ข้ามไปเนื้อหา

มุขลิงคัม

พิกัด: 18°36′00″N 83°58′00″E / 18.6000°N 83.9667°E / 18.6000; 83.9667
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มุขลิงคัม

ศรีมุขลิงคัม
หมู่บ้าน
ศรีมุขลิงคเทวาลยัม
ศรีมุขลิงคเทวาลยัม
มุขลิงคัมตั้งอยู่ในรัฐอานธรประเทศ
มุขลิงคัม
มุขลิงคัม
พิกัด: 18°36′00″N 83°58′00″E / 18.6000°N 83.9667°E / 18.6000; 83.9667
ประเทศ อินเดีย
รัฐอานธรประเทศ
อำเภอศรีกกุลัม
ประชากร
 • ทั้งหมด3,204 คน
เขตเวลาUTC+5:30 (IST)
PIN532428
ทะเบียนรถยนต์AP30 (เดิม)
AP39 (จากปี 2019)[1]

มุขลิงคัม (เตลูกู: ముఖలింగం; Mukhalingam) เป็นหมู่บ้านในอำเภอศรีกกุลัม รัฐอานธรประเทศ ประเทศอินเดีย ในอดีตมีชื่อว่ากลิงคนครี และเคยเป็นราชธานีของจักรวรรดิคงคาตะวันออกระหว่างศตวรรษที่ 6 ถึง 12[2]

มุขลิงคัมตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำวมสธาร ห่างไป 48 กิโลเมตรจากศรีกกุลัม และ 160 กิโเมตรจากวิศาขาปัฏฏณัม[3]

มุขลิงคัมเป็นที่ตั้งของเทวาลัยพระศิวะสามแห่ง คือ มธุเกศวร (Madhukeswara), โสเมศวร (Someswara) และ ภีเมศวร (Bhimeswara) อายุระหว่างปลายศตวรรษที่แปดถึงสิบเอ็ด[4][5] เทวาลัยสำคัญของหมู่บ้าน ซึ่งคือศรีมุขลิงคเทวาลยัม สร้างขึ้นโดยกษัตริย์แห่งคงคาตะวันออก กมรานาพะ เทวะ ที่สอง (Kamaranaba Deva II) ทวดของอนันตวรมัน โจฑคงคา แห่งกลิงคะ

อ้างอิง

[แก้]
  1. "New 'AP 39' code to register vehicles in Andhra Pradesh launched". The New Indian Express. Vijayawada. 31 January 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 February 2019. สืบค้นเมื่อ 9 June 2019.
  2. Rajguru, Padmashri Dr. Satyanarayana (1972). History of Gangas. History of Ganga. Vol. Part 2. Superintendent of Museum, Orissa , Bhubaneswar. p. 39.
  3. "Srimukhalingam". Andhra Pradesh Tourism. Andhra Pradesh Tourism Authority. 2015-03-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-07-12. สืบค้นเมื่อ 2023-04-20.
  4. Murthy, K. Krishna (1987). Glimpses of Art, Architecture, and Buddhist Literature in Ancient India (ภาษาอังกฤษ). Abhinav Publications. p. 71. ISBN 978-81-7017-226-0.
  5. Davidson, Ronald M. (2004). Indian Esoteric Buddhism: Social History of the Tantric Movement (ภาษาอังกฤษ). Motilal Banarsidass Publ. p. 342. ISBN 978-81-208-1991-7.