มุนตะซ็อร อัซซัยดี
มุนตะซ็อร อัซซัยดี | |
---|---|
![]() มุนตะซ็อร อัซซัยดีในช่อง Al Taghier TV, 6 ตุลาคม ค.ศ. 2020 | |
เกิด | แบกแดด ประเทศอิรัก | 15 มกราคม ค.ศ. 1979
การศึกษา | มหาวิทยาลัยแบกแดด การสื่อสาร |
อาชีพ | นักข่าวถ่ายทอดสด |
มีชื่อเสียงจาก | เหตุการณ์ขว้างรองเท้าใส่จอร์จ ดับเบิลยู. บุช |
Notable credit | ช่องอัลบัฆดาดียะฮ์ |
พรรคการเมือง | ซาอิรูน |
มุนตะซ็อร อัซซัยดี (อาหรับ: منتظر الزيدي; เกิดวันที่ 15 มกราคม ค.ศ. 1979) เป็นนักข่าวถ่ายทอดสดชาวอิรักที่ทำหน้าที่เป็นผู้สื่อข่าวให้กับช่องอัลบัฆดาดียะฮ์ จากข้อมูลเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011 อัซซัยดีทำงานให้กับช่องโทรทัศน์เลบานอน[1]
ในวันที่ 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 2007 อัซซัยดีถูกลักพาตัวโดยผู้โจมตีไม่ทราบนามในแบกแดด[2] เขาเคยถูกกองทัพสหรัฐจับกุมถึงสองครั้ง[3] ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 อัซซัยดีขว้างรองเท้าของตนใส่จอร์จ ดับเบิลยู. บุช ประธานาธิบดีสหรัฐในขณะนั้น ขณะอยู่ในห้องแถลงข่าวที่แบกแดด พร้อมตะโกนว่า "นี่คือรอยจูบร่ำลาจากชาวอิรัก ไอ้หมา" อัซซัยดีได้รับบาดเจ็บขณะถูกนำพาตัวไปที่คุมขัง และบางแหล่งข่าวระบุว่าเขาถูกทรมานระหว่างที่คุมตัวครั้งแรก[4][5] มีเสียงเรียกร้องทั่วตะวันออกกลางให้จัดแสดงรองเท้าในพิพิธภัณฑ์อิรัก[6] แต่ภายหลังกองกำลังรักษาความปลอดภัยสหรัฐและอิรักทำลายรองเท้านั้น[7][8] การขว้างรองเท้าของอัซซัยดีเป็นแรงบันดาลใจในเหตุการณ์การประท้วงทางการเมืองที่คล้ายคลึงกันมากมายทั่วโลก[9]
หลังวันเกิดเหตุ อัซซัยดีเป็นตัวแทนของหัวหน้าสมาคมเนติบัณฑิตยสภาอิรักในการพิจารณาคดี[10] ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009 อัซซัยดีได้รับการไต่สวนเป็นเวลา 90 นาทีที่ศาลอาญากลางแห่งอิรัก[11] ต่อมา ในวันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 2009 เขาถูกจำคุกเป็นเวลา 3 ปี ในข้อหาโจมตีประมุขแห่งรัฐต่างชาติระหว่างการเยือนอย่างเป็นทางการ จากนั้นในวันที่ 7 เมษายน จึงลดโทษจากสามปีเป็นหนึ่งปี[12] เขาถูกปล่อยตัวในวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 2009 สำหรับความประพฤติดีหลังอยู่ในเรือนจำเป็นเวลา 9 เดือน[13][14] หลังได้รับการปล่อยตัว อัซซัยดีได้รับการรักษาอาการบาดเจ็บในเรือนจำและภายหลังเขาวางแผน "สร้างสถานเลี้ยงเด็กกำพร้า โรงพยาบาลเด็ก และศูนย์การแพทย์และศัลยกรรมกระดูกที่ให้การรักษาฟรีและดูแลโดยแพทย์และเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ชาวอิรัก"[15]
ประวัติ[แก้]
มุนตะซ็อร อัซซัยดีเติบโตในนครอัศศ็อดร์ ชานเมืองแบกแดด[16] เขาเริ่มทำงานเป็นผู้สื่อข่าวประจำช่องอัลบัฆดาดียะฮ์ใน ค.ศ. 2005 ตอนแรก เขากลายเป็นที่รู้จักในฐานะเหยื่อของการลักพาตัวโดยผู้จู่โจมที่ไม่ทราบนามในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2007 อัซซัยดีถูกกองทัพสหรัฐจับกุมตัวถึงสองครั้ง[2][3] เขาอาศัยอยู่ในอพาร์ตเมนตร์สองห้องในใจกลางแบกแดด[17][18] เขานับถือศาสนาอิสลามนิกายชีอะฮ์
เหตุการณ์ขว้างรองเท้าใส่จอร์จ ดับเบิลยู. บุช[แก้]
เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 2008 ในห้องแถลงข่าวที่ทำเนียบนายกรัฐมนตรีในแบกแดด ประเทศอิรัก อัซซัยดีขว้างรองเท้าสองข้างใส่จอร์จ ดับเบิลยู. บุช ประธานาธิบดีสหรัฐในขณะนั้น[19] พร้อมตะโกนด่าเป็นภาษาอาหรับ ขณะโยนรองเท้าข้างแรกว่า "นี่คือรอยจูบร่ำลาจากชาวอิรัก ไอ้หมา"[20] และตะโกนขณะโยนรองเท้าข้างที่สองว่า "นี่สำหรับหญิงหม้าย เด็กกำพร้า และผู้ที่เสียชีวิตในประเทศอิรัก"[20] บุชหลบได้สองครั้ง ส่วนนายกรัฐมนตรี นูรี อัลมาลิกี พยายามจับรองเท้าข้างหนึ่งเพื่อปกป้องบุช อัซซัยดีถูกลากลงไปกับพื้น[21] ก่อนที่เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของนายกรัฐมนตรีจับเขาออกไปนอกห้อง
ตอนแรกอัซซัยดีถูกเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยคุมตัวและภายหลังส่งไปให้ฝ่ายบังคับบัญชาแบกแดดของกองทัพอิรัก ฝ่ายบัญชาการส่งตัวเขาไปที่ฝ่ายตุลาการอิรัก มีผู้คนร้อยกว่าคนบนถนนเรียกร้องให้ปล่อยตัวเขา[22] อัซซัยดีอาจเจอข้อหาโจมตีผู้นำต่างประเทศและนายกรัฐมนตรีอิรัก ตามรายงานจากผู้สังเกตการณ์ในตะวันออกกลาง มีความเชื่อมั่นว่าข้อหาเหล่านี้อาจมีโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือจ่ายค่าปรับเล็กน้อย แม้ว่าไม่น่าจะได้รับโทษสูงสุด เนื่องจากได้รับ "สถานะลัทธิ" ใหม่ในโลกอาหรับ[23] ทนายความชาวอิรักกล่าวว่า ถ้าถูกดำเนินคดี อัซซัยดีน่าจะถูกจำคุกสองปี[3] อัซซัยดีถูกนำตัวไปขึ้นศาลในวันที่ 17 ธันวาคม เขาปฏิเสธที่จะให้เคาะลีล อัดดุลัยมีเป็นตัวแทน เนื่องจากเขาเคยปกป้องซัดดัม ฮุสเซน อดีตประธานาธิบดีอิรัก และตนต้องการทนายความชาวอิรัก[24] เขาถูกปล่อยตัวในวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 2009 หลังอยู่ในเรือนจำเป็นเวลา 9 เดือน เขาถูกทรมานขณะอยู่ในนั้น เขาสาบานว่าจะเปิดเผยรายชื่อผู้ที่เขาบอกว่าทรมานตน ซึ่งรวมเจ้าหน้าที่ระดับสูงในรัฐบาลและกองทัพด้วย[13][14]
สิ่งตีพิมพ์[แก้]
- The Last Salute to President Bush, 2010[25]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Banerjee, Debesh (9 February 2011). "Bush shoe-thrower may get Delhi invite to watch himself on stage". Indian Express. สืบค้นเมื่อ 30 December 2011.
- ↑ 2.0 2.1 "Kidnapped Iraqi reporter freed, says no ransom paid". Reuters. 19 November 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 December 2008. สืบค้นเมื่อ 21 December 2008."Iraqi TV journalist kidnapped – press group". Reuters. 16 November 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-09. สืบค้นเมื่อ 15 December 2008."Iraqi TV station says kidnapped reporter freed in Baghdad". International Herald Tribune. Associated Press. 19 November 2007. สืบค้นเมื่อ 17 December 2008.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Faraj, Salam (15 December 2008). "Arabs hail shoe attack as Bush's farewell gift". International News. France 24. Agence France-Presse. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 December 2008. สืบค้นเมื่อ 17 December 2008.
