ข้ามไปเนื้อหา

มู่หลาน (ภาพยนตร์ พ.ศ. 2541)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มู่หลาน
โปสเตอร์
กำกับTony Bancroft
Barry Cook
เขียนบทRobert D. San Souci
Rita Hsiao
อำนวยการสร้างPam Coats
นักแสดงนำMiguel Ferrer พากย์เสียงเป็น ฉาง หยู
Ming-Na Wen พากย์เสียงเป็น มู่หลาน
Lea Salonga พากย์เสียงร้องเพลงเป็น มู่หลาน
James Hong พากย์เสียงเป็น ฉี ฟู
Eddie Murphy พากย์เสียงเป็น มูชู
Harvey Fierstein พากย์เสียงเป็น เหยา
Jerry Tondo พากย์เสียงเป็น เฉียนโป
B.D.Wong พากย์เสียงเป็นนายกองชาง
Donny Osmond พากย์เสียงร้องเพลงเป็น นายกองชาง
ผู้จัดจำหน่ายวอล์ท ดิสนีย์ พิคเจอร์
วันฉาย5 มิถุนายน พ.ศ. 2541
ความยาว88 นาที
ภาษาอังกฤษ
ข้อมูลจาก IMDb
ข้อมูลจากสยามโซน

มู่หลาน (อังกฤษ: Mulan) เป็นภาพยนตร์การ์ตูนลำดับที่ 36 ของดิสนีย์ กำกับโดย Tony Bancroft และ Barry Cook ดัดแปลงมาจากตำนานวีรสตรีของประเทศจีนที่มีที่มาจากบทกวีจีนชื่อว่า "บทเพลงของฟา มู่หลาน" กระบวนการสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้เริ่มต้นขึ้นในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2537 เสร็จสิ้นในปี พ.ศ. 2541 และออกฉายตามโรงภาพยนตร์ในประเทศสหรัฐอเมริกาในวันที่ 19 มิถุนายน ปีเดียวกัน ส่วนในประเทศไทย ออกฉายในวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2541[1]

เนื้อเรื่อง

[แก้]

ประเทศจีนสมัยศักดินา มีสตรีนาม ฮฺวา มู่หลาน (花木蘭) ซึ่งบิดามารดาหวังว่า วันหนึ่ง บุตรสาวจะได้เป็นเจ้าสาวที่ดี และบีบให้บุตรสาวเข้าพบแม่สื่อเพื่ออบรมการเป็นแม่ศรีเรือน แต่มู่หลานก่อความวุ่นวายในขณะรินน้ำชาให้แม่สื่อ จึงถูกขับไส มู่หลานท้อแท้ที่ไม่สามารถเชิดชูเกียรติของวงศ์ตระกูลได้

ขณะเดียวกัน ชาน หยู นำกำลังชนเผ่าฮัน รุกรานเข้ามาทางภาคเหนือ สมเด็จพระจักรพรรดิจึงทรงเรียกเกณฑ์ทหารไปรับศึก รับสั่งให้ทุกครอบครัวต้องส่งบุรุษอย่างน้อยหนึ่งคนเข้ากองทัพ เจ้าหน้าที่มาถึงหมู่บ้านของมู่หลานเพื่อเกณฑ์ชาย ฮฺวา โจว (花周) บิดาของมู่หลาน ซึ่งสูงวัยและสุขภาพย่ำแย่แล้ว จำต้องเข้ารับใช้บ้านเมืองเนื่องจากหาบุตรชายมิได้ มู่หลานเห็นว่า บิดาไปก็เป็นแต่ไปตาย จึงลักเกราะ ม้า และอาวุธของบิดาหลบหนีไปเข้ากองทัพแทนบิดา และได้เข้ารับการฝึกทหารของแม่ทัพชาง โดยปลอมตนเป็นชาย และใช้ชื่อว่า ฮฺวา ผิง คุณยายของมู่

