ยุทธการที่โอลด์เชิร์ช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยุทธการโอลด์เชิร์ช
ส่วนหนึ่งของ สงครามกลางเมืองอเมริกัน
วันที่30 พฤษภาคม, ค.ศ. 1864
สถานที่
ผล สหรัฐชนะศึก
คู่สงคราม
สหรัฐ สหรัฐอเมริกา สมาพันธรัฐอเมริกา
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
สหรัฐอัลเฟร็ด ทอร์เบิร์ต แมทธิว ซี. บัทเลอร์
ความสูญเสีย
90 นาย 188 นาย

ยุทธการโอลด์เชิร์ช (อังกฤษ: Battle of Old Church) หรือยุทธการมาตาเดควินครีก (Battle of Matadequin Creek) คือการรบในยุทธนาการโอเวอร์แลนด์ของนายพลฝ่ายสหรัฐพลเอกยูลิซิส แกรนท์ ที่รบกับกองทัพแห่งเวอร์จิเนียตอนเหนือของนายพลฝ่ายสหพันธ์ พลเอกโรเบิร์ต ลี

ในขณะนั้นกองทัพฝ่ายสหรัฐกำลังรุกคืบเข้าไปในแนวรบโตโตโปโตมอยครีก, ในขณะเดียวกันกองทหารม้าของนายพลฝ่ายสหรัฐ พลตรีฟิลลิป เชอริแดนเริ่มที่จะสำรวจไปทางทิศตะวันออกและทิศใต้ ต่อมากองพันทหารม้าเพนซิลวาเนียหน่วยที่ 17, ภายใต้การควบคุมของนายพลฝ่ายสหพันธรัฐ พันเอกโทมัส ซี. เดวิน เคลื่อนกำลังจากตัวเมืองโอลด์ เชิร์ชเพื่อสำรวจตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ตามแนวรบบึงมาตาเดควิน ซึ่งให้ความสามารถในการป้องกันการโจมตีได้ดีกว่า เนื่องจากเขาเห็นความสำคัญทางยุทธศาสตร์ของถนนที่ตัดผ่านเมืองโอลด์ โคลด์ ฮาร์เบอร์ ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองริชมอนด์เพียงหกไมล์ (9.6 กิโลเมตร) , ในขณะเดียวกัน นายพลฝ่ายสหพันธ์ พลเอกลีส่งสาส์นไปยังกองพลน้อยซึ่งประกอบไปด้วยทหารจำนวน 2,000 นายของพลจัตวาแมทธิว ซี. บัทเลอร์ที่อยู่ทางเหนือของเมืองโคลด์ ฮาร์เบอร์โดยในสาส์นได้แจ้งกำหนดการโจมตีถนนตัดตัวเมือง

และในวันที่ 30 พฤษภาคม, กองพลน้อยของบัทเลอร์ก็เคลื่อนทัพมาจนถึงถนนตัดผ่านเมือง และทำการดันกองพันทหารม้าเพนซิลวาเนียให้ถอยหนี แม้ว่าจะมีกองพันทหารม้าฝ่ายสหรัฐอีกสองกองพันถูกส่งเข้ามาเพื่อยึดจุดถนนตัดผ่านเมืองคืน, จนกระทั่งกองพลน้อยขนาดใหญ่ของฝ่ายสหพันธ์มาถึงตำแหน่งการรบ, ฝ่ายสหพันธ์จึงสามารถตีทหารฝ่ายสหรัฐให้ถอยทัพได้ ซึ่งหลังจากนั้นนายพลเดวินของฝ่ายสหพันธ์จึงสั่งให้กองพลน้อยของเขาทั้งหมด รวมทั้งกองพลสำรองที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของพลจัตวาเวสลีย์ เมอร์ริตต์และอีกสองกองพลเพิ่มเติมที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของพลจัตวาจอร์จ อาร์มสตรอง คัสเตอร์ด้วย ซึ่งทำให้ผู้บังคับบัญชากองพลใหญ่ พลจัตวาอัลเฟร็ด ทอร์เบิร์ต ของฝ่ายสหรัฐสั่งให้ทั้งกองพลของเขาทำเช่นเดียวกันกับฝ่ายตรงข้าม ทำให้การรบครั้งนี้ปราศจากกลยุทธ์ใดๆ นอกจากการประจัญหน้าเข้าหากัน, แต่ฝ่ายสหรัฐมีความได้เปรียบจากการที่มีปืนยาวแบบบรรจุได้หลายนัดอยู่ ในขณะที่ฝ่ายสหพันธ์ไม่มี อีกทั้งยังมีจำนวนมากกว่า จึงทำให้กองพันทหารม้าของฝ่ายสหพันธ์แตกพ่ายและถอยทัพไปยังเมืองโคลด์ ฮาร์เบอร์ โดยที่ยังมีทหารฝ่ายสหรัฐไล่ตามมาถึงเมือง โดยค้างแรมอยู่ห่างจากเมืองอยู่ 1.5 ไมล์ (2.4 กิโลเมตร)

การรบครั้งนี้ทำให้นายพลเชอริแดนสามารถยึดถนนสายสำคัญได้ในวันถัดมา, และทำให้เกิดการรบนองเลือดขึ้น ซึ่งก็คือยุทธการโคลด์ฮาร์เบอร์

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]