- ↑ "Bush shoe-thrower 'tortured'". Al Jazeera. 17 December 2008. สืบค้นเมื่อ 30 December 2011.
- ↑ Weaver, Matthew (19 January 2008). "Bush shoe protester has been beaten, Iraqi judge says". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 19 December 2008.
- ↑ Khaled, Abu Toameh (15 December 2008). "Iraqi who threw shoes at Bush hailed as Arab hero". Middle East. Jerusalem Post.
- ↑ "Iraqi journalist's shoes destroyed, says judge". Dawn.com. 19 December 2008. สืบค้นเมื่อ 27 February 2017.
- ↑ "Iraqi journalist's shoes destroyed after Bush attack". ABC News Australia. 18 December 2008. สืบค้นเมื่อ 27 February 2017.
- ↑ "A shoe-throwing president?". Folha Online. 12 January 2009. สืบค้นเมื่อ 20 December 2008.
- ↑ "Shoe-throwing reporter headed to court". Top News. United Press International. 16 December 2008. สืบค้นเมื่อ 17 December 2008.
- ↑ Arraf, Jane (20 February 2009). "Hero or villain? Iraq's shoe thrower faces judgment". The Christian Science Monitor. สืบค้นเมื่อ 12 March 2009.
Zeidi … stood throughout the 90-minute trial in the court building …
- ↑ Londoño, Ernesto; Mizher, Qais (7 April 2009). "Court reduces sentence for Iraqi shoe thrower". Associated Press via Washingtonpost.com. สืบค้นเมื่อ 13 May 2010.
- ↑ 13.0 13.1 Nada Bakri (September 16, 2009). "Iraqi Shoe Thrower Is Released, Says He Was Tortured in Jail". Washingtonpost.com. สืบค้นเมื่อ 13 December 2018.
- ↑ 14.0 14.1 Naughton, Philippe; Kerbaj, Richard (September 15, 2009). "Iraqi shoe thrower Muntazer al Zaidi freed from jail". The Times. สืบค้นเมื่อ January 27, 2020.
- ↑ Bradley, Simon (19 October 2009). "Iraqi shoe-thrower launches Geneva-based agency". Swissinfo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 September 2012. สืบค้นเมื่อ 19 October 2009.
- ↑ Karadsheh, Jomana (15 December 2008). "TV station urges release of shoe-throwing journalist". Asia. CNN. สืบค้นเมื่อ 18 December 2008.
- ↑ Karadsheh, Jomana (15 December 2008). "Shoe-thrower's brother: He wanted to humiliate 'tyrant'". World. CNN. สืบค้นเมื่อ 15 December 2008.
- ↑ "Shoe thrower 'beaten in custody'". Middle East. BBC News. 16 December 2008. สืบค้นเมื่อ 17 December 2008.
- ↑ Myers, Steven Lee; Alissa J. Rubin (14 December 2008). "Iraqi Journalist Hurls Shoes at Bush and Denounces Him on TV as a 'Dog'". Middle East. The New York Times. สืบค้นเมื่อ 15 December 2008.
- ↑ 20.0 20.1 "Shoes thrown at Bush on Iraq trip". Middle East. BBC News. 14 December 2008. สืบค้นเมื่อ 15 December 2008.
- ↑ "Raw Video: Iraqi Journalist Throws Shoe at Bush". Associated Press. 14 December 2008. สืบค้นเมื่อ 17 December 2008.
- ↑ Abdul-Zahra, Qassim (16 December 2008). "Shoe-thrower expected to appear before Iraqi judge". World news. Houston Chronicle. Associated Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 December 2008. สืบค้นเมื่อ 17 December 2008.
- ↑ Rashad, Muhieddin; Yahya Barzanji (15 December 2008). "Family: Shoe thrower hates both US, Iran role". Africa & Middle East. International Herald Tribune. Associated Press. สืบค้นเมื่อ 17 December 2008.
- ↑ "Shoe-thrower rejects Saddam defender, many other offers". Trend News Agency. 17 December 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 December 2008. สืบค้นเมื่อ 17 December 2008.
- ↑ Karam, Zeina (14 December 2010). "Iraqi shoe thrower signs his first book in Beirut". The San Diego Union-Tribune. Associated Press. สืบค้นเมื่อ 22 December 2018.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Muntadhar al-Zaidi
- แม่แบบ:NYTtopic
- Shoe Thrower Jailed for Attack on Bush by Tim Albone, The National, 13 March 2009
- Shoe-thrower Journalist, A Hero to Many