เมื่อกองทัพโหรวหรานรุกหน้ามาเรื่อย ๆ แม่ทัพถังจำต้องยุติการฝึกและส่งกองกำลังออกไปรับหน้า ขณะออกศึก มู่หลานเผชิญหน้ากับแม่มดเซียนเหนียงผู้ทราบว่า แท้จริงแล้ว มู่หลานเป็นหญิง และพยายามสังหารมู่หลาน แต่ไม่สำเร็จ จึงหนีไป ส่วนมู่หลานได้กระทำให้หิมะถล่มเพื่อหยุดยั้งกองทัพโหรวหราน แล้วขี่ม้ากลับค่ายไปช่วยนายทหารนาม เฉิน หงฮุย (陳洪輝) ทั้งสองได้ผูกมิตรภาพกัน แต่เนื่องจากทุกคนทราบแล้วว่า มู่หลานเป็นหญิง มู่หลานจึงได้รับคำสั่งให้กลับบ้านไปเสีย

ระหว่างทาง มู่หลานพบแม่มดเซียนเหนียงอีก แม่มดเผยว่า ที่ช่วยเมืองโหรวหราน เพราะฝังใจที่ถูกผู้คนจีนรังเกียจที่เป็นแม่มด และซึ้งใจที่ข่านปฏิบัติกับตนอย่างเท่าเทียม ทั้งว่า การโจมตีที่ผ่านมาเป็นแต่แผนเบนความสนใจ เพราะแผนที่แท้จริงของข่าน คือ บุกเข้าเมืองหลวงไปปลงพระชนม์พระจักรพรรดิแก้แค้นที่ประหารบิดาข่านแต่ครั้งก่อน มู่หลานจึงกลับไปแจ้งแก่กองทัพ แม้การกลับไปอาจมีโทษถึงชีวิตก็ตาม อย่างไรก็ดี แม่ทัพถังเชื่อถือมู่หลาน และยอมให้นางร่วมภารกิจช่วยเหลือจักรพรรดิ

ที่พระราชวัง บอรี ข่านนำกำลังมาถึงและท้าให้จักรพรรดิมาสู้กันตัวต่อตัว ขณะที่ทหารองครักษ์ถูกแม่มดและกองทัพโหรวหรานกำจัดสิ้นแล้ว และกองทัพโหรวหรานก็เตรียมเผาจักรพรรดิทั้งเป็น เมื่อกองกำลังของมู่หลานมาถึง ก็เบนความสนใจของชาวเมืองโหรวหรานด้วยกลวิธีต่าง ๆ เพื่อเปิดโอกาสให้มู่หลานบุกเข้าไปถวายอารักขา ทว่า บอรี ข่านใช้เกาทัณฑ์ยิงมู่หลาน แต่แม่มดเซียนเหนียงเกิดสงสาร จึงแปลงตนเป็นเหยี่ยวไปรับลูกศรแทนจนถึงแก่ความตาย มู่หลานได้รบกับบอรี ข่าน ข่านทำลายกระบี่ประจำตระกูลของมู่หลาน แต่มู่หลานก็ล่อลวงให้ข่านตกลงสู่เบื้องล่างแล้วใช้ลูกศรจบชีวิตข่านสำเร็จ และไปปลดปล่อยจักรพรรดิจากพันธนาการ พระองค์ทรงเสนอให้นางเข้าเป็นราชองครักษ์ แต่นางทูลปฏิเสธและขอกลับคืนไปบ้านเดิม

เมื่อมู่หลานถึงบ้านแล้ว สมเด็จพระจักรพรรดิทรงให้แม่ทัพถังนำกระบี่เล่มใหม่มาประทานแก่มู่หลาน ส่วนแม่ทัพก็เสนอเป็นการส่วนตัวให้มู่หลานเข้าเป็นทหารองครักษ์

