ยุทธการที่สะพาน
ยุทธการที่สะพาน ยุทธการอัลญิสร์ | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ การพิชิตจักรวรรดิเปอร์เซียโดยมุสลิม – การรุกรานเมโสโปเตเมียครั้งที่ 2 | |||||||
![]() สงครามเกิดขึ้นที่ริมฝั่งแม่น้ำยูเฟรติส | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
รัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดูน | จักรวรรดิซาเซเนียน | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
อะบู อุบัยด์ อัษษะเกาะฟี † อัลฮะกัม อัษษะเกาะฟี †[3] ญับร์ อิบน์ อะบี อุบัยด์ †[3] อัลมุษันนา (ได้รับบาดเจ็บในขณะปฎิบัติหน้าที่)[4] |
แบฮ์แมน จอดูแยฮ์ ญาลีนูส | ||||||
กำลัง | |||||||
6,000–10,000 นาย[5][6] | 10,000 นาย[7] | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
ถูกฆ่า 6,000–7,000 นาย จมน้ำหรือหนีไป 3,000 นาย[8] | ไม่ทราบ |
ยุทธการที่สะพาน หรือ ยุทธการอัลญิสร์ (อาหรับ: معركة الجسر; เปอร์เซีย: نبرد پل) สู้กันที่ริมฝั่งแม่น้ำยูเฟรติสระหว่างทัพอาหรับมุสลิมที่นำโดยอะบู อุบัยด์ อัษษะเกาะฟีกับทัพซาเซเนียนเปอร์เซียที่นำโดยแบฮ์แมน จอดูแยฮ์ โดยทั่วไปจัดว่าเกิดใน ค.ศ. 634 และเป็นสงครามเดียวที่ฝ่ายซาเซเนียนเอาชนะกองทัพเคาะลีฟะฮ์รอชิดูน
เนื้อหา
[แก้]กองทัพมุสลิมเข้ายึดอัลฮีเราะฮ์แล้ว และเข้าควบคุมพื้นที่โดยรอบที่ชาวอาหรับอาศัยอยู่ในเมโสโปเตเมียที่ริมฝั่งแม่น้ำยูเฟรติส[9] การยึดอัลฮีเราะฮ์ทำให้ชาวเปอร์เซียตกตะลึง เพราะ "ยัซเดเกิร์ดผู้ทรงพระเยาว์เริ่มเอาจริงเอาจังกับกิจการของชาวอาหรับมากขึ้น"[9] ยัซเดเกิร์ดส่องกองกำลังไปยังพื้นที่ชายแดนอาหรับ และดูเหมือนจะได้เปรียบ เพราะอัลมุษันนาจำเป็นต้องเรียกกำลังเสริมจากมะดีนะฮ์[9]
อุมัร เคาะลีฟะฮ์องค์ใหม่ ส่งอะบู อุบัยด์ไปเมโสโปเตเมียเพื่อรับคำสั่งจากอัลมุษันนา เขาเผชิญหน้ากับกองกำลังหลักของเปอร์เซียภายใต้การนำของแบฮ์แมน จอดูแยฮ์ใกล้กับที่ตั้งของกูฟะฮ์ในปัจจุบัน กองกำลังทั้งสองเผชิญหน้ากันบนแต่ละฝั่งของแม่น้ำยูเฟรติส เนื่องจากมีสะพานข้าม การสู้รบครั้งนี้จึงถูกเรียกว่า ยุทธการที่สะพาน[9]
สงคราม
[แก้]แบฮ์แมนเชิญอะบู อุบัยด์ให้ตัดสินว่าใครควรข้ามแม่น้ำ[6] อุบัยด์เลือกตนเป็นผู้ริเริ่มแล้วข้ามแม่น้ำอย่างอุกอาจ ซึ่งกลายเป็นหายนะสำหรับกองกำลังของเขา ตามแหล่งข้อมูล การเห็นช้างในกองทัพเปอร์เซียทำให้ม้าของชาวอาหรับหวาดกลัว อนึ่ง ปรากฏว่าช้างเผือกดึงตัวอะบู อุบัยด์ออกจากหลังม้าด้วยงวง และเหยียบย่ำเขาขณะพยายามโจมตีงวงช้างอย่างเข้าใจผิด การเสียชีวิตของผู้บัญชาการและการไม่สามารถทำกองทัพเปอร์เซียที่ตั้งแนวไว้ใกล้กับสะพานให้ถอยไปได้ เหตุทั้งสองทำให้ชาวอาหรับตกใจและหนีไป[9][6] จากนั้นผู้ที่บัญชาการการทัพต่อคืออัลฮะกัมและญับร์ พี่/น้องชายและบุตรตามลำดับ และท้ายที่สุดนำโดยอัลมุษันนา[3] ตามธรรมเนียม อัลมุษันนายังคงสู้รบต่อไป เพื่อให้ชาวอาหรับสามารถซ่อมแซมสะพานและหลบหนี โดยสูญเสียทหารไป 4,000 นาย แม้ว่าจะไม่มีการประมาณตัวเลขที่แม่นยำเกี่ยวกับจำนวนผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสู้รบครั้งนี้และการสู้รบอื่น ๆ ในยุคเดียวกันก็ตาม[9] มุสลิมชาวอาหรับประมาณ 3,000 นายถูกพัดพาไปตามแม่น้ำ[10]
แหล่งข้อมูลยอมรับกันว่าด้วยเหตุผลบางประการ แบฮ์แมน จอดูแยฮ์ไม่ได้ไล่ตามกองทัพอาหรับที่กำลังหลบหนี[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 electricpulp.com. "ʿARAB ii. Arab conquest of Iran – Encyclopaedia Iranica". www.iranicaonline.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-07-19.
Ambushing Abū ʿObayd from the opposite bank of the Euphrates, the Persians inflicted a disastrous defeat on the Muslim forces at the Battle of the Bridge in Šaʿbān, 13/October, 634.
- ↑ Brown, Daniel W. (2011-08-24). A New Introduction to Islam (ภาษาอังกฤษ). John Wiley & Sons. p. 107. ISBN 9781444357721.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Al Biladuri 2011, p. 404.
- ↑ al-Tabari 1993, p. 193.
- ↑ al-Tabari 1993, p. 188.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 Nafziger & Walton 2003, p. 22.
- ↑ Ancient Persia page 360
- ↑ Ancient Persia page 360 & 361
- ↑ 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 9.5 9.6 Frye 1975, p. 8-9.
- ↑ Crawford 2013, p. 134.
ข้อมูล
[แก้]- Pirnia, Hassan (2020). Ancient Persia. Parse.
- Al Biladuri, Ahmad Bin Yahya Bin Jabir (2011). The Origins of the Islamic State: Being a Translation from the Arabic. แปลโดย Hitti, Philip Khuri. Cosimo Classics.
- al-Tabari, Muhammad ibn Yarir (1993). he History of al-Tabari Vol. 11: The Challenge to the Empires A.D. 633-635. แปลโดย Blankinship, Khalid Yahya. State University of New York Press.
- Crawford, Peter (2013). The War of the Three Gods: Romans, Persians and the Rise of Islam. Pen & Sword.
- Frye, Richard Nelson (1975). The Cambridge History of Iran: The period from the Arab invasion to the Saljuqs. Cambridge University Press.
- Nafziger, George F.; Walton, Mark W. (2003). Islam at War: A History. Praeger.
- Pourshariati, Parvenah (2011). Decline and Fall of the Sasanian Empire. I.B.Taurus & Co.Ltd.