ยุทธการที่ช่องเขากัสรีน
ยุทธการที่ช่องเขากัสรีน | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ การทัพตูนิเซียในสงครามโลกครั้งที่สอง | |||||||
ทหารจากกองพันที่ 2, กรมทหารราบที่ 16 ในกองพลทหารราบสหรัฐที่ 1 ได้เคลื่อนพลผ่านช่องเขากัสรีนและไปยังกัสรีนและฟารียานาในตูนิเซีย 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1943 | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
สหรัฐ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศสเสรี |
ไรช์เยอรมัน อิตาลี | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
Lloyd Fredendall Kenneth Anderson | แอร์วีน ร็อมเมิล | ||||||
กำลัง | |||||||
30,000[1] | 22,000[1] |
ยุทธการที่ช่องเขากัสรีน เป็นการรบในการทัพตูนิเซียในสงครามโลกครั้งที่สอง เกิดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1943 ช่องเขากัสรีนเป็นช่องเขากว้างประมาณ 3 ไมล์ (3.2 กิโลเมตร) ในทิวเขาแกรนด์ดอร์ซัลของเทือกเขาแอตลาส ทางตอนกลาง-ตะวันตกของตูนิเซีย
กองทัพฝ่ายอักษะภายใต้การนำของจอมพลไรช์ แอร์วีน ร็อมเมิล ส่วนใหญ่มาจากกลุ่มกองกำลังจู่โจมกองทัพน้อยแอฟริกา ส่วนที่เหลือของกองพลยานเกราะเชนเตาโรของอิตาลีและสองกองพลพันเซอร์ที่ถูกแบ่งแยกออกจากกองทัพยานเกราะที่ 5 ในขณะที่กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรประกอบไปด้วยกองทัพน้อยสหรัฐที่ 2 (พลตรี ลอยด์ เฟรเดนดอล)[2] กองพลยานเกราะที่ 6 ของสหราชอาณาจักร (พลตรี ชาลส์ คีตลีย์) และอีกส่วนของกองทัพที่ 1 (ร้อยโท เคนเนธ แอนเดอร์สัน)
การสู้รบครั้งนี้เป็นการสู้รบครั้งสำคัญครั้งแรกระหว่างกองทัพอเมริกันกับกองทัพฝ่ายอักษะในแอฟริกา ด้วยความไร้ประสบการณ์และการนำที่ไม่ดีพอ ทหารอเมริกันจึงประสบความสูญเสียอย่างมากและถูกผลักดันกลับอย่างรวดเร็วกว่า 50 ไมล์ (80 กิโลเมตร) จากตำแหน่งของพวกเขาทางด้านตะวันตกของช่องเขาฟาอีด ผลลัพธ์ครั้งนี้ได้ยืนยันการคาดการณ์ของวินสตัน เชอร์ชิล ผู้ซึ่งเรียกร้องอย่างแข็งขันว่าการบุกของฝรั่งเศสตามที่ได้กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการไล่ต้อน (Operation Roundup) ปี ค.ศ. 1942 จะต้องล่าช้าออกไปจนกว่าพันธมิตรจะสามารถสนับสนุนได้ ซึ่งจะทำให้ทหารอเมริกันมีเวลามากขึ้นในการเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์จริงของสงครามกับทหารเยอรมันและอิตาลีที่มีประสบการณ์และอุปกรณ์ที่เพียบพร้อมอย่างดี
หลังจากความปราชัยช่วงแรก ส่วนที่เหลือของกองทัพน้อยสหรัฐที่ 2 พร้อมกับกองกำลังเสริมของสหราชอาณาจักรได้รวบรวมและออกจากช่องทางภูเขาทางตะวันตกของตูนิเซีย จากผลลัพธ์ของการรบครั้งนี้นี้ กองทัพสหรัฐได้ริเริ่มเปลี่ยนแปลงจัดตั้งระเบียบใหม่ในหน่วยกองทัพและโยกย้ายเปลี่ยนแปลงผู้บัญชาการและอุปกรณ์บางประเภท
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Rottmann, p. 74.
- ↑ Hickman, Kennedy. "World War II: Battle of Kasserine Pass – North Africa". Militaryhistory.about.com. สืบค้นเมื่อ 2016-07-31.