ขอมสบาดโขลญลำพง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ยุทธการยึดสุโขทัย)
ขอมสบาญโขลญลำพง
พระมหากษัตริย์สุโขทัย
(พิพาท)
ครองราชย์พ.ศ. 1724 – 1780 (56 ปี)
ก่อนหน้าพ่อขุนศรีนาวนำถุม
ถัดไปพ่อขุนศรีอินทราทิตย์

ขอมสบาดโขลญลำพง ตามเรื่องราวในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 2 กล่าวว่า เป็นนายทหารขอมที่ได้นำกำลังเข้ายึดเมืองสุโขทัย[1] ภายหลังพ่อขุนศรีนาวนำถุมสวรรคต โดยระยะเวลาในการมีอำนาจการปกครองกรุงสุโขทัยของขอมสบาดโขลญลำพงยังไม่เป็นที่ชัดเจนในปัจจุบัน อาจเป็นไปได้ว่าขอมสบาดโขลญลำพงมีความสัมพันธ์เป็นเครือญาติของตระกูลพ่อขุนศรีนาวนำถุม แต่ยอมรับอำนาจอิทธิพลของขอม-ละโว้

ยุทธการยึดสุโขทัย[แก้]

จนกระทั่งในปี พ.ศ. 1781 ขอมสบาดโขลญลำพง ถูกพ่อขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง และพ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด ซึ่งเป็นสหายสนิทกันและมีสายสัมพันธ์ทางเครือญาติได้ร่วมกันยึดอำนาจการปกครองดินแดนสุโขทัยได้ในที่สุด ต่อมาพ่อขุนผาเมืองได้นำกองทัพออกจากสุโขทัย เพื่อให้พ่อขุนบางกลางหาวได้ขึ้นครองราชเป็นกษัตริย์สุโขทัย พร้อมทั้งมอบพระแสงขรรค์ชัยศรี และเฉลิมพระนามให้เป็นเกียรติแก่พ่อขุนบางกลางหาวว่า "ศรีอินทรบดินทราทิตย์" แต่สุดท้ายพ่อขุนบางกลางหาวทรงใช้พระนามว่า "พ่อขุนศรีอินทราทิตย์" ซึ่งเป็นต้นราชวงศ์พระร่วงแห่งกรุงสุโขทัย[2][3]

งานวิจัย[แก้]

ศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ ได้ให้ความหมายของคำว่า "ขอมสบาด" แปลว่าเขมรดง ส่วน "โขลญลำพง" คือคำสำหรับเรียกคนทำงานประจำเทวสถานหรือวัดวาอาราม[4]

นอกจากนี้เรื่องราวเกี่ยวกับขอมสบาดโขลญลำพงยังคงเป็นที่คลุมเครือเนื่องจากมีการกล่าวถึงชื่อนี้เฉพาะในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 2 เท่านั้น เป็นหลักฐานอ้างอิงเพียงชิ้นเดียว (รวมทั้งชื่อของพ่อขุนศรีนาวนำถมและพ่อขุนผาเมืองด้วย)

อ้างอิง[แก้]

  1. ขจร สุขพานิช, หน้า 58.
  2. ขจร สุขพานิช, หน้า 56–57.
  3. ดนัย ไชยโยธา (2003). ประวัติศาสตร์ไทย: ยุคก่อนประวัติศาสตร์ถึงสิ้นอาณาจักรสุโขทัย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์. p. 78. ISBN 9742760853.
  4. "จารึกวัดศรีชุม ด้านที่ ๑". ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). 9 กรกฎาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2021.

บรรณานุกรม[แก้]



รัชสมัยก่อนหน้า ขอมสบาดโขลญลำพง รัชสมัยถัดไป
พ่อขุนศรีนาวนำถุม ไม่ทราบ
(ไม่ทราบปี)
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
ราชวงศ์พระร่วง (ไม่ทราบ)