ยุกกะ นุ ฮี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยุกกะ นุ ฮี
四日ぬ日
ユッカヌヒー
จัดขึ้นโดยหมู่เกาะโอกินาวะ
ประเภทวัฒนธรรมท้องถิ่น
ความสำคัญขอบคุณต่อท้องทะเลและเทพเจ้าเกษตรกรรม และขอให้อำนวยพรสำหรับอนาคต
การเฉลิมฉลองการแข่งขันเรือมังกร
วันที่วันที่ 4 ของเดือน 5 ตามปฏิทินจันทรคติ
วันที่ในปี 202321 มิถุนายน[1]
ส่วนเกี่ยวข้องเทศกาลทังโงะ โนะ เซ็กกุ (วันเด็กแห่งชาติประเทศญี่ปุ่น)

ยุกกะ นุ ฮี (โอกินาวะ: 四日ぬ日, ユッカヌヒー, Yukka nu hii หรือ ญี่ปุ่น: 四日の日) เป็นเทศกาลประจำปีของหมู่เกาะโอกินาวะทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีการเฉลิมฉลองตามประเพณีในวันที่ 4 ของเดือนที่ 5 ตามปฏิทินจันทรคติ โดยกิจกรรมสำคัญคือการแข่งขันเรือมังกรแบบดั้งเดิม (haarii หรือ haaree ในภาษาถิ่นอิโตมัน) เทศกาลนี้เริ่มต้นขึ้นประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 14 ซึ่งกล่าวกันว่าได้รับสืบทอดมาจากชาวจีน การแข่งเรือมังกรเป็นรูปแบบหนึ่งของการขอบคุณต่อท้องทะเลและเทพเจ้าแห่งการเกษตร และขอให้ประทานพรต่อไปในอนาคต[2]

ปัจจุบันเมืองนาฮะเป็นสถานที่จัดการแข่งขันเรือมังกรที่ใหญ่ที่สุดในโอกินาวะ โดยเมืองอิโตมันและหมู่บ้านทามางูซูกุ (玉城村) ก็เป็นที่รู้จักจากการจัดงานแข่งเรือขนาดใหญ่เช่นกัน[3]

ประวัติ[แก้]

จารึกอักษรระลึกถึงจุดกำเนิดของการแข่งเรือมังกรในหมู่เกาะรีวกีว

เช่นเดียวกับองค์ประกอบที่แสดงลักษณะของวัฒนธรรมโอกินาวะสมัยใหม่อื่น ๆ ยุกกะ นุ ฮี เคยเป็นประเพณีที่มีการกระจายทางภูมิศาสตร์จำกัด โดยผู้คนทางตอนเหนือของโอกินาวะมองว่าเป็นเทศกาลนี้เป็นของโอกินาวะตอนใต้-ตอนกลาง มีการกล่าวกันว่าการแข่งขันเรือมังกรได้รับการเผยแพร่ที่ท่าเรืออุนเท็น (運天港) ในหมู่บ้านนากิจิน (今帰仁村) ช่วงกลางสมัยเมจิ หรือตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงต้นศตวรรษที่ 20[4]

ตั้งแต่สมัยเมจิ ชาวเมืองอิโตมันที่เป็นชาวประมงจำนวนมากได้อพยพไปยังส่วนอื่น ๆ ของจังหวัดโอกินาวะจากการแข่งขันเรือมังกร ตัวอย่างเช่น พวกเขาเริ่มการแข่งขันเรือในเมืองอิชิงากิของหมู่เกาะยาเอยามะในปี พ.ศ. 2449[5] โคอิจิ มัตสึโอะ (松尾 恒一) นักชาติพันธุ์วิทยาตั้งข้อสังเกตว่าในชุมชนชายฝั่งบางแห่งของหมู่เกาะมิยาโกะและหมู่เกาะยาเอยามะ การแข่งเรือไม่เกี่ยวข้องกับเทศกาลยุกกะ นุ ฮี แต่เกี่ยวกับเทศกาลเก็บเกี่ยวในวันเพ็ญเดือน 6 หรือเทศกาลชิจิ (節祭 (シチ)) ในเดือน 9 ตามปฏิทินจันทรคติ ขณะที่หมู่เกาะอามามิในจังหวัดคาโงชิมะก็มีการแข่งเรือที่คล้ายคลึงกัน โดยปกติจะจัดขึ้นในเดือนสิงหาคม ซึ่งมีนัยว่ามีรากที่มาแตกต่างกัน[6]

ระเบียงภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ユッカヌヒーとは2023年はいつ?那覇ハーリーの日程や内容は [When is Yukkanuhi in 2023? The schedule and content of Naha Haarii]. 気になる話題・おすすめ情報館 (ภาษาญี่ปุ่น). 4 กรกฎาคม 2022.
  2. "Haarii Dragon Boat races promise Monday excitement". Japan Update (ภาษาอังกฤษ). 14 มิถุนายน 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2012. สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2022.
  3. Charles, Bill (2 พฤษภาคม 2007). "Dragon boat races add excitement to Golden Week". Japan Update (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2012. สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2022.
  4. 今帰仁村史編纂委員会 [Nakijin-son shi hensan iinkai] (กรกฎาคม 1975). 今帰仁村史 [Nakijin-son shi] (ภาษาญี่ปุ่น). JP番号: 95065089.
  5. 加藤 久子 [Katō Hisako] (กุมภาพันธ์ 2000). 八重山における糸満漁民の出漁と移住 [Yaeyama ni okeru Itoman gyomin no shutsuryō to ijū]. 沖縄八重山の研究 [Okinawa Yaeyama no kenkyū]. 法政大学沖縄文化研究所 沖縄八重山調査委員会 [Hōsei daigaku Okinawa bunka kenkyūsho Okinawa Yaeyama chōsa iinkai] (ภาษาญี่ปุ่น). 相模書房. ISBN 978-4-7824-0003-6.
  6. 松尾 恒一 [Matsuo Kōichi], บ.ก. (มีนาคม 2012). 西表島の稲作儀礼と龍船競争 [Iriomote-jima no inasaku girei to ryūsen kyōsō]. 琉球弧 [Ryūkyūko]. 国立歴史民俗博物館 [National Museum of Japanese History] (ภาษาญี่ปุ่น). pp. 214–261. ISBN 978-4-87294-745-8.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]