ยานส่งกลับสายแพทย์เอ็ม1133

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยานส่งกลับสายแพทย์เอ็ม 1133
สไตรเกอร์ เอ็มอีวี[1]
ข้อมูลจำเพาะ
มวลรถรบทหารราบ: 16.47 ตัน (18.12 น้ำหนักตันขนาดเล็ก)
ความยาว6.95 ม. (22.92 ฟุต)
ความกว้าง2.72 ม. (8.97 ฟุต)
ความสูง2.64 ม. (8.72 ฟุต)
ลูกเรือ3 นาย
ผู้โดยสารผู้ป่วยสูงสุด 6 นาย

เกราะกันกระสุนขนาด 14.5 มม.[1]
อาวุธหลัก
ไม่มี
เครื่องยนต์ดีเซล
260 กิโลวัตต์ (350 แรงม้า)
กำลัง/น้ำหนักรถรบทหารราบ: 15.8 น้ำหนักตันขนาดเล็ก (19.3 แรงม้า/น้ำหนักตันขนาดเล็ก)
กันสะเทือน8 ล้อยาง
พิสัยปฏิบัติการ
500 กม. (300 ไมล์)
ความเร็ว100 กม./ชม. (62 ไมล์/ชม.)

ยานส่งกลับสายแพทย์ (อังกฤษ: Medical Evacuation Vehicle; อักษรย่อ: MEV) ได้รับมอบหมายจากที่พยาบาลกองพันสำหรับหน่วยขนาดกองพัน และอุทิศให้กับส่วนสำคัญแต่ละส่วนของหน่วย รวมถึงให้การรักษาผู้บาดเจ็บสาหัสตลอดจนผู้บาดเจ็บขั้นสูง

ภาพรวม[แก้]

สนับสนุนการส่งกลับสายแพทย์แบบบูรณาการในชุดปฏิบัติการรบกองพลน้อยสไตรเกอร์ (SBCT) ในฐานะที่เป็นส่วนบูรณาการหนึ่งของรูปขบวนส่วนหน้ารบแบบติดเครือข่าย โดยช่วยแพทย์กำลังรบที่ติดสอยห้อยตามทหารราบในระหว่างปฏิบัติการ ยานส่งกลับสายแพทย์และลูกเรือสามารถเคลื่อนที่ส่วนหน้า ซึ่งครอบคลุมด้วยการยิงของหมวดปืนเล็กเฝ้าตรวจแบบบูรณาการที่ให้ความคุ้มครองสำหรับผู้ป่วยและทีมแพทย์

ความสามารถนี้ทำให้แท่นยิงอื่น ๆ ของรูปขบวนเป็นอิสระเพื่อค้ำจุนการจู่โจมสนับสนุนแบบบูรณาการ การส่งกลับจะรวมถึงการดูแลฉุกเฉินบนเส้นทางยกระดับโดยเสนารักษ์ และโดยสภาพแวดล้อมที่มีการป้องกันด้วยแสงไฟที่เพียงพอรวมถึงเครื่องมือแพทย์

ความสามารถในปฏิบัติการ[แก้]

ยานส่งกลับสายแพทย์เป็นแพลตฟอร์มรถพยาบาลปฐมภูมิในหน่วยที่จัดให้มียานพาหนะตระกูลสไตรเกอร์[ต้องการอ้างอิง] มันอิงจากรุ่นลำเลียงพลทหารราบ คุณลักษณะร่วมของแพลตฟอร์มจะช่วยลดการบำรุงรักษา และการสนับสนุนด้านโลจิสติกส์ที่หลากหลาย

มุมมองภายใน

ยานส่งกลับสายแพทย์มีที่นั่งของผู้ดูแลที่สามารถเข้าถึงได้ ซึ่งช่วยให้ผู้ดูแลสามารถตรวจสอบผู้ป่วยได้

รถพยาบาลได้รับการทำเครื่องหมายด้วยเครื่องหมายอนุสัญญาเจนีวาที่สามารถเอาออก หรือซ่อนเร้นโดยไม่ต้องเปลี่ยนลายพราง สิ่งนี้จะช่วยลดความเสี่ยงของการเปิดเผยต่อการกระทำที่มุ่งร้าย หรือสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย

แหล่งที่มา[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Army Fact File - Stryker". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-07-27. สืบค้นเมื่อ 2006-07-31.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]