แม้ฉิง ฟูจะไม่เห็นด้วยในการส่งทหารที่นายกองชางฝึกไว้ไปสนามรบ แต่ด้วยแผนการของมูชูทำให้มู่หลานและเพื่อนทหารที่สนิทกันอย่าง หลิง เฉียน โป และ เหยา รวมถึงทหารคนอื่นๆก็ได้ออกเดินทางไปรบ จนกระทั่งได้พบกับหมู่บ้านที่เหลือเพียงเถ้าถ่าน ชางพบหมวกของพ่อตกอยู่ในสนามรบ ก่อนที่กองทหารทั้งหมดจะเดินทางต่อไป ในระหว่างทาง กองทหารจีนได้พบกับกองทัพชาวฮั่นจึงเกิดการต่อสู้กัน สุดท้าย มู่หลานคิดแผนกำจัดศัตรูได้ จึงทำตามแผนนั้น ทำให้กองทัพชาวฮั่นแตกพ่ายไป ฉาง หยูเห็นเช่นนั้นจึงโกรธมากและใช้ดาบฟันที่ตัวของมู่หลาน มู่หลานที่บาดเจ็บยังคงสติและหนีออกมาได้และไปช่วยชีวิตนายกองชางไว้ นายกองชางซาบซึ้งใจที่มู่หลานช่วยเอาไว้ ก่อนจะให้ตามหมอมารักษามู่หลาน ระหว่างที่รักษาตัว ชางพบความจริงว่ามู่หลานเป็นผู้หญิง ฉิง ฟู สั่งให้ชางทำตามกฎ นั่นคือ การฆ่าเธอเสีย แต่นายกองชางก็ตัดสินใจไม่ฆ่าเธอและทิ้งเธอไว้ที่นั่นตามลำพัง ส่วนกองทหารก็ออกเดินทางไปสู่เมืองหลวงต่อไป มู่หลานตัดสินใจจะกลับบ้านแต่เมื่อเห็นฉาง หยูและทหารที่เหลือรวมตัวพร้อมจะบุกไปเมืองหลวงเช่นกัน มู่หลานตัดสินใจเดินทางไปเมืองหลวงทันที

ที่เมืองหลวง มีขบวนแห่เฉลิมฉลองที่จีนรบชนะกองทัพฮั่นได้ มู่หลานกลับมาเตือนแม่ทัพชางว่ากองทัพฮั่นจะบุกโจมตีเมืองหลวง แม่ทัพเพิกเฉยและไม่เชื่อถือนาง จนกระทั่งกองทัพฮั่นบุกยึดพระราชวังและจับตัวจักรพรรดิไว้เป็นองค์ประกัน เหล่าทหารองครักษ์พยายามช่วยเหลือจักรพรรดิแต่ก็ถูกกำจัดสิ้น ขณะที่ชาน หยูกำลังจะประหารแม่ทัพชาง เพื่อนทหารสามนายของมู่หลานเข้าไปเบนความสนใจของกองทัพฮั่นเพื่อเปิดโอกาสให้มู่หลานบุกเข้าพบชาน หยู มู่หลานขัดขวางมิให้ประหารแม่ทัพชางและท้าให้ชาง หยูมารบกันตัวต่อตัว ขณะรบมู่หลานได้ล่อลวงให้ชาน หยูพลาดท่าถูกระเบิดถึงแก่ความตาย และไปปลดปล่อยจักรพรรดิ์จากพันธนาการ พระองค์ทรงประทานกระบี่และลัญฉกรแก่มู่หลาน นางรับและทูลขอกลับไปบ้านเดิม

เมื่อมู่หลานกลับถึงบ้าน แม่ทัพชางก็ติดตามมาเพื่อคืนหมวกของบิดามู่หลานที่ลืมไว้ และทำความรู้จักกับครอบครัวของมู่หลาน

ตัวละคร

[แก้]
ชื่อตัวละคร ผู้พากย์เสียง
อังกฤษ ไทย
มู่หลาน หมิง-นา เหวิน (พากย์)
ลีอา ซาลองกา (ร้อง)
ไดอาน่า จงจินตนาการ (พากย์)
นฤมล จิวังกูร (ร้อง)
ด.ญ. ธารธารา รุ่งเรือง (วัยเด็ก)
แม่ทัพชาง BD Wong (พากย์)
Donny Osmond (ร้อง)
สัญญา คุณากร (พากย์)
วิภู กำเนิดดี (ร้อง)
มูชู Eddie Murphy สุรศักดิ์ วงษ์ไทย
เหยา Harvey Fierstein ปรีชา วงศ์รุ่ง
หลิง Gedde Watanabe (พากย์)

Matthew Wilder (ร้อง)

ขจรศักดิ์ นฤภัทร (พากย์)
ภราดร เพ็งศิริ (ร้อง)
เฉียนโป Jerry Tondo สรรเสริญ โภคสมบัติ
ชางหยู Miguel Ferrer ศุภสรณ์ มุมแดง
ฉีฟู James Hong ณัฐนันท์ ศิริเจริญ
ฮ่องเต้ Pat Morita เอกชัย พงศ์สมัย
บรรพชนฮัว George Takei เกรียงศักดิ์ เหรียญทอง
ย่าของมู่หลาน June Foray (พากย์)
Marni Nixon (ร้อง)
สุมาลี สุธีรธรรม (พากย์)
สุกานดา ศิริธนาภิรมณ์ (ร้อง)
พ่อของแม่ทัพชาง James Shigeta กฤษณะ ศฤงคารนนท์

