ข้ามไปเนื้อหา

ยุทธการกระทะเหล็ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยุทธการกระทะเหล็ก
ประเภทแข่งขันทำอาหาร
เสนอโดยทาเคชิ คากะ
เคนจิ โฟคุอิ
ยูกีโตะ ฮาโตริ
ผู้ประพันธ์ดนตรีแก่นเรื่องฮานส์ ซิมเมอร์
ประเทศแหล่งกำเนิดญี่ปุ่น ประเทศญี่ปุ่น
ภาษาต้นฉบับญี่ปุ่น
จำนวนตอน309
การผลิต
กล้องMulti-camera
ความยาวตอน30 นาที (1993-1994)
45 นาที (1994-1999)
ออกอากาศ
เครือข่ายสถานีโทรทัศน์ฟูจิ
ออกอากาศ10 ตุลาคม 2536 –
24 กันยายน 2542
ยุทธการกระทะเหล็ก
ประเภทแข่งขันทำอาหาร
เสนอโดยฮิโรชิ ทามากิ
มิซูกิ ซาโนะ
ยูกีโตะ ฮาโตริ
ผู้ประพันธ์ดนตรีแก่นเรื่องอากิระ เซ็นจู
ประเทศแหล่งกำเนิดญี่ปุ่น ประเทศญี่ปุ่น
ภาษาต้นฉบับญี่ปุ่น
จำนวนตอน12 + (พิเศษ 2)
การผลิต
กล้องMulti-camera
ความยาวตอน1 ชั่วโมง
ออกอากาศ
เครือข่ายสถานีโทรทัศน์ฟูจิ
ออกอากาศ26 ตุลาคม 2555 –
22 มีนาคม 2556

ยุทธการกระทะเหล็ก (ญี่ปุ่น: 料理の鉄人โรมาจิRyōri no Tetsujin) หรือในชื่อภาษาอังกฤษว่า ไอรอนเชฟ (Iron Chef) เป็นรายการเกมโชว์แข่งทำอาหารผลิตโดยสถานีโทรทัศน์ฟูจิ ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1993 จบลงเมื่อวันที่ 24 กันยายน ค.ศ. 1999 และกลับมาออกอากาศใหม่อีกครั้งเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 2012 หลังจากได้ยุติรายการไปกว่า 13 ปีโดยใช้ชื่อรายการให้เป็นอย่างสากลที่ส่วนใหญ่รู้จัก นั่นก็คือ เชฟกระทะเหล็ก (Iron Chef) เป็นตัวอักษร คะตะกะนะ (ญี่ปุ่น: アイアンシェフโรมาจิIron Chef Yomigaeru) โดยจะผลิตออกมาให้รองรับในแบบสากล พร้อมทุกอย่างที่จะกำกับไปด้วยทั้งภาษาญี่ปุ่นและภาษาอังกฤษ

ในส่วนฉบับของประเทศไทยซึ่งได้ซื้อลิขสิทธิ์มาทำเป็นของตนเองในชื่อ "ยุทธภูมิกระทะเหล็ก" เช่นเดียวกัน ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ในช่วงปี พ.ศ. 2539-2543 แต่ไม่ได้คงรูปแบบเหมือนต้นฉบับมากนักและไม่เป็นที่แพร่หลายนัก จนกระทั่งมีการซื้อลิขสิทธิ์อีกครั้งและทำรูปแบบเหมือนกับทางต้นฉบับที่ประเทศญี่ปุ่น โดยเริ่มออกอากาศวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555 ภายใต้ชื่อว่า เชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย

รูปแบบรายการและการแข่งขัน

[แก้]

