ยุทธการบนน้ำแข็ง
ยุทธการบนน้ำแข็ง | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามครูเสดตอนเหนือ | |||||||
การพรรณาถึงยุทธการบนน้ำแข็ง ในเอกสารตัวเขียนสีวิจิตร Life of Alexander Nevsky ช่วงปลายศตวรรษที่ 16 | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
แฮร์มันน์แห่งดอร์ปัต | |||||||
กำลัง | |||||||
15,000-17,000[1] | 10,000-12,000[2] | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
ไม่แน่ชัด |
บันทึกลิโวเนีย:
บันทึกนอฟโกรอด:
|
ยุทธการบนน้ำแข็ง เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 5 เมษายน ค.ศ. 1242 เป็นการสู้รบระหว่างสาธารณรัฐนอฟโกรอดกับนักรบครูเสดที่นำโดยภาคีลิโวเนีย ยุทธการครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของสงครามครูเสดตอนเหนือ และเป็นที่รู้จักจากการสู้รบบนทะเลสาบไปปัสที่เป็นน้ำแข็ง
สงครามครูเสดตอนเหนือเป็นการทัพของนักรบครูเสดต่อผู้นับถือลัทธินอกศาสนาในดินแดนบอลติก[4] ในปี ค.ศ. 1236 สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 9 ประกาศสงครามกับชาวสลาฟ โดยเฉพาะสาธารณรัฐปัสคอฟและสาธารณรัฐนอฟโกรอด แต่ในปีเดียวกัน อัศวินภราดรภาพลิโวเนียแห่งดาบพ่ายให้กับชาวสโมจิเทียในยุทธการที่ซัลเลอ ความพ่ายแพ้ดังกล่าวทำให้ภราดรภาพลิโวเนียกลายสภาพเป็นส่วนหนึ่งของอัศวินทิวทอนิกและกลายเป็นภาคีลิโวเนีย ในปี ค.ศ. 1240 อัศวินทิวทอนิกตีเมืองปัสคอฟ อิสบอสก์และโคปอรีย์ ซึ่งเป็นเมืองที่อยู่ใกล้กับนอฟโกรอด ด้านนอฟโกรอดเรียกตัวอเล็กซานเดอร์ เนฟสกีที่ถูกเนรเทศให้กลับมาปกป้องเมือง อเล็กซานเดอร์ยึดเมืองปัสคอฟและโคปอรีย์คืนได้ในปีต่อมา
ฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1242 อัศวินทิวทอนิกปะทะกับทัพอเล็กซานเดอร์ใกล้เมืองดอร์ปัต (เมืองตาร์ตูในปัจจุบัน) อเล็กซานเดอร์ตัดสินใจถอยทัพไปที่ฝั่งตะวันออกของทะเลสาบไปปัส โดยมีทัพลิโวเนียตามมา การประมาณการขั้นต่ำของทัพลิโวเนียอยู่ที่ 2,600 คน ส่วนใหญ่เป็นอัศวินเยอรมัน-เดนมาร์กและทหารราบเอสโตเนีย ในขณะที่ทัพอเล็กซานเดอร์อยู่ที่ 5,000 คน[5] การสู้รบเริ่มขึ้นเมื่อทัพลิโวเนียซึ่งมีอัศวินเป็นทัพหน้าเป็นฝ่ายบุกเข้าหา ในช่วงเวลาที่ทั้งสองฝ่ายสู้กันในระยะประชิด อเล็กซานเดอร์และอันเดรย์ ยาโรสลาวิช น้องชายที่ตั้งทัพอยู่ที่ปีกทั้งสองข้างเข้าล้อมทัพลิโวเนีย การสู้รบจบลงเมื่อทัพลิโวเนียบางส่วนฝ่าวงล้อมและหลบหนี ในขณะที่บางส่วนที่กำลังรบติดพันอยู่ถูกสังหาร
ผลของยุทธการครั้งนี้ทำให้การขยายดินแดนทางตะวันออกของอัศวินทิวทอนิกสิ้นสุดลง[6] และเกิดพรมแดนถาวรระหว่างดินแดนที่นับถือนิกายโรมันคาทอลิกกับอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์[7] ในปี ค.ศ. 1574 คริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์ประกาศในอเล็กซานเดอร์เป็นนักบุญ[8] เหตุการณ์ยุทธการบนน้ำแข็งได้รับการสร้างเป็นภาพยนตร์ในปี ค.ศ. 1938 ในชื่อ อะเลคซันดร์ เนฟสกี กำกับโดยเซียร์เกย์ ไอเซนสไตน์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Histoire Russe." Volume 33. University Center for International Studies, University of Pittsburgh, 2006. Page 300.
- ↑ "Histoire Russe." Volume 33. University Center for International Studies, University of Pittsburgh, 2006. Page 300.
- ↑ The Chronicle of Novgorod (PDF). London. 1914. p. 87.
- ↑ "Northern Crusades". Ancient History Encyclopedia. สืบค้นเมื่อ December 19, 2018.
- ↑ Nicolle, David (1996). Lake Peipus 1242: Battle of the Ice. Osprey Publishing. p. 41. ISBN 9781855325531.
- ↑ Riley-Smith Jonathan Simon Christopher.The Crusades: a History, USA, 1987,ISBN 0-300-10128-7, p.198.
- ↑ Hosking, Geoffrey A..Russia and the Russians: a history, USA, 2001, ISBN 0-674-00473-6, p.65.
- ↑ "Saint Alexander Nevsky". Britannica.com. สืบค้นเมื่อ December 19, 2018.