รชินิกานต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รชินิกานต์
รชินิกานต์เมื่อปี 2018
เกิดจิวาชิ ราว เกยิกวาฏ
(1950-12-12) 12 ธันวาคม ค.ศ. 1950 (73 ปี)[1]
บังกาลอร์, รัฐไมสูรุ (ปัจจุบัน รัฐกรณาฏกะ) ประเทศอินเดีย
ชื่ออื่น
  • รัชนี
  • ราชินี
  • ธไลวรร (தலைவர்; แปลว่า ผู้นำ)
  • ซูเปอร์สตาร์
  • สไตล์มันนัน (แปลว่า จ้าวแห่งสไตล์)
อาชีพ
  • นักแสดง
  • ผู้ผลิตภาพยนตร์
ปีปฏิบัติงาน1975–present
คู่สมรสลธา รชินิกานต์ (สมรส 1981)
บุตร
ญาติตระกูลรชินิกานต์
รางวัลรางวัลดาดาสาเฟบ ผาลเก (2020)[2]
ปัทมวิภูษาน (2016)[3]
NTR National Award (2016)
Padma Bhushan (2000)
กาไลมามณี (1984)
(รายชื่อรางวัล)

รชินิกานต์ (ทมิฬ: ரஜினிகாந்த், อักษรโรมัน: Rajinikanth)[a] หรือชื่อเมื่อเกิด จิวาชิ ราว เกยิกวาฏ (ทมิฬ: சிவாஜி ராவ் கெயிக்வாட், อักษรโรมัน: Shivaji Rao Gaekwad,[b] เกิด 12 ธันวาคม 1950) เป็นนักแสดง ผู้ผลิตภาพยนตร์ และนักเขียนบทภาพยนตร์ชาวอินเดีย ผู้มีผลงานหลักอยู่ในวงการภาพยนตร์ภาษาทมิฬ เขาเป็นเจ้าของรางวัลหลายชิ้น เช่น นักแสดงชายยอดเยี่ยมรัฐทมิฬนาฑู และนักแดสงชายทมิฬยอมเยี่ยมฟิล์มแฟร์ รชินิกานต์ได้รับรางวัลเกียรติยศจากรัฐบาลอินเดียได้แก่ปัทมภูษานในปี 2000 และปัทมวิภูษานในปี 2016 เขาได้รับรางวัลเชวาเลียร์ ศิวาจี สำหรับความผลงานในวงการภาพยนตร์อินเดีย ในงานมอบรางวัลวิชัยครั้งที่ 4[5] ในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติอินเดีย ครั้งที่ 45 ในปี 2014 เขาได้รับ "รางวัลทศวรรษสำหรับบุคคลภาพยนตร์อินเดียแห่งปี" และในเทศกาลครั้งที่ 50 ในปี 2019 เขาได้รับรางวัลไอคอนออฟโกลบัลจูบิลี (Icon of Global Jubilee)[6] เขาเป็นนักแสดงชายที่มีรายได้สูงสุดในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ภาษาทมิฬเป็นอันดับสอง รองจาก เอ็ม จี รามจันทรัน[7]

เขาเดบิวต์ผลงานแสดงในละครภาษาทมิฬปี 1975 กำกับโดย เค บาลจันทระ เรื่อง อปูรวราคงคัล เขาเริ่มต้นงานในวงการแสดงด้วยบทบาทตัวร้ายในภาพยนตร์ภาษทมิฬหลายเรื่อง ภาพยนตร์ปี 1995 กำกับโดยสุเรศ กฤษณะ (Suresh Krissna) เรื่อง บาชฮา ซึ่งเขาเล่นเป็นหัวหน้ากลุ่มอาชญากรรม ถือเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญในแง่ธุรกิจของเขา และทำให้รชนีกฆานธ์ได้รับสถานะในทมิฬนาฑูเป็น "ราวกับพระเจ้า" (god-like)[8] ภาพยนตร์ปี 2007 เรื่อง ศิวาจี ที่เขาแสดงเป็นภาพยนตร์เรื่องที่สามของอินเดียที่ทำรายได้ทะลุหนึ่งพันล้านรูปี เขาเล่นบทบาทคู่ขนานเป็นนักวิทยาศาสตร์และหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ในภาพยนตร์ไซไฟเรื่อง Enthiran (2010) และภาคต่อ 2.0 (2018) ทั้งสองเรื่องเป็นภาพยนตร์อินเดียที่ต้นทุนผลิตสูงที่สุดในประวัติศาสตร์เมื่อขณะที่ปล่อยภาพยนตร์ และเป็นหนึ่งในภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงที่สุดของอินเดีย[c]

หมายเหตุ[แก้]

  1. มีการสะกดชื่อหลายแบบในรูปอักษรโรมัน เช่น Rajani Kant, Rajni Kanth, Rajanikanth และ Rajanikant[4]
  2. มีการสะกดชื่อหลายแบบในรูปอักษรโรมัน เช่น Gaikwad, Gaykwad, Gaikawad และ Gaykawad
  3. The film grossed 2.89 billion (approximately US$43 million) worldwide, surpassing Sivaji's collection of 1.55 billion (approximately US$24 million). As of June 2016, it remains the highest-grossing Tamil film.[9]

อ้างอิง[แก้]

  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ shivaji
  2. "Rajinikanth honoured with Dadasaheb Phalke award: 'I dedicate this award to my fans across around the world'". The Indian Express. 2 April 2021. สืบค้นเมื่อ 3 April 2021.
  3. "Rajinikanth gets Padma Vibhushan; Padma Shri for Priyanka, Ajay Devgn". The Indian Express. New Delhi. 26 January 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 October 2016. สืบค้นเมื่อ 8 December 2016.
  4. Ramachandran 2012, pp. 160–161.
  5. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :1
  6. "Rajinikanth to get Icon of Golden Jubilee Award at IFFI 2019, Thanks Government for the Honour". 2 November 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 November 2019. สืบค้นเมื่อ 4 November 2019.
  7. Subramanian, Anupama (18 January 2017). "Mass heroes still go the MGR way". Deccan Chronicle. สืบค้นเมื่อ 20 December 2020.
  8. "Rajinikanth's journey from being a conductor to becoming demi-god". The Indian Express. 23 May 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 January 2017. สืบค้นเมื่อ 5 June 2016.
  9. H Hooli, Shekhar (19 July 2015). "2nd Saturday Box Office Collection: Baahubali Beats Endhiran's Lifetime Record in 9 Days". International Business Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 January 2017. สืบค้นเมื่อ 6 June 2016.