ข้ามไปเนื้อหา

รตัน ฏาฏา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รตัน ฏาฏา
ฏาฏาในปี ค.ศ. 2011
เกิดรตัน นวัล ฏาฏา
28 ธันวาคม ค.ศ. 1937(1937-12-28)
บอมเบย์, จังหวัดบอมเบย์, บริติชราช
(ปัจจุบันคือ มุมไบ, มหาราษฏระ, อินเดีย)
เสียชีวิต9 ตุลาคม ค.ศ. 2024(2024-10-09) (86 ปี)
โรงพยาบาล Breach Candy มุมไบ
ศิษย์เก่าCornell University (BArch)
อาชีพนักอุตสาหกรรม, นักการกุศล
ตำแหน่งประธานกิตติมศักดิ์, เครือบริษัท ฏาฏาซอนส์ และ ฏาฏากรุป[1]
วาระ
  • ค.ศ. 1991 – ค.ศ. 2012
  • ค.ศ. 2016 – ค.ศ. 2017
ผู้ดำรงตำแหน่งก่อนเจ. อาร์. ดี. ฏาฏา
ผู้สืบตำแหน่ง
บิดามารดา
ญาติครอบครัวฏาฏา
รางวัล

รตัน นวัล ฏาฏา (มราฐี: रतन नवल टाटा) (28 ธันวาคม ค.ศ. 1937- 9 ตุลาคม ค.ศ. 2024) เป็นนักอุตสาหกรรมชาวอินเดีย ผู้ใจบุญ และอดีตประธานบริษัท Tata Sons เขาดำรงตำแหน่งประธานบริษัท Tata Group ตั้งแต่ปี 1990 ถึง 2012 และดำรงตำแหน่งประธานชั่วคราวตั้งแต่เดือนตุลาคม 2016 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2017 เขาดำรงตำแหน่งหัวหน้ามูลนิธิการกุศลของบริษัทต่อไป [2][3] ในปี ค.ศ. 2008 เขาได้รับรางวัลปัทมาวิภูษัณ ซึ่งเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์พลเรือนสูงสุดเป็นอันดับสองในอินเดีย หลังจากที่ได้รับรางวัลปัทมาภูษัณซึ่งเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์พลเรือนสูงสุดเป็นอันดับสามในปี ค.ศ. 2000

เขาเป็นลูกชายของนวัล ฏาฏา ซึ่งได้รับการอุปการะโดยรตันจี ฏาฏา ลูกชายของ ชัมเสตจี ฏาฏา และเป็นผู้ก่อตั้งฏาฏากรุป เขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาสถาปัตยกรรมจาก Cornell University College of Architecture [4] เขาเข้าร่วมกับบริษัทฏาฏา ในปี ค.ศ. 1961 โดยทำงานที่โรงงานของ Tata Steel ต่อมาเขาเข้ามาดำรงตำแหน่งประธานบริษัท Tata Sons ต่อจาก เจ. อาร์. ดี. ฏาฏา หลังจากเกษียณอายุในปี ค.ศ. 1991 ในช่วงดำรงตำแหน่งนี้ฏาฏากรุป ยังได้เข้าซื้อกิจการ Tetley, Jaguar Land Rover และ Corus เพื่อพยายามเปลี่ยนฏาฏา จากกลุ่มที่เน้นอินเดียเป็นหลักให้กลายเป็นธุรกิจระดับโลก นอกจากนี้ฏาฏายังเป็นผู้ใจบุญรายใหญ่ที่สุดในโลก โดยบริจาครายได้ประมาณ 60–65% ให้กับการกุศล

รตันยังเป็นนักลงทุนที่มากด้วยประสบการณ์และได้ลงทุนหลายครั้งในบริษัทสตาร์ทอัพหลายแห่ง จนถึงปัจจุบันฏาฏาได้ลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพมากกว่า 30 แห่ง โดยส่วนใหญ่เป็นการลงทุนส่วนตัวและบางส่วนผ่านบริษัทการลงทุนของเขา [5][6]

แหล่งอ้างอิง

[แก้]
  1. Tata.com. "Tata Sons Board replaces Mr. Ratan Tata as Chairman, Selection Committee set up for new Chairman via @tatacompanies". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 October 2016. สืบค้นเมื่อ 24 October 2016.
  2. "Ratan Tata is chairman emeritus of Tata Sons". The Times of India. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 February 2016. สืบค้นเมื่อ 11 January 2016.
  3. Masani, Zareer (5 February 2015). "What makes the Tata empire tick?n;". The Independent (UK). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 June 2016. สืบค้นเมื่อ 30 April 2016.
  4. "Leadership Team | Tata group". Tata.com. 28 December 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 May 2020. สืบค้นเมื่อ 10 January 2022.
  5. "Ratan Tata turns 84: A list of 10 start-ups funded by the industrialist". Business Today (ภาษาอังกฤษ). 28 December 2021. สืบค้นเมื่อ 17 August 2023.
  6. "Ratan Tata invests in companionship startup Goodfellows: Why he invested, the business model and other details". The Times of India. 17 August 2022. ISSN 0971-8257. สืบค้นเมื่อ 17 August 2023.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]