มเหสี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก มเหสี (ตำแหน่งฝ่ายใน))

พระมเหสี หมายถึง เจ้านาย[1]ที่เป็นภรรยาของพระมหากษัตริย์[2] ถ้าเป็นภรรยาเอกเรียกว่า พระอัครมเหสี[3] ถ้าไม่ใช่เจ้านายเรียกว่าบาทบริจาริกา[4]

ยุโรป[แก้]

ยศของมเหสีของยุโรป ใช้ได้หลายคำ ตามพระยศของพระสวามี ดังนี้

  1. เยอรมันอย่างออสเตรียและเยอรมนี จักรพรรดิจะเรียกว่า ไคเซอร์ (Kaiser) ส่วนจักรพรรดินี เรียกว่า ไคเซอริน (Kaiserin)
  2. สลาฟ อย่างรัสเซียและบัลแกเรีย จักรพรรดิจะเรียกว่า ซาร์ (Czar) ส่วนจักรพรรดินี เรียกว่า ซารีนา (Czarina) ในบรรดาประเทศที่ประมุขดำรงพระยศเป็นจักรพรรดิและจักรพรรดินีนั้น จะมีคำนำหน้าว่า His/Her Imperial Majesty
  1. เยอรมัน กษัตริย์ เรียกว่า โคนิก (König) ราชินีเรียกว่า โคนิกกิน (Königin)
  2. ฝรั่งเศส กษัตริย์ เรียกว่า รัว (Roi) ราชินีเรียกว่า แรน (Reine)
  3. อิตาลี กษัตริย์ เรียกว่า เร (Re) ลาตินเรียกว่า เร็กซ์ (Rex) ราชินีเรียกว่า เรจิน่า (Regina)
  4. สเปน กษัตริย์ เรียกว่า เรย์ (Rey) ราชินีเรียกว่า เรย์น่า (Reina)
  5. เนเธอร์แลนด์ กษัตริย์ เรียกว่า Koning ราชินีเรียกว่า Koningin

เอเชีย[แก้]

ยศของมเหสีทางราชสำนักในเอเชีย ก็ใช้ได้หลายคำ ตามพระยศของพระสวามี เช่นกัน อาทิ

  1. จีน จักรพรรดิ เรียกว่า ฮ่องเต้ (皇帝, Huángdì) จักรพรรดินี เรียกว่า หวงโฮ่ว (皇后, Húanghòu)
  2. ญี่ปุ่น จักรพรรดิ เรียกว่า เท็นโน (天皇, Tennō) จักรพรรดินี เรียกว่า โคโง (皇后, Kōgō)
  3. เกาหลี จักรพรรดิ เรียกว่า ฮวางเจ (皇帝, Hwangje) จักรพรรดินี เรียกว่า ฮวางฮู (皇后, Hwanghu)
  4. เวียดนาม จักรพรรดิ เรียกว่า ฮว่างเด๋ (皇帝, Hoàng đế) จักรพรรดินี เรียกว่า ฮว่างเหิ่ว (皇后, Hoàng hậu)
  5. อิหร่าน จักรพรรดิ เรียกว่า ชาฮันชาห์ (شاهنشاه, Shahanshah) จักรพรรดินี เรียกว่า ชาห์บานู (شهبانو, Shahbanu)
  6. มองโกเลีย จักรพรรดิ เรียกว่า คากาน (Khagan) จักรพรรดินี เรียกว่า คาตุน (Khatun)
  • สมเด็จพระราชินี พระอัครมเหสีของพระมหากษัตริย์ เช่น
  1. ไทย มีพระมเหสีได้หลายพระองค์ แต่จะมีผู้ดำรงตำแหน่งสูงที่สุดเพียงพระองค์เดียว เรียกว่า พระอัครมเหสี ถ้าเคยดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน เรียกว่า สมเด็จพระบรมราชินีนาถ
  2. เกาหลี กษัตริย์ เรียกว่า วัง (왕, Wang) ราชินีเรียกว่า วังบี (王妃, Wangbi)
  3. มาเลเซีย กษัตริย์ เรียกว่า ยังดีเปอร์ตวนอากง (يڠ د-ڤرتوان اڬوڠ, Yang di-Pertuan Agong) ราชินีเรียกว่า รายา ประไหมสุหรี อากง ( راج ڤرماءيسوري اڬوڠ, Raja Permaisuri Agong)

แอฟริกา[แก้]

ยศของมเหสีของแอฟริกา ใช้ได้หลายคำ ตามพระยศของพระสวามี ดังนี้

  • สมเด็จพระจักรพรรดินี (Empress consort) พระมเหสีของสมเด็จพระจักรพรรดิ เช่น
  1. เอธิโอเปีย จักรพรรดิ เรียกว่า เนกัสซา นากัส (Nəgusä Nägäst) จักรพรรดินี เรียกว่า เนเกสซา นากัส (Nəgəstä Nägäst)
  • สมเด็จพระราชินี พระอัครมเหสีของพระมหากษัตริย์ เช่น
  1. เอสวาตีนี กษัตริย์ เรียกว่า สิงโต (Ngwenyama) ราชินีเรียกว่า นางพญาช้าง (Ndlovukati)

โอเชียเนีย[แก้]

ยศของมเหสีของโอเชียเนีย ตามพระยศของพระสวามี คือ

  • สมเด็จพระราชินี พระอัครมเหสีของพระมหากษัตริย์ เช่น
  1. ฟีจี กษัตริย์ เรียกว่า ราตู (Ratu) ราชินีเรียกว่า เอดิ (Adi)

อ้างอิง[แก้]

เชิงอรรถ
  1. ราชาศัพท์, หน้า43
  2. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554, หน้า 888
  3. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554, หน้า 1390
  4. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554, หน้า 668
บรรณานุกรม
  • ราชบัณฑิตยสถานพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. พิมพ์ครั้งที่ ๒, กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556. 1,544 หน้า. ISBN 978-616-7073-80-4
  • สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติราชาศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 4, กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2555. 416 หน้า. ISBN 978-616-235-142-6