจากไม่ได้มุ่งเน้นที่ประชาชนผู้อยู่อาศัย ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 บริษัท เอ็มทีอาร์ของฮ่องกงเสร็จสิ้นรายงานการให้คำปรึกษาครั้งที่สอง[16] ซึ่งเสนอให้ใช้ระบบรถไฟฟ้าใต้ดินและกำหนดแผนการเลือกเส้นทางเบื้องต้น อย่างไรก็ตามรายงานการศึกษามีข้อสงสัยถึงปัญหาต่าง ๆ เช่นค่าใช้จ่ายที่สูง

ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 รัฐบาลเขตบริหารพิเศษมาเก๊าได้เผยแพร่โครงการ "การวิจัยเชิงลึกเกี่ยวกับระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน" ซึ่งมีการตั้งข้อสังเกตถึงปัญหาเช่น สายทางผ่านพื้นที่อาศัยหนาแน่นมากเกินไป และไม่สามารถอนุรักษ์เมืองเก่าได้ ในวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 รัฐบาลเขตบริหารพิเศษมาเก๊าได้ออก "แผนเพิ่มประสิทธิภาพสำหรับระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่" ซึ่งระบุว่ารัฐบาลมาเก๊ามีแผนที่จะเริ่มก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเบาในปี พ.ศ. 2551 และทำการแก้ไขแผนเชิงลึกมากขึ้น

วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2550 เหล่าซีหยิ่ว (จีน: 劉仕堯; ยฺหวิดเพ็ง: lau4 si6 jiu4) ผู้อำนวยการสำนักการขนส่งและโยธาธิการประกาศอย่างเป็นทางการถึงการก่อสร้างระบบรถไฟฟ้าระยะแรก ระบบใช้การปรับแผนให้มีประสิทธิภาพโดยจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม รัฐบาลเชิญที่ปรึกษาระหว่างประเทศเพื่อร่างการเสนอราคา ณ สิ้นปี พ.ศ. 2550 และเปิดประมูลในปี พ.ศ. 2551 ซึ่งแต่เดิมกำหนดให้เริ่มอย่างเป็นทางการในช่วงครึ่งหลังของปี พ.ศ. 2551 อย่างไรก็ตามเนื่องจากการยื่นอุทธรณ์จาก บริษัทที่เข้าร่วมประมูล ทางสำนักงานโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง ภายใต้สำนักการขนส่งได้ใช้เวลาศึกษา 4 เดือน เวลาในการประมูลโครงการจึงเลื่อนเป็น พ.ศ. 2552, 2553 และ 2554 ต่อมาเนื่องจากสายทางรถไฟฟ้ามีการเปลี่ยนแปลงอีกหลายครั้ง และต้องใช้เวลาในการดำเนินการกระบวนการอุทธรณ์สำหรับการเสนอราคา โครงการจึงเลื่อนออกไปจนกระทั่งวันที่ 21กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 ก่อนที่จะมีการเริ่มก่อสร้างอย่างเป็นทางการ ในขณะเดียวกันรัฐบาลก็สัญญาว่าจะวางแผนระยะที่สองของโครงการหลังจากการก่อสร้างระยะแรก และเสนอแผนความเป็นไปได้โดยรับฟังความเห็นสาธารณะ[17]

เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562 สำนักงานโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งซึ่งก่อตั้งขึ้นในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ได้ถูกยกเลิกและแทนที่อย่างเป็นทางการโดย "บริษัทรถไฟฟ้ารางเบามาเก๊า จำกัด " ซึ่งเป็นบริษัทที่บริหารโดยเงินทุนสาธารณะทั้งหมด เพื่อร่วมบริหารจัดการในการเปิดสายทาง ไตปา โดยรัฐบาลมาเก๊าและ บริษัทรถไฟฟ้ารางเบามาเก๊า ได้ลงนามในสัญญาสิบปี "รับรองสัญญาอนุญาตในการจัดการระบบรถไฟฟ้ารางเบา การดำเนินงานและการบำรุงรักษา" นอกจากนี้ บริษัท เอ็มทีอาร์ (มาเก๊า) มีหน้าที่รับผิดชอบในการปฏิบัติการณ์และบำรุงรักษา รถไฟฟ้ารางเบาในสายทางไตปา

เหตุผลในการก่อสร้าง[แก้]