รูปแบบของรายการจะเป็นการเชิญเชฟยอดฝีมือจากทั่วโลกมาแข่งขันกับเชฟกระทะเหล็กซึ่งบางทีทางรายการได้เชิญคนดังจากต่างประเทศมาตัดสินร่วมกับคนดังของญี่ปุ่น และบางครั้งจะมีการเดินทางไปแข่งที่ต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา จีน ฝรั่งเศส ฮ่องกง วัตถุดิบหลักที่นำมาใช้รายการบางครั้งก็จะมีราคาแพงและแปลกใหม่ โดยรวมทั้งหมดตลอดระยะเวลาของรายการ 6 ปีนั้นได้ใช้เงินไปกว่า 800 ล้านเยน ซึ่งเป็นงบที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์วงการโทรทัศน์ของญี่ปุ่นในช่วงก่อนปี ค.ศ. 2000 เช่น ตับห่าน, ปูทาราบะ, ปลาแชลมอน, เห็ดดำ แต่บางครั้งก็จะเป็นวัตถุดิบที่หาได้ง่ายโดยทั่วไป เช่น กุ้งแม่น้ำ, กะหล่ำปลี ถั่วหมัก ผลไม้ต่างๆ เป็นต้น โดยวัตถุดิบหลักในแต่ละสัปดาห์ทั้งเชฟผู้ท้าชิงและเชฟกระทะเหล็กจะต้องนำมาทำอาหารอย่างน้อย 4 อย่างหรืออาจจะทำมากกว่านั้นก็ได้ ซึ่งจำนวนจานของอาหารแต่ละอย่างที่ต้องเตรียมในการตัดสินนั้นจะมีอย่างน้อย 6 จาน กล่าวคือ เตรียมให้พิธีกร 1 จาน และคณะกรรมการ 5 จานหรืออาจจะขึ้นอยู่กับจำนวนคณะกรรมการในแต่ละสัปดาห์และต้องเตรียม 1 จาน ของอาหารแต่ละอย่างออกมาต่างหากสำหรับการถ่ายภาพและการนำเสนอ โดยอาหารทั้งหมดจะทำด้วยเชฟกระทะเหล็กและมีผู้ช่วย ปกติแล้วทั้งเชฟผู้ท้าชิงและเชฟกระทะเหล็กจะเตรียมผู้ช่วยเชฟ 2 คนมาเองและอุปกรณ์เครื่องครัวอย่างอื่นอีกเพิ่มเติมนอกเหนือจากทางรายการที่มีอยู่นำมาใช้ในรายการได้

ในเวอร์ชันใหม่ปี 2012 ของทางรายการ ผู้ท้าชิงจะถูกเสนอชื่อ โดยเชฟที่มีชื่อเสียงให้ได้ทราบกันทางโทรทัศน์เลยหรือจะมาแข่งโดยการโหวตจากผู้ชมผ่านทางเว็บไซด์ของรายการหรือจากช่องทางอื่นๆ ที่รายการมีให้ โดยผู้ที่ชนะเชฟกระทะเหล็กจะมีสิทธิ์ในการเข้าแข่งขันเพื่อเป็นเชฟกระทะเหล็กคนที่ 4 ของรายการ และข้อแตกต่างอีก 1 อย่าง คือ ผู้ท้าชิงจะไม่มีสิทธิ์เลือกเชฟกระทะเหล็กที่จะแข่งขันด้วย แต่ทางรายการจะเป็นผู้เลือกเตรียมไว้ให้ก่อนล่วงหน้าแล้ว ซึ่งบางครั้งรูปแบบการทำอาหารนั้นไม่ตรงกัน เช่น ผู้ท้าชิงมีความถนัดในอาหารญี่ปุ่น อาจต้องแข่งกับเชฟกระทะเหล็กอาหารฝรั่งเศส เป็นต้น ต่อมารายการถูกถอดจากผังหลังจากออกอากาศไปได้ 10 ตอนและออกอากาศต่อจนจบ 13 ตอนและมีการวางตัว เชฟกระทะเหล็กคนที่ 4 สำหรับอาหารอิตาเลียน ไว้เป็นที่เรียบร้อยแทนการสรรหาจากการแข่งขันและนับตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป รายการจะถูกออกอากาศเป็นครั้งคราวเนื่องในโอกาสพิเศษเท่านั้น

เชฟกระทะเหล็ก

[แก้]

รายชื่อเชฟกระทะเหล็กที่ปรากฏในรายการ เวอร์ชันแรก ซึ่งแสดงผลชนะ เสมอ แพ้ ของเชฟกระทะเหล็กแต่ละคน กล่องสีจะแทนแถบสีของชุดเชฟกระทะเหล็ก