เพลงประกอบ

[แก้]

เพลงในภาพยนตร์เรื่องนี้ประพันธ์เนื้อร้องเป็นภาษาไทยโดย ธานี พูนสุวรรณ มีเพลงที่มีเนื้อร้องทั้งสิ้น 5 เพลง ได้แก่

  • เพลง "Honor to Us All"

ขับร้องโดย Beth Fowler, Lea Salonga และ Marni Nixon เพลงนี้ในรูปแบบภาษาไทยใช้ชื่อว่า "นำศักดิ์ศรีให้เรา" ขับร้องโดย นฤมล จิวังกูร ประสานเสียงโดย กรุงเทพซิงเงอร์ส

  • เพลง "Reflection"

ขับร้องโดย Lea Salonga เพลงนี้นอกจากในรูปแบบประกอบภาพยนตร์แล้ว ยังมีในรูปแบบป็อปอีกอย่างหนึ่งขับร้องโดย Christina Aguilera เพลงนี้ในรูปแบบภาษาไทยใช้ชื่อว่า "เงา" ขับร้องโดย นฤมล จิวังกูร และในรูปแบบป็อปขับร้องโดย จันทนีย์ พงษ์ประยูรและอัยย์ พรรณี วีรานุกูล

  • เพลง "I'll Make a Man Out of You"

ขับร้องโดย Donny Osmond เพลงนี้ในรูปแบบภาษาไทยใช้ชื่อว่า "จะสร้างนายเป็นชายแท้" ขับร้องโดย วิภู กำเนิดดี ประสานเสียงโดย กรุงเทพซิงเงอร์ส

  • เพลง "A Girl Worth Fighting For"

ขับร้องโดย Harvey Fierstein, James Hong, Jerry Tondo, Lea Salonga และ Matthew Wilder เพลงนี้ในรูปแบบภาษาไทยใช้ชื่อว่า "สู้ตายเพื่อหญิงคนงาม" ขับร้องโดย ปรีชา วงศ์รุ่ง ภราดร เพ็งศิริ สรรเสริญ โภคสมบัติ สุพรรณี จงจินตนาการ ธานี พูนสุวรรณ ประสานเสียงโดย กรุงเทพซิงเงอร์ส

  • เพลง "True to Your Heart"

ขับร้องโดย วง 98° และ Stevie Wonder เพลงนี้เป็นเพลงในช่วงเครติดหลังจบภาพยนตร์จึงไม่มีแปลเป็นภาษาไทย

นอกจากนี้ ภาพยนตร์เรื่องนี้มีเพลงบรรเลงประกอบอีก 6 เพลง ได้แก่ เพลง "Suite from Mulan" เพลง "Attack at the Wall" เพลง "Mulan's Decision" เพลง "Blossoms" เพลง "The Huns Attack" และเพลง "The Burned-Out Village"

ผลตอบรับ

[แก้]

รายได้

[แก้]

ภาพยนตร์เรื่องมู่หลานทำรายได้สุดสัปดาห์แรกหลังภาพยนตร์เริ่มเข้าฉายในโรงภาพยนตร์ในประเทศสหรัฐอเมริการวม 22,745,143 ดอลลาร์สหรัฐ ทำรายได้ในประเทศสหรัฐอเมริกาตลอดระยะเวลาการฉายทั้งสิ้น 120,620,254 ดอลลาร์สหรัฐ ทำรายได้นอกประเทศ (ไม่นับรวมสหรัฐอเมริกา) ทั้งสิ้น 183,700,000 ดอลลาร์สหรัฐ สรุปแล้วภาพยนตร์เรื่องนี้ทำรายได้ทั่วโลก 304,320,254 ดอลลาร์สหรัฐ[2]

คำวิจารณ์

[แก้]