รัฐบาลมาเก๊าคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวเกิน 20 ล้านคนต่อปี นอกจากนี้โรงแรมและคาสิโนมีการก่อสร้างแล้วเสร็จในปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้น เชื่อได้ว่ารถบัส, รถแท็กซี่และเครือข่ายการขนส่งที่เกี่ยวข้องของมาเก๊าไม่สามารถรับมือกับการเติบโตดังกล่าวได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องสร้างระบบขนส่งมวลชนใหม่เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัด และปรับปรุงปัญหามลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม

การเปิดบริการ[แก้]

รถไฟฟ้ารางเบามาเก๊า สายไตปา
ปัจจุบันเปิดบริการระหว่างสถานีโอเชียน และสถานีท่าเรือเฟอร์รี่ไตปา

บริการรถไฟฟ้ารางเบาเปิดเดินรถในเวลา 6:30 นาฬิกาถึง 23:35 นาฬิกาในวันจันทร์ถึงศุกร์ และถึง 00:19 นาฬิกา (ของวันใหม่) ในวันเสาร์-อาทิตย์และวันหยุด[18] เนื่องจากการจัดซื้อประตูเข้าสู่ระบบกับบริษัทมิตซูบิชิ จึงไม่สามารถใช้งานร่วมกับเงินอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ได้เมื่อผู้โดยสารเข้าระบบ โดยจะสามารถใช้บัตรมาเก๊าพาสหรือเงินสดเพื่อซื้อตั๋วและใช้ตั๋วนั้นเพื่อเข้าและออกประตู ในขณะนี้ไม่สามารถสแกนบาร์โค้ดด้วยโทรศัพท์มือถือโดยตรง หรือเข้าหรือออกจากระบบด้วยบัตรมาเก๊าพาสได้ ปัญหาความเข้ากันได้จะต้องได้รับการศึกษาโดย บริษัทรถไฟฟ้ารางเบามาเก๊า ต่อไป (ไม่คิดต่าโดยสารตลอดเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2562 ในช่วงเปิดให้บริการครั้งแรก)[19]

ลำดับการพัฒนา[แก้]

  • วันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2556 เหล่า หย่ง (จีน: 劉榕; ยฺหวิดเพ็ง: lau4 jung4) ผู้อำนวยการสำนักผังเมืองภายใต้สำนักการโยธามาเก๊ากล่าวว่า เพื่อเชื่อมต่อกับการเปิดสถานีรถไฟ กงเป่ย สายกว่างโจว-จูไห่ ของสาธารณรัฐประชาชนจีน เจ้าหน้าที่กำลังศึกษาการขยายสายทางระยะแรก จากสถานี ประตูพรมแดน (Border Gate; จีน: 關閘, โปรตุเกส: Portas do Cerco) ไปยังสถานี เช็ง เจา (จีน: 青洲, โปรตุเกส: Ilha Verde)[20] เพื่อเป็นเส้นทางที่สองจากคาบสมุทรมาเก๊า สู่จูไห่
  • เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2556 แจง ยุก (จีน: 鄭煜; ยฺหวิดเพ็ง: zeng6 juk1) สมาชิกคณะกรรมการที่ปรึกษาทางการขนส่ง แนะนำว่านอกเหนือจากการเปิดให้บริการเป็นครั้งแรกในส่วนของรถไฟฟ้ารางเบาสถานีท่าเรือเฟอร์รี่ไตปา ไปยังสวนโอเชี่ยนแล้ว ก็เสนอให้ศึกษาส่วนขยายของสายทางไปย่านที่พักอาศัยเคหะ แสะผ่ายวาน (จีน: 石排灣; ยฺหวิดเพ็ง: sek6 paai4 waan1, โปรตุเกส: Seac Pai Van) และบริเวณเกาะโกโลอานีโดยเร็วที่สุด[21] เพื่อนำประสิทธิภาพสูงสุดของรถไฟฟ้ารางเบาส่วน ไตปา ให้ตอบสนองความต้องการการเดินทางของผู้อยู่อาศัยในเคหะ แสะผ่ายวาน
  • วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2557 ในการแลกเปลี่ยนความเห็นสาธารณะในการศึกษาความเป็นไปได้ของสาย แสะผ่ายวาน นอกเหนือจากความกังวลของผู้อยู่อาศัยเกี่ยวกับการจะขยายสายวงแหวนแล้ว ผู้อยู่อาศัยยังหวังที่จะขยายสายทางไปยังหาด ฮักซา (จีน: 黑沙海灘, โปรตุเกส: Praia de Hac Sá)[22][23] เพื่อความสะดวกของผู้พักอาศัย หลั่มโส่ยฮ่อย (จีน: 林瑞海; ยฺหวิดเพ็ง: lam4 seoi6 hoi2) ที่ปรึกษาด้านเทคนิคของสำนักงานขนส่งและก่อสร้างกล่าวว่า เขาจะวิเคราะห์ความคิดเห็นอย่างครอบคลุมและพิจารณาถึงความจำเป็นในการขยายไปยัง โกโลอานี และ ฮักซา เมื่อเดินทางไปพร้อมกับผู้โดยสารในสถานการณ์จริง
  • วันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2561 สำนักงานขนส่งและก่อสร้างได้เสนอแนวเส้นทาง ใหม่ของรถไฟฟ้ารางเบา (สายตะวันออก) จาก ประตูพรมแดน (Border gate; จีน: 關閘, โปรตุเกส: Portas do Cerco) สู่ท่าเรือเฟอร์รี่ไตปา (จีน: 氹仔客運碼頭, โปรตุเกส: Terminal Marítimo de Passageiros da Taipa) ผ่านเขตเมืองใหม่ A (จีน: 澳門新城區A區, โปรตุเกส: Novos Aterros Urbanos da Zona A) และจะเริ่มศึกษาโครงการในระยะเวลาอันสั้น ขณะที่สายคาบสมุทรมาเก๊ายังไม่มีกำหนดเริ่มการก่อสร้าง[24][25]
  • วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ผู้สมัครชิงตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดเขตบริหารพิเศษมาเก๊า ฮอยัตเส่ง (จีน: 賀一誠; ยฺหวิดเพ็ง: ho6 jat1 sing4, โปรตุเกส: Ho Iat Seng) ให้สัญญาในงานแถลงข่าวของผู้สมัครฯ ว่าโครงการรถไฟฟ้ารางเบาสาย บาร์รา (จีน: 媽閣線, โปรตุเกส: Estação do Barra) จะเสร็จสมบูรณ์ภายในระยะเวลาในตำแหน่งห้าปีอย่างแน่นอน เขาบอกว่าเมื่อเสร็จสิ้นการก่อสร้างสถานี บาร์รา คาดว่าสถานีรถไฟฟ้ารางเบาทั้งหมดจะใช้งบประมาณ 15.5 พันล้านปาตากา ซึ่งสถานี บาร์รา ใช้งบประมาณก่อสร้าง 4.5 พันล้านปาตากามาเก๊า ค่าอุปกรณ์ 3.6 พันล้านปาตากา, สถานีซ่อมบำรุง 2.6 พันล้านปาตากา และส่วนที่เหลืออีก 4.8 พันล้านปาตากา ค่าใช้จ่ายโดยประมาณต่อกิโลเมตรของรถไฟประมาณ 500 ล้านปาตากา กล่าวอีกนัยหนึ่งการก่อสร้างสายตะวันออกไม่ต้องใช้อุปกรณ์จำนวนมาก และแม้ว่าจะขยายสายทางก็ไม่เสียค่าใช้จ่ายมาก นอกจากนี้เขายังกล่าวว่ารัฐบาลปัจจุบันได้ทำการศึกษาแนวสายทางในด้านตะวันออกเท่านั้น ดังนั้นจึงจะศึกษาแผนการของรัฐบาลปัจจุบันและจะไม่ตัดแผนการอื่น ๆ[26]

แผนสายทาง[แก้]

กำหนดเวลาเปิดดำเนินการ สายทาง จุดเริ่มต้น-สิ้นสุด ความยาว (กม.) จำนวนของสถานี สถานะปัจจุบัน หมายเหตุ
ธันวาคม พ.ศ. 2562  Taipa  สถานีโอเชียน สถานีท่าเรือ
เฟอร์รี่ไตปา
9.3 11 เปิดดำเนินการ[1]
พ.ศ. 2566/2567 สายไตปา (ส่วนไตปา-บาร์รา) สถานีบาร์รา สถานีโอเชี่ยน 1 ระหว่างการก่อสร้าง
ระหว่างการพิจารณา สายคาบสมุทรมาเก๊า
(ส่วนเหนือและใต้)
สถานี ประตูพรมแดน (Border Gate) สถานีบาร์รา 11.7 10 วางแผน
สายคาบสมุทรมาเก๊า
(ส่วน Inner Harbour)
สถานี ประตูพรมแดน (Border Gate) สถานีบาร์รา 4.5 6/7 วางแผน
สายแสะผ่ายวาน
(石排灣; Seac Pai Van)
สถานี สะพานดอกบัว แสะผ่ายวาน 1.6 3 วางแผนและ
เริ่มก่อสร้างเบื้องต้น[27]
ส่วนต่อขยายสายวางข่ำ
(橫琴島; Ilha de Montanha)
สถานี สะพานดอกบัว สถานีด่านวางข่ำ 3.3 3 ศึกษารายละเอียด
ความเป็นไปได้
สายพิเศษด่านเกาะเทียมสะพานฮ่องกง–จูไห่–มาเก๊า ด่านเกาะเทียมสะพานฮ่องกง–จูไห่–มาเก๊า ท่าเรือ Outer Harbour 3 วางแผน
สายมาเก๊าตะวันออก สถานีท่าเรือ
เฟอร์รี่ไตปา
สถานี ประตูพรมแดน (Border Gate) 7.8 >6 ศึกษารายละเอียด
และออกแบบ
สายไตปาเหนือ >2 ข้อเสนอ

