มิตซูบิชิ สเปซเจ็ต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มิตซูบิชิ สเปซเจ็ต
บทบาทอากาศยานไอพ่นประจำภูมิภาค
ชาติกำเนิดญี่ปุ่น
บริษัทผู้ผลิตมิตซูบิชิเฮฟวีอินดัสทรีส์
ผู้ออกแบบมิตซูบิชิแอร์คราฟท์คอร์ปอเรชั่น
บินครั้งแรก11 พฤศจิกายน ค.ศ. 2015
สถานะยกเลิก[1]
ช่วงการผลิตค.ศ. 2010 – 2020
จำนวนที่ผลิต8 ลำ
มูลค่าเอ็มอาร์เจ70: 46.3 ล้านดอลลาร์
เอ็มอาร์เจ90: 47.3 ล้านดอลลาร์[2]
พัฒนามาจากโบอิง 737 NG

มิตซูบิชิ สเปซเจ็ต (Mitsubishi SpaceJet) หรือชื่อเดิม มิตซูบิชิ รีเจนัล เจ็ต (Mitsubishi Regional Jet) เป็นรุ่นของอากาศยานไอพ่นระดับภูมิภาคขนาดสองเครื่องยนต์ของบรรษัทอากาศยานมิตซูบิชิ ซึ่งเป็นบรรษัทร่วมทุนระหว่างมิตซูบิชิเฮฟวีอินดัสทรีส์กับโตโยต้ามอเตอร์คอร์ปอเรชัน[3] และได้บริษัทซูบารุเป็นที่ปรึกษาออกแบบ อากาศยานแบบนี้สามารถผู้โดยสารได้ 70–90 ที่นั่ง ซึ่งจะกลายเป็นอากาศยานพาณิชย์แบบแรกที่ผลิตโดยญี่ปุ่นถัดจากรุ่นNAMC YS-11 ในทศวรรษที่ 1960[4][5]

สเปซเจ็ตขึ้นบินครั้งแรกเมื่อพฤศจิกายน ค.ศ. 2015[6] แต่ด้วยความล่าช้าหลายอย่าง ทำให้การส่งมอบจะเริ่มได้ในกลางปี 2020[7]

ประวัติ[แก้]

ในปีค.ศ. 2003 รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศแผนวิจัยห้าปีมูลค่า 5 หมื่นล้านเยนเพื่อพัฒนาอากาศยานในทวีปที่มีความจุผู้โดยสาร 30-90 คน นำโดยบริษัทมิตซูบิชิเฮฟวีอินดัสทรีส์ (MHI)[8] ต่อมาในปี 2004 มิตซูบิชิแถลงว่าพวกเขาจะมุ่งเน้นสร้างเครื่องบินที่มีลำตัวกว้าง 2.8 เมตรและสูง 2 เมตร แถวที่นั่งแบบ 2-2 จุผู้โดยสารได้ 30-50 คน โดยคาดหวังว่าเครื่องบินตัวต้นแบบจะขึ