มินจูโชซ็อน
ชื่อเกาหลี | |
---|---|
โชซ็อนกึล | 민주조선 |
ฮันจา | 民主朝鮮 |
อาร์อาร์ | Minju Joseon |
เอ็มอาร์ | Minju Chosŏn |
![]() | |
ไฟล์:Minju Choson.jpg | |
ประเภท | หนังสือพิมพ์รายวัน |
รูปแบบ | บรอดชีต |
ผู้เผยแพร่ | คณะรัฐมนตรีเกาหลีเหนือ, คณะผู้บริหารสูงสุดสมัชชาประชาชนสูงสุด |
หัวหน้าบรรณาธิการ | ช็อง รี-จง |
ก่อตั้งเมื่อ | ค.ศ. 1945 |
นโยบายทางการเมือง | สังคมนิยม, ชูเช, ซ็อนกุน, คอมมิวนิสต์ |
สำนักงานใหญ่ | เปียงยาง ประเทศเกาหลีเหนือ |
ยอดจำหน่าย | 200,000 (as of 1974) |
เว็บไซต์ | www |
มินจูโชซ็อน (อังกฤษ: Minju Joson; เกาหลี: 민주조선; แปล "เกาหลีประชาธิปไตย") เป็นหนังสือพิมพ์ของรัฐเกาหลีเหนือ ตีพิมพ์ในเปียงยาง ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1945 เป็นหนังสือพิมพ์หลักของคณะรัฐมนตรีเกาหลีเหนือและคณะกรรมาธิการสามัญประจำสมัชชาประชาชนสูงสุด
ประวัติศาสตร์
[แก้]มินจูโชซ็อนก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1945[1] เริ่มต้นในชื่อพย็องยังอิลโบ (Pyongyang Ilbo) ซึ่งเป็นกระบอกเสียงของคณะกรรมาธิการประชาชนจังหวัดพย็องอันใต้ ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1945 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นชื่อปัจจุบัน เนื่องจากได้กลายเป็นกระบอกเสียงของคณะกรรมาธิการประชาชนจังหวัดเกาหลีเหนือ และได้เข้าสู่ฐานะปัจจุบันในเดือนกันยายน ค.ศ. 1948 เมื่อมีการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีอย่างเป็นทางการ[2]
หนังสือพิมพ์นี้มีจุดประสงค์ให้เป็นฉบับคู่ขนานของหนังสือพิมพ์อิซเวสติยา (Izvestiya) ของโซเวียต ในสหภาพโซเวียต อิซเวสติยามุ่งเน้นไปที่เรื่องเศรษฐกิจมากกว่าปราฟดา (Pravda) ซึ่งมีเนื้อหาเชิงโฆษณาชวนเชื่อมากกว่า ความต่างนี้สะท้อนให้เห็นในหนังสือพิมพ์เกาหลีเหนือ มินจูโชซ็อนและโรดงชินมุน (Rodong Simnun) ตั้งแต่ ค.ศ. 1967 ซึ่งเป็นปีที่เกิดอุบัติการณ์กลุ่มคับซัน เนื้อหาของมินจูโชซ็อนมีน้ำเสียงเหมือนกับโรดงชินมุนทุกประการ[3]
หนังสือพิมพ์นี้เปิดตัวเว็บไซต์เมื่อ ค.ศ. 2019[3]
ภาพรวม
[แก้]มินจูโชซ็อนคือหนังสือพิมพ์อย่างเป็นทางการของรัฐบาลเกาหลีเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นกระบอกเสียงของคณะรัฐมนตรีเกาหลีเหนือและคณะผู้บริหารสูงสุดสมัชชาประชาชนสูงสุด ถือเป็นหนังสือพิมพ์ที่มีอำนาจมากที่สุดเป็นอันดับสองในประเทศ รองจากโรดงชินมุน[3] ต่างจากโรดงชินมุน ตรงที่จัดการเรื่องการบริหารมากกว่า เช่น มติและคำสั่งของคณะรัฐมนตรี กฎหมาย ข้อบังคับ และประเด็นนโยบาย[2] เนื้อหาเกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศและในประเทศ เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมก็เป็นเรื่องปกติเช่นกัน[1] ภารกิจอย่างเป็นทางการของหนังสือพิมพ์คือ "ติดอาวุธความคิดปฏิวัติและอุดมการณ์ชูเชของผู้นำผู้ยิ่งใหญ่แก่คนงานในหน่วยงานปกครองประชาชนและหน่วยงานเศรษฐกิจแห่งชาติ และช่วยเหลือสังคมโดยรวมให้บรรลุความสำเร็จของชูเชโดยการยึดมั่นคนงานรอบพรรคและผู้นำผู้ยิ่งใหญ่ และจัดระเบียบและระดมพวกเขาอย่างแข็งขัน"[2] มินจูโชซ็อนตีพิมพ์ในเปียงยาง ข้อมูลเมื่อ 1974[update] ระบุว่ามียอดจำหน่าย 200,000 ฉบับ[1] บรรณาธิการบริหารคือช็อง รี-จง[4][แหล่งอ้างอิงอาจไม่น่าเชื่อถือ]
บทบรรณาธิการปีใหม่
[แก้]ในฐานะที่เป็นประเพณีตั้งแต่ ค.ศ. 1996 ควบคู่ไปกับหนังสือพิมพ์หลักที่รัฐดำเนินการอีกสองฉบับในเกาหลีเหนือ ได้แก่ สำนักข่าวกลางเกาหลีและโรดงชินมุน มินจูโชซ็อนตีพิมพ์บทบรรณาธิการร่วมเนื่องในวันขึ้นปีใหม่ที่สรุปนโยบายของประเทศสำหรับปีนั้น บทบรรณาธิการมักกล่าวถึงการยกย่องนโยบายซ็อนกุน รัฐบาลและผู้นำ และส่งเสริมการเติบโตของประเทศ นอกจากนี้ยังวิพากษ์วิจารณ์นโยบายของเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น สหรัฐ และรัฐบาลตะวันตกที่มีต่อประเทศด้วย[5][6] วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2006 