ขบวนรถ[แก้]

Ocean Cruiser
ผู้ผลิตมิตซูบิชิเฮฟวีอินดัสทรีส์
ผลิตที่มิฮาระ, จังหวัดฮิโรชิมะ, ญี่ปุ่น
ตระกูลCrystal Mover (Urbanismo-22)
สายการผลิตพ.ศ. 2555-2559
เข้าประจำการพ.ศ. 2562
จำนวนที่ผลิต55 ขบวน (110 ตู้โดยสาร)
ความจุผู้โดยสาร102 คน (19 ที่นั่ง) / ตู้โดยสาร[6]
ผู้ให้บริการบริษัทรถไฟฟ้ารางเบามาเก๊า (MLRT)
คุณลักษณะ
วัสดุตัวถังอะลูมิเนียม-อัลลอย
ความยาว11.2 เมตร (36 ฟุต 8 15/16 นิ้ว)[6]
ความกว้าง2.795 เมตร (9 ฟุต 2 3/64 นิ้ว)[6]
ความสูง3.795 เมตร (12 ฟุต 5 13/32 นิ้ว)[6]
จำนวนประตู4 ประตู (2 ประตูต่อข้าง) ต่อตู้โดยสาร
ความเร็วสูงสุด80 km/h (50 mph)
(ออกแบบ)[6]
น้ำหนัก23,860 กก. (บรรทุกสูงสุด)[6]
ความเร่ง1.0 เมตร/วินาที2
(3.3 ฟุต/วินาที2)[7]
ความหน่วง1.0 เมตร/วินาที2
(3.3 ฟุต/วินาที2) (ปรกติ)
1.3 เมตร/วินาที2
(4.3 ฟุต/วินาที2) (ฉุกเฉิน)[7]
มาตรฐานทางกว้างรางนำทาง: ด้านข้าง – ล้อยาง

รถไฟฟ้ารางเบามาเก๊าใช้ ขบวนรถมิตซูบิชิเฮฟวีอินดัสทรีส์ Crystal Mover รุ่น Urbanismo-22 ซึ่งเป็นระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (APM)[28] โดยใช้ล้อยางที่วิ่งบนรางคอนกรีต[29] มิตซูบิชิจะจัดหารถไฟสองตู้โดยสารจำนวน 55 คันซึ่งเป็นแบบอัตโนมัติ (ไร้คนขับ) สามารถขยายความจุผู้โดยสารได้สูงสุดถึง 476 คนต่อขบวน (4 ตู้โดยสาร)[29] โดยขบวนรถมีชื่อว่า Ocean Cruiser[30]

อัตราค่าโดยสาร[แก้]

จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2562 รถไฟฟ้ารางเบามาเก๊าให้บริการฟรี[31] ตามประกาศของผู้บริหารสูงสุดเขตบริหารพิเศษมาเก๊าหมายเลข 186/2019[32] ณ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 ค่าใช้จ่ายสำหรับโดยสารรถไฟฟ้ารางเบามาเก๊าเป็นดังนี้:

จำนวนสถานี เหรียญเดินทางเที่ยวเดียว เหรียญเดินทางเที่ยวเดียว (ลดหย่อน),
บัตรเติมเงิน
บัตรเติมเงินสำหรับ
นักเรียน
เด็กสูงน้อยกว่า 1 เมตร, บัตรผู้สูงอายุ,
บัตรผู้ทุพพลภาพ
3 สถานีหรือน้อยกว่า MOP $6.00 MOP $3.00 MOP $1.50 ฟรี
6 สถานีหรือน้อยกว่า MOP $8.00 MOP $4.00 MOP $2.00
10 สถานีหรือน้อยกว่า MOP $10.00 MOP $5.00 MOP $2.50

