ยูไนเต็ดเอ็กซ์เพรส เที่ยวบินที่ 3411

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยูไนเต็ดเอ็กซ์เพรส เที่ยวบินที่ 3411
สรุปOccurrence
วันที่9 เมษายน ค.ศ. 2017
สรุปใช้กำลังขับไล่ผู้โดยสาร
จุดเกิดเหตุท่าอากาศยานนานาชาติโอแฮร์, ชิคาโก, รัฐอิลลินอย
ประเภทอากาศยานEmbraer 170
ดําเนินการโดยริพับลิกแอร์ไลน์ ดำเนินกิจการในชื่อยูไนเต็ดเอ็กซ์เพรส
ทะเบียนN632RW
ต้นทางท่าอากาศยานนานาชาติโอแฮร์
ปลายทางท่าอากาศยานนานาชาติลุยส์วิลล์
ผู้โดยสาร70
บาดเจ็บ1

เมื่อวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 2017 เจ้าหน้าที่ตำรวจของท่าอากาศยานนานาชาติโอแฮร์ใช้กำลังขับไล่ เดวิด เต๋า ซึ่งเป็นผู้โดยสาร ให้ออกจากเครื่องของยูไนเต็ดเอ็กซ์เพรส เที่ยวบินที่ 3411 หลังจากที่เขาปฏิเสธการออกจากเครื่องตามความประสงค์ของผู้จัดการ เขาส่งเสียงร้องในขณะที่เจ้าหน้าที่ลากเขาออกจากที่นั่ง และใบหน้าของเขากระแทกกับพนักพิงที่นั่งระหว่างการขัดขืน เจ้าหน้าที่จับแขนของเต๋าแล้วลากตัวไปตามทางเดินในเครื่องบิน[1] ก่อนที่จะเผชิญหน้ากัน ผู้จัดการได้ยื่นข้อเสนอชดเชยให้สำหรับผู้โดยสารที่อาสาสละที่นั่ง ให้กับพนักงานสายการบินสี่คน ที่ต้องไปยังจุดหมายปลายทางคือท่าอากาศยานนานาชาติลุยส์วิลล์ แต่ไม่มีใครตอบรับ ผู้โดยสารสี่คนจึงถูกเลือกโดยไม่สมัครใจ ผู้โดยสารสามคนแรกยอมปฏิบัติตาม และเต๋า คือผู้ที่ถูกเลือกเป็นคนที่สี่

วิดีโออุบัติการณ์ดังกล่าวถูกบันทึกโดยผู้โดยสาร จนกลายเป็นไวรอลบนสื่อสังคมอย่างแพร่หลาย ส่งผลให้เกิดความไม่พอใจต่อยูไนเต็ดแอร์ไลน์อย่างรุนแรง (ยูไนเต็ดเอ็กซ์เพรสเป็นสายการบินในเครือยูไนเต็ดแอร์ไลน์ ซึ่งใช้ชื่อยี่ห้อและโลโก้ร่วมกัน) ผู้คนในสื่อสังคมจำนวนมากโดยเฉพาะในสหรัฐฯ จีน และเวียดนาม ได้เรียกร้องให้บอยคอตยูไนเต็ดแอร์ไลน์[2] และบางส่วนมองว่าการกระทำดังกล่าวต่อเดวิด เต๋า ซึ่งมีเชื้อสายจีนและเวียดนามนั้นอาจจะเป็นการเหยียดเชื้อชาติด้วย[3][4] นักการเมืองในสหรัฐฯ ได้เรียกร้องให้มีการตรวจสอบอย่างเป็นทางการ รวมไปถึงประธานาธิบดีสหรัฐ ดอนัลด์ ทรัมป์ ได้วิพากษ์วิจารณ์ถึงยูไนเต็ดแอร์ไลน์ ว่ามีการบริการลูกค้าได้ "แย่มาก"[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. Victor, Daniel; Stevens, Matt (April 10, 2017). "United Airlines Passenger Is Dragged From an Overbooked Flight". The New York Times. สืบค้นเมื่อ April 11, 2017.
  2. 2.0 2.1 Wise, Alana; Shepardson, David (April 12, 2017). "United won't use police to remove overbooked passengers -CEO". Reuters. สืบค้นเมื่อ April 12, 2017.
  3. Nguyen, Mai (April 12, 2016). "United Airlines incident sparks anger in Vietnam". Reuters. Global News. สืบค้นเมื่อ April 12, 2017.
  4. "After United Controversy, Chinese Social Media Users Express Outrage". Kimberly Yam. The Huffington Post. April 11, 2017.