เชฟกระทะเหล็ก ความเชี่ยวชาญด้านอาหาร ชนะ แพ้ เสมอ ทั้งหมด %
  เชน เคนอิชิ เชฟกระทะเหล็ก อาหารจีน 66 24 3 93 72.6%
  ยูทากะ อิชินาเบ เชฟกระทะเหล็ก อาหารฝรั่งเศส (I) 7 1 0 8 87.5%
  ฮิโรยูกิ ซาไก เชฟกระทะเหล็ก อาหารฝรั่งเศส (II) 70 15 1 86 82.4%
  โรคุซาโบโร มิชิบะ เชฟกระทะเหล็ก อาหารญี่ปุ่น (I) 33 5 1 39 85.9%
  โคมิเอะ นากามูระ เชฟกระทะเหล็ก อาหารญี่ปุ่น (II) 22 11 1 34 66.2%
  มาซาฮารุ โมริโมโต เชฟกระทะเหล็ก อาหารญี่ปุ่น (III) 17 8 1 26 67.3%
  มาซาฮิโกะ โกเบ เชฟกระทะเหล็ก อาหารอิตาเลียน 15 7 1 23 68.2%

รายชื่อเชฟกระทะเหล็กที่ปรากฏในรายการ เวอร์ชันใหม่ ซึ่งแสดงผลชนะ เสมอ แพ้ ของเชฟกระทะเหล็กแต่ละคน กล่องสีจะแทนแถบสีของชุดเชฟกระทะเหล็ก

เชฟกระทะเหล็ก ความเชี่ยวชาญด้านอาหาร ชนะ แพ้ เสมอ ทั้งหมด %
  จุน คุโรจิ เชฟกระทะเหล็ก อาหารญี่ปุ่น 4 2 0 6 66.7%
  ยูจิ วาคิยะ เชฟกระทะเหล็ก อาหารจีน 5 2 0 7 71.4%
  โยสึเกะ ซึกะ เชฟกระทะเหล็ก อาหารฝรั่งเศส 5 2 0 7 71.4%
  ฮิโรมิ ยามาดะ * เชฟกระทะเหล็ก อาหารอิตาเลียน 0 0 0 0 0%
  • ฮิโรมิ ยามาดะ ถูกวางตัวให้เป็นเชฟกระทะเหล็กคนที่ 4 แต่เนื่องจากรายการถูกยกเลิกก่อนหน้านั้นแล้ว

การแข่งนัดพิเศษ

[แก้]
  • 31 ธันวาคม 2555 - วันส่งท้ายปีเก่า แข่ง 3 คู่โดยเป็นเชฟกระทะเหล็กทั้งหมดทั้งในและต่างประเทศ
เชฟ JAPAN OTHER
คู่ที่ 1   โยสึเกะ ซึกะ - 7 โหวต   เอียน กิตติชัย (ไทย) - 0 โหวต
คู่ที่ 2   จุน คุโรจิ - 1 โหวต   โรคุซาโบโร มิชิบะ (ญี่ปุ่น) - 6 โหวต
คู่ที่ 3   ยูจิ วาคิยะ - 5 โหวต   มาซาฮารุ โมริโมโต (อเมริกา) 2 โหวต
  • 4 กรกฎาคม 2556 - วันชาติสหรัฐอเมริกา แข่ง 3 คู่ ๆ ล่ะ 1 คะแนนและแบบทีม 2 คะแนน
ทีม JAPAN USA
คู่ที่ 1   โยสึเกะ ซึกะ - 1 โหวต (0 คะแนน)   แฟรงค์ รูต้า - 4 โหวต (1 คะแนน)
คู่ที่ 2   จุน คุโรจิ - 3 โหวต (1 คะแนน)   โทนี่ วอลส์ - 2 โหวต (0 คะแนน)
คู่ที่ 3   ยูจิ วาคิยะ - 1 โหวต (0 คะแนน)   อีริค ซีบอดร์ - 4 โหวต (1 คะแนน)
3 VS 3   JAPAN - 4 โหวต (2 คะแนน)   USA - 1 โหวต (0 คะแนน)
TOTAL
JAPAN - 3 คะแนน
USA - 2 คะแนน