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 澳門輕軌第一期離島氹仔線下周二開通 年底前免費乘坐 (ภาษาจีน). RTHK 即時新聞. 2019-12-06.
  2. "Light Rail Transit firm to be set up before the middle of the year". 2019-04-03. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-04. สืบค้นเมื่อ 2019-06-28.
  3. "LRT trains to run from 6 a.m. to 1 a.m.: govt". 2019-01-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-03. สืบค้นเมื่อ 2019-06-28.
  4. 輕軌下周二開通 年底前免費乘搭 (ภาษาจีน). Macao Light Rapid Transit. 2019-12-06. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-06. สืบค้นเมื่อ 2019-12-14.
  5. "Crystal Mover". สืบค้นเมื่อ 2019-12-14.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 6.6 "AGT: New TOD Solution for Urban Transportation Issues" (PDF). Mitsubishi Heavy Industries Technical Review. 53 (3). September 2016.
  7. 7.0 7.1 7.2 "Mitsubishi Heavy Industries Crystal Mover C810A".
  8. 輕軌車廠工程明年重啓. 澳門日報. 2015-11-18. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-20.
  9. 造價四億八 工期三十九個月 輕軌氹仔段下周二動工. 澳門日報A02版. 2012-02-18.
  10. 輕軌將於下周二正式開通 (ภาษาจีน). 澳廣視新聞. 2019-12-06.
  11. 澳门乱象:轻轨合约直接批给 议员轰批约零监管 (ภาษาจีน). ON.CC (BVI). 2018-01-02.
  12. 《輕軌系統——第三階段》. 審計署.
  13. 輕軌日載客量料約2萬人次 羅立文:終於等到今日 (ภาษาจีน). 澳門電台. 2019-12-10.
  14. "Policy Address for the Fisical Year 2003" (PDF) (Press release). Web: Macau SAR Government. 20 November 2002. สืบค้นเมื่อ 6 August 2018.
  15. 總造價廿七至卅億 輕鐵擬○六開通 [Total Cost of Construction 2.7 to 3 billion; Light Rail proposed to open at '06]. Macao Daily News (ภาษากวางตุ้ง). Macao. 20 February 2003.
  16. "Progress for the Macao LRT". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-25. สืบค้นเมื่อ 7 August 2018.
  17. 輕軌拍板. 澳門日報. 2007-10-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-16. สืบค้นเมื่อ 2007-10-16.
  18. "Macao Light Rapid Transit Train Service". MTR (Macau). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-11. สืบค้นเมื่อ 2019-12-14.
  19. "Macau's first-ever railway to start today". the macao news. 2019-12-10. สืบค้นเมื่อ 2021-12-15.
  20. 輕軌研增青洲站. 澳門日報A12版. 2013-04-21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-27.
  21. 鄭煜:輕軌分段走先連媽閣 (ภาษาจีน). 澳門日報A6版. 2013-12-24.
  22. 輕軌延伸路環意見不一 村民冀延黑沙 (ภาษาจีน). 澳門日報A1版. 2014-01-19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-01.
  23. 運建辦公眾座談收集輕軌石排灣線意見 (ภาษากวางตุ้ง). 澳廣視. 2014-01-18. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-20. สืบค้นเมื่อ 2014-01-19.
  24. 羅立文輕軌澳門線先開展東線研究 (ภาษาจีน). 澳廣視新聞. 2018-01-05.
  25. 連接關閘A區北安碼頭被質疑益賭場 輕軌東線或翻生 (ภาษาจีน). 澳門日報. 2018-01-06. p. A1版. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-07. สืบค้นเมื่อ 2018-01-07.
  26. 賀一誠作出承諾 五年任期必完成輕軌媽閣線 (ภาษาจีน). 澳門力報. 2019-08-25.
  27. C390A-輕軌石排灣前期建造工程 澳門特區政府運輸基建辦公室. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-21. สืบค้นเมื่อ 2018-06-21.
  28. "MHI Receives Order for Macau Light Rapid Transit (MLRT) Phase 1". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-16. สืบค้นเมื่อ 2013-08-03.
  29. 29.0 29.1 Natalie Leung, บ.ก. (2010-12-31). "Mitsubishi wins LRT tender". macaodailytimes.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-04. สืบค้นเมื่อ 2019-12-14.
  30. "The 1:1 scale Mockup of LRT has arrived". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24.
  31. 輕軌下周二開通 年底前免費乘搭. 澳門特別行政區政府入口網站 (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 2019-12-10.
  32. "印務局 - 行政長官批示". bo.io.gov.mo. สืบค้นเมื่อ 2019-12-10.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]