รถจักรไอน้ำโมกุล C56 หมายเลข 725
![]() | ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
รถจักรไอน้ำ C56-31, รถจักรไอน้ำโมกุล C56 31 (JNR Class C56-31) | |
---|---|
![]() รถจักรไอน้ำโมกุล C56 หมายเลข 725 (C56-31) ตั้งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ยูชูคาน ในส่วนของศาลเจ้ายาซูกูนิ, ประเทศญี่ปุ่น | |
ข้อมูลทั่วไป | |
ชื่อทางการ | รถจักรไอน้ำแห่งการรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น ชั้น C56 คันที่ 31 |
ชนิด | รถจักรไอน้ำ |
แรงม้า | 592 แรงม้า |
น้ำหนัก | จอดนิ่ง 34.27 ตัน ทำงาน 37.63 ตัน กดเพลา 10.61 ตัน |
การจัดวางล้อ | 2-6-0 (โมกุล) |
พิกัดตัวรถ | กว้าง 2,936 มม. สูง 3,900 มม. ยาว 14,325 มม. |
ระบบห้ามล้อ | ลมอัด |
ความจุ | 10.02 มลบ. |
ความเร็วสูงสุด | 75 กม./ชม. |
ผู้สร้าง | บริษัท นิปปอน ชาเรียว จำกัด ในส่วนของ สมาคมอุตสาหกรรมรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น, ![]() |
เริ่มใช้งาน | พ.ศ. 2489 |
ใช้งานใน | ![]() ![]() |
ระบบห้องขับ | มี 1 ห้องขับ,ฝั่ง |
รวมระยะเวลาใช้งานทั้งหมด | 75 ปี |
รถจักรไอน้ำโมกุล C56 หมายเลข 725 (C56 31) หรือ รถจักรไอน้ำ C56-31 (JNR Class C56-31) เป็นหนึ่งรถจักรไอน้ำในตระกูล รถจักรไอน้ำโมกุล C56 เป็นรถจักรไอน้ำที่สร้างขื้นในประเทศญี่ปุ่น สร้างโดยสมาคมอุตสาหกรรมรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น นำมาใช้การครั้งแรกของประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2489 และเป็นรถในพิธีเปิดทางรถไฟสายมรณะ เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2486 ปัจจุบัน รถจักรไอน้ำโมกุล C56 หมายเลข 725 คันนี้ตั้งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ยูชูคาน ในส่วนของศาลเจ้ายาซูกูนิ ในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ที่แห่งนี้
ประวัติ[แก้]
ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 กรมรถไฟ กระทรวงคมนาคม ได้ประสบความเสียหายในเรื่องของทางรถไฟ,สะพาน, อาคารสถานี, ที่ทำการ, รถจักร, ล้อเลื่อน เนื่องจากการโจมตีทิ้งระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นอย่างมาก เมื่อสงครามได้ยุติลง จึงปรากฏว่ากรมรถไฟขาดแคลนรถจักรและล้อเลื่อนที่จะมาใช้การรับใช้ประชาชนตามสถานะเดิมต่อไป ดังนั้นในปี พ.ศ. 2489 ด้วยความเอื้อเฟื้อของสหประชาชาติได้จำหน่ายรถจักรไอน้ำที่เหลือใช้จากสงครามให้แก่กรมรถไฟจำนวน 68 คัน (รุ่นเลขที่ 380-447) เพื่อบรรเทาการขาดแคลนดังกล่าว รถจักรเหล่านี้เป็นชนิดมิกาโด (2-8-2) ซึ่งเรียกกันโดยเฉพาะในวงการของสหประชาชาติว่ารถจักร “แมคอาเธอร์” เป็นรถจักรที่สร้างโดยบริษัทต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา ตามรายการจำเพาะที่กำหนดขึ้นโดยทางการทหารแห่งสหรัฐ
นอกจากนี้ยังได้รับรถจักรที่เหลือใช้จากสงครามของฝ่ายญี่ปุ่น ซึ่งนำมาใช้การในเอเซียอาคเนย์นี้ 50 คัน คือ รถจักรญี่ปุ่น รุ่นเลขที่ 701-746 (C-56) และ รุ่นเลขที่ 761- 764 (C-58)และเป็นรถจักรของการรถไฟสหพันธรัฐมลายู ซึ่งฝ่ายญี่ปุ่นนำมาใช้การในประเทศไทยระหว่างสงครามอีก 18 คัน คือรุ่นเลขที่ 801 (เจ้าของเดิมเรียกว่ารุ่น "P")
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2[แก้]
ปัจจุบันใช้การในการรถไฟแห่งประเทศไทย ใช้ทำขบวนรถโดยสารและรถสินค้าจนถึงปี พ.ศ. 2520 ต่อมา เมื่อปี พ.ศ. 2522 ประเทศญี่ปุ่นได้ซื้อกลับไปจำนวน 2 คัน คือหมายเลข 725 และ 735 ส่วนรถจักรไอน้ำโมกุล C56 หมายเลข 725 ได้จัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ยูชูคาน ณ ที่แห่งนี้