ยุทธนาวีที่ทะเลฟิลิปปิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยุทธนาวีทะเลฟิลิปปิน
ส่วนหนึ่งของ สงครามมหาสมุทรแปซิฟิกในสงครามโลกครั้งที่สอง
Zuikaku and two destroyers under attack
เรือบรรทุกเครื่องบิน ซุยคาคุ (กลาง) และเรือพิฆาตอีก 2 ลำภายใต้การโจมตีจากเครื่องบินกองทัพเรือสหรัฐจากเรือบรรทุกเครื่องบิน 20 มิถุนายน ค.ศ. 1944
วันที่19–20 มิถุนายน ค.ศ. 1944
สถานที่
ผล สหรัฐได้ชัยชนะอย่างเด็ดขาด
คู่สงคราม
สหรัฐ กองเรือที่ 50 กองทัพเรือสหรัฐ ญี่ปุ่น กองเรือผสม กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
สหรัฐ เรย์มอนด์ เอ. สพรัวนซ์ จักรวรรดิญี่ปุ่น จิซะบุโร โอะซะวะ
จักรวรรดิญี่ปุ่น คะกุจิ คะกุตะ
กำลัง
เรือบรรทุกอากาศยานเคลื่อนที่เร็ว 7 ลำ
เรือบรรทุกอากาศยานเบา 8 ลำ
เรือประจัญบาน 7 ลำ
เรืออื่น 79 ลำ
เรือดำน้ำ 28 ลำ
เครื่องบิน 956 เครื่อง
เรือบรรทุกอากาศยานเคลื่อนที่เร็ว 5 ลำ
เรือบรรทุกอากาศยานเบา 4 ลำ
เรือประจัญบาน 5 ลำ
เรืออื่น 43 ลำ
เครื่องบินจากเรือบรรทุกเครื่องบิน 450 เครื่อง
เครื่องบินจากฐานทัพบนบก 300 เครื่อง
ความสูญเสีย
เครื่องบิน 123 เครื่อง (นักบินรอดตายประมาณ 80 คน) เรือบรรทุกอากาศยานจม 3 ลำ
เรือบรรทุกน้ำมันจม 2 ลำ
เครื่องบิน 600 เครื่อง
เรืออื่นเสียหายหนัก 6 ลำ

ยุทธนาวีทะเลฟิลิปปิน เป็นยุทธนาวีในสงครามโลกครั้งที่สอง และเป็นยุทธนาวีเรือบรรทุกอากาศยานครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ เป็นการสู้รบระหว่างสหรัฐอเมริกาและจักรวรรดิญี่ปุ่น เป็นส่วนหนึ่งของสงครามแปซิฟิก การรบเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 19–20 มิถุนายน ค.ศ. 1944 นอกชายฝั่งของหมู่เกาะมาเรียนาและยังเกี่ยวข้องกับสนามบินญี่ปุ่นบนแผ่นดิน การรบก่อเกิดความเสียหายต่อจักรวรรดิญี่ปุ่นโดยสูญเสียเรือบรรทุกอากาศยาน 3 ลำและเครื่องบิน 600 ลำซึ่งฝ่ายสหรัฐเรียกมันว่า Great Marianas Turkey Shoot ความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงน่าจะเกิดมาจากความล้าสมัยของเครื่องบินญี่ปุ่นและความขาดประสบการณ์ของนักบิน (นักบินที่มีประสบการณ์ส่วนใหญ่ตายในการทัพกัวดาลคาแนล ยุทธนาวีมิดเวย์ และการรบอื่น) ตรงกันข้ามกับกองทัพเรือสหรัฐฯที่มีเครื่องบินขับไล่ กรัมแมน F6F เฮลแคท อันทันสมัย นักบินได้รับการฝึกอย่างดีและมีประสบการณ์มาก และมีเรดาร์ตรวจสอบชี้ทางในการบินลาดตระเวนรบ

อ้างอิง[แก้]

  • Bryan III, Lt. Cmdr. J. Mission Beyond Darkness The story of USS Lexington's Air Group 16 June 20, 1944 attack on the Japanese carrier fleet as told by the men who flew that day (1945)
  • Buell, Thomas B. The Quiet Warrior: A Biography of Admiral Raymond A. Spruance (1987).
  • D'Albas, Andrieu (1965). Death of a Navy: Japanese Naval Action in World War II. Devin-Adair Pub. ISBN 0-8159-5302-X.
  • Dull, Paul S. (1978). A Battle History of the Imperial Japanese Navy, 1941–1945. Naval Institute Press. ISBN 0-87021-097-1.
  • Lacroix, Eric (1997). Japanese Cruisers of the Pacific War. Naval Institute Press. ISBN 0-87021-311-3. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  • Morison, Samuel Eliot, New Guinea and the Marianas, March 1944–August 1944, vol. 8 of History of United States Naval Operations in World War II (1950).
  • Smith, Douglas V. (2006). Carrier Battles: Command Decision in Harm's Way. US Naval Institute Press. ISBN 1591147948.
  • Tillman, Barrett, (2006) Clash of the Carriers: The True Story of the Marianas Turkey Shoot of World War II.
  • Y'Blood, William T. (1981). Red Sun Setting: The Battle of the Philippine Sea. Annapolis, Maryland: US Naval Institute Press. ISBN 1-59114-994-0.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]