สำนักข่าวเผยแพร่บทบรรณาธิการร่วมจากหนังสือพิมพ์ของรัฐบาลเกาหลีเหนือเรียกร้องให้ถอนทหารอเมริกันออกจากเกาหลีใต้[7] แม้บทบรรณาธิการประจำวันที่ 1 มกราคมจะเป็นประเพณีของหนังสือพิมพ์เหล่านี้ แต่บทบรรณาธิการในปีนั้นได้รับความสนใจจากสำนักข่าวตะวันตก โดยเรียกร้องให้มี "การรณรงค์ทั่วประเทศเพื่อขับไล่ทหารสหรัฐ"[8] บทบรรณาธิการดังกล่าวมีการอ้างถึงการรวมชาติเกาหลีหลายครั้ง บทบรรณาธิการปี 2009 ได้รับความสนใจเช่นกัน เนื่องจากไม่มีการวิพากษ์วิจารณ์นโยบายของสหรัฐ และมีการยอมรับปัญหาเศรษฐกิจที่รุนแรงในประเทศ บทบรรณาธิการยังอ้างถึงการปลดอาวุธนิวเคลียร์ในคาบสมุทรเกาหลี ซึ่งนักวิเคราะห์กล่าวว่าเป็นสัญญาณที่ "มีความหวัง"[9][10] สิ่งนี้ได้รับการเน้นย้ำอีกครั้งในบทบรรณาธิการปี 2010 ซึ่งเรียกร้องให้ยุติการเป็นปฏิปักษ์กับสหรัฐและคาบสมุทรเกาหลีที่ปราศจากนิวเคลียร์[11]
ฉบับบรรณาธิการร่วมประจำปี 2011 นอกเหนือจากการเรียกร้องให้คาบสมุทรเกาหลีปลอดนิวเคลียร์และการลดความตึงเครียดระหว่างสองเกาหลีแล้ว ยังได้กล่าวถึงอุตสาหกรรมเบาที่กำลังเติบโตของสปป.เกาหลีเป็นครั้งแรก โดยให้เหตุผลว่าจะเป็นปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตอย่างรวดเร็วในปีใหม่และเพื่อบรรลุภารกิจระดับชาติคังซ็องแทกุก
ฉบับบรรณาธิการร่วมประจำปี 2012 เป็นฉบับแรกภายใต้การนำของคิม จ็อง-อึน เริ่มต้นด้วยการสดุดีครั้งใหญ่ต่อคิม จ็อง-อิล และนอกเหนือจากการเรียกร้องซ้ำ ๆ ให้ปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างสองเกาหลีและการปฏิบัติตามปฏิญญา 4 ตุลาคม ค.ศ. 2007 แล้ว ยังเรียกร้องให้คนทั้งชาติให้ความสำคัญกับการทำภารกิจปี 2012 ของคิม จ็อง-อิล ในการสร้างชาติที่เข้มแข็งและเจริญรุ่งเรือง สานต่อมรดกของเขาและคิม อิล-ซ็อง บิดาของเขาให้แก่ทั้งประเทศและอุดมการณ์สังคมนิยม และสร้างเสริมและส่งเสริมภาคส่วนต่าง ๆ ที่ประกอบกันเป็นชาติให้เป็นผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาชาติในทุกด้านและในทุกวิถีทาง
ธรรมเนียมนี้สิ้นสุดลงใน ค.ศ. 2013 เมื่อคิม จ็อง-อึนกล่าวสุนทรพจน์ปีใหม่ทางโทรทัศน์เป็นครั้งแรกในรอบ 19 ปี[12]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 "Minju Choson". The Great Soviet Encyclopedia. 1979. สืบค้นเมื่อ January 3, 2012.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Yonhap News Agency (2002). North Korea Handbook. Seoul: M.E. Sharpe. p. 414. ISBN 978-0-7656-3523-5.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Hotham, Oliver (12 March 2019). "North Korea's Minju Choson newspaper launches new website". NK News. สืบค้นเมื่อ 12 March 2019.
- ↑ "DPRK State Media Seminar Held". North Korea Leadership Watch. 8 March 2014. สืบค้นเมื่อ 17 October 2018.
- ↑ North Korea issues New Year denuclearization pledge. Reuters. December 31, 2008.
- ↑ N. Korea Vows to Rebuild Economy in New Year Message, The Korea Times, January 1, 2009.
- ↑ "Joint New Year Editorial Issued" เก็บถาวร 2013-05-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, KCNA, January 1, 2006.
- ↑ "North Korea Demands U.S. Troop Withdrawal" เก็บถาวร 2007-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. .Fox News. December 31, 2005.
- ↑ 2009 Joint New Year Editorial Issued, KCNA, January 1, 2009.
- ↑ North Korea message is mild on US. BBC News. January 1, 2009.
- ↑ Kim, Sam (January 1, 2010). N. Korea calls for end to enmity with U.S., hints at return to nuclear talks. Yonhap.
- ↑ Mullen, Jethro; Schwarz, Tim (1 January 2013). "In first New Year speech, North Korea's Kim Jong Un calls for economic revamp". CNN. สืบค้นเมื่อ 13 February 2018.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ
(ในภาษาเกาหลี จีน และอังกฤษ)
แม่แบบ:Media specialized on news and/or analysis about North Korea