ข้ามไปเนื้อหา

ยุทธการที่อิสซัส

พิกัด: 36°50′16″N 36°12′40″E / 36.837894°N 36.211109°E / 36.837894; 36.211109
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยุทธการที่อิสซัส
ส่วนหนึ่งของ สงครามพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช

ยุทธการที่อิสซัส ภาพจากงานโมเสกอเล็กซานเดอร์
พิพิธภัณฑ์โบราณคดีแห่งชาติ เนเปิลส์
วันที่5 พฤศจิกายน 333 ปีก่อนคริสกาล
สถานที่
อิสซัส, จักรวรรดิอะคีเมนิด (ปัจจุบันอยู่ในประเทศตุรกี)
ผล มาซิดอนชนะ
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
อเล็กซานเดอร์ครอบครองอานาโตเลียใต้
คู่สงคราม
ราชอาณาจักรมาเกโดนีอา
สันนิบาตคอรินธ์
จักรวรรดิอะคีเมนิด
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
อเล็กซานเดอร์มหาราช
พาร์มีเนียน
เฮฟีสเทียน
ทอเลมี
พระเจ้าดาไรอัสที่ 3
อาร์เซมีส 
รีโอมิธีส 
อทิไซเอส 
กำลัง
เพลทาสต์ 13,000 นาย[1]
ทหารราบหนัก 22,000 นาย[2]
ทหารม้า 5,850 นาย[2]
รวม: 40,850 นาย

ทหารราบเบา 30,000–80,000 นาย[3] [4]
ทหารม้า 11,000 นาย[2]
กองทัพอมตะ 10,000 นาย
ทหารรับจ้างกรีก 10,000 นาย[5]

รวม: 50,000–60,000 นาย[6] (แหล่งข้อมูลสมัยใหม่)
250,000–600,000 นาย (แหล่งข้อมูลโบราณ)
ความสูญเสีย
เสียชีวิต 452 นาย
บาดเจ็บ 5,000 นาย[7][8]
เสียชีวิตและบาดเจ็บ ~20,000-40,000 นาย[8]

ยุทธการที่อิสซัส เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 333 ปีก่อนคริสตกาล เป็นการสู้รบระหว่างสันนิบาตคอรินธ์ นำโดยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชกับจักรวรรดิอะคีเมนิดของพระเจ้าดาไรอัสที่ 3 ยุทธการครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของสงครามพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช สนามรบอยู่ใกล้กับเมืองอิสเคนเดอรุน ประเทศตุรกีในปัจจุบัน

กองทัพอเล็กซานเดอร์เดินทัพมาที่ทวีปเอเชียในปี 334 ก่อนคริสตกาลและเอาชนะเซแทร็ปเปอร์เซียในยุทธการที่แม่น้ำกราไนคัส ทำให้พระองค์ครอบครองครึ่งหนึ่งของอานาโตเลีย[9] พระเจ้าดาไรอัสที่ 3 จึงเรียกระดมพลในบาบิโลนเพื่อยึดอ่าวอิสซัส ซึ่งการยึดอ่าวนี้จะทำให้พระองค์ใช้ประโยชน์จากกองเรือได้ ดาไรอัสเดินทัพตลบหลังทัพมาซิดอนก่อนจะยึดเมืองอิสซัสที่อเล็กซานเดอร์เคยยึดครอง อเล็กซานเดอร์จึงเดินทัพย้อนกลับเพื่อไปพบกับทัพเปอร์เซียที่แม่น้ำพินารัส[10] การสู้รบเริ่มขึ้นเมื่อทหารม้าเปอร์เซียข้ามแม่น้ำมาปะทะกับทหารม้าเทสซาลีของมาซิดอน อเล็กซานเดอร์ส่งทหารราบที่อยู่ตรงกลางข้ามแม่น้ำด้วยรูปขบวนแฟแลงซ์เข้าโจมตีทหารรับจ้างกรีกและกองทัพอมตะ (Immortals) ก่อนจะใช้ทหารม้าคอมพาเนียนผลักดันทัพเปอร์เซียฝั่งซ้ายจนถอยร่นแล้วตีโอบเข้าตรงกลางและด้านหลังที่ดาไรอัสประทับอยู่[11] การสู้รบจบลงเมื่อดาไรอัสตัดสินใจหลบหนีหลังพบว่าทัพของพระองค์ถูกบดขยี้ทั้งจากขบวนทัพแฟแลงซ์ด้านหน้าและทหารม้ามาซิดอนด้านหลัง[12]

หลังการสู้รบ อเล็กซานเดอร์จับตัวพระราชวงศ์ของดาไรอัสไว้ได้ก่อนจะอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงบาร์ซิน พระธิดาของดาไรอัส ชัยชนะของอเล็กซานเดอร์ในครั้งนี้ทำให้พระองค์ได้ครอบครองตอนใต้ของอานาโตเลีย ด้านดาไรอัสที่หลบหนีพยายามขอเจรจากับอเล็กซานเดอร์แต่ถูกปฏิเสธ อเล็กซานเดอร์และดาไรอัสสู้รบกันอีกครั้งในยุทธการที่กอกามีลาในอีกสองปีต่อมา

อ้างอิง

[แก้]
  1. Warry (1998) estimates Alexander's army to be 31,000 in total.[ต้องการเลขหน้า]
  2. 2.0 2.1 2.2 Moerbeek (1997).[ต้องการเลขหน้า]
  3. https://books.google.de/books?id=NECnIjWtIMEC&pg=PA241&lpg=PA241&dq=peltasts+ionia&source=bl&ots=g4Ng9S_6iC&sig=Jd8l5onclpgSsq8auD-
  4. "pothos.org - Major Battles". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 October 2007. สืบค้นเมื่อ 19 August 2016.
  5. Welman.
  6. Clark, Jessica H.; Turner, Brian (2017). Brill’s Companion to Military Defeat in Ancient Mediterranean Society (ภาษาอังกฤษ). BRILL. p. 78. ISBN 9789004355774. สืบค้นเมื่อ 30 August 2019.
  7. Curtius Rufus also tells that, except for about 4,500 wounded, 150 Macedonians were killed in action, and 302 were missing. This means that the army had lost about one tenth of its strength.
  8. 8.0 8.1 Barry Potter (September 30, 2018). "Battle of Gaugamela: Alexander Versus Darius". HistoryNet. สืบค้นเมื่อ August 18, 2019.
  9. "Issus (333 BCE)". Livius.org. สืบค้นเมื่อ November 6, 2018.
  10. "The Battle at Issus". ThoughtCo. สืบค้นเมื่อ November 6, 2018.
  11. "Battle of Issus". Ancient History Encyclopedia. สืบค้นเมื่อ November 6, 2018.
  12. "Battle of Issus". Britannica.com. สืบค้นเมื่อ November 6, 2018.

36°50′16″N 36°12′40″E / 36.837894°N 36.211109°E / 36.837894; 36.211109