ได้รับเสียงวิจารณ์ดีมากในประเทศต่างๆ แต่ในประเทศจีนนั้นรายได้อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำเนื่องจากวันวางจำหน่ายที่ไม่เอื้ออำนวย การละเมิดลิขสิทธิ์ นอกจากนี้คนจีนยังบ่นว่ามู่หลานดูแปลกตาเกินไป และเรื่องราวแตกต่างจากในตำนานมากเกินไป

รางวัล

[แก้]

ภาพยนตร์เรื่องมู่หลาน ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Annie Awards ครั้งที่ 26 ในปี ค.ศ. 1998 ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบกันในวงการแอนิเมชันมากถึง 12 รางวัล ใน 10 สาขา (สาขาออกแบบตัวละครยอดเยี่ยม มีผู้เข้าชิงจากภาพยนตร์เรื่องนี้แข่งกันเอง 3 คน) และได้รางวัลในทุกสาขาที่เข้าชิง นับเป็นภาพยนตร์แอนิเมชันที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในเวทีนี้ของปีนั้น และในปีถัดมาได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์และรางวัลลูกโลกทองคำในสาขาด้านดนตรี

ปี รางวัล สาขารางวัล ผู้ได้รับการเสนอชื่อ ผลการตัดสิน
ค.ศ. 1998
รางวัล Annie Awards [3]
ภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม Walt Disney Feature Animation ชนะ
ออกแบบตัวละครยอดเยี่ยม Ruben Aquino ชนะ
Tom Bancroft เสนอชื่อเข้าชิง
Mark Henn เสนอชื่อเข้าชิง
เทคนิคพิเศษยอดเยี่ยม David Tidgwell ชนะ
ออกแบบงานสร้างภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม Hans Bacher ชนะ
ลำดับกรอบเรื่องราวยอดเยี่ยม Christopher Sanders ชนะ
บทภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม Rita Hsiao
Christopher Sanders
Philip LaZebnik
Raymond Singer
Eugenia Bostwick-Singer
ชนะ
ผู้พากย์เสียงตัวละครหญิงยอดเยี่ยม Ming-Na Wen ผู้พากย์เสียงมู่หลาน ชนะ
ดนตรีประกอบภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม Matthew Wilder (เพลง)
David Zippel (เพลง)
Jerry Goldsmith (ดนตรี)
ชนะ
ผู้กำกับภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม Barry Cook
Tony Bancroft
ชนะ
ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม Pam Coats ชนะ
ค.ศ. 1999
รางวัลออสการ์
ดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ประเภทภาพยนตร์เพลงหรือตลก Mathew Wilder (ดนตรี)
David Zippel (เนื้อร้อง)
Jerry Goldsmith (ดนตรีออร์เคสตรา)
เสนอชื่อเข้าชิง
รางวัลลูกโลกทองคำ
ดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม Jerry Goldsmith เสนอชื่อเข้าชิง
เพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม เพลง Reflection ขับร้องโดย คริสตินา อากีเลรา เสนอชื่อเข้าชิง

ฉบับคนแสดง

[แก้]

เมื่อ 30 พฤศจิยายน พ.ศ. 2560 บีบีซีรายงานว่า ดิสนีย์ บริษัทภาพยนตร์ของฮอลลีวูด ประกาศผลการคัดเลือกนักแสดงที่ได้รับบทฮัวมู่หลานในภาพยนตร์ที่จะสร้างใหม่จากฉบับการ์ตูนของดิสนีย์แล้ว คือ หลิว อี้เฟย์ นักแสดงชาวจีน-อเมริกันชื่อดัง สยบเสียงวิจารณ์ว่าดิสนีย์มักเลือกแต่นักแสดงหญิงผิวขาวเป็นตัวละครนำ

ไม่เพียงดิสนีย์เท่านั้น บริษัทภาพยนตร์อื่น ๆ มักถูกวิจารณ์ว่ามักเลือกนักแสดงหญิงผิวขาวมารับบทตัวละครชาวเอเชีย เช่น ให้สการ์เล็ต โจแฮนสัน แสดงบทนำใน Ghost in the Shell ที่สร้างจากแอนิเมชันญี่ปุ่น ส่วนกรณีของมู่หลาน มีข่าวก่อนหน้านี้ว่าอาจเลือก เจนนิเฟอร์ ลอว์เรนซ์ ดาวจรัสแสงของฮอลลีวูด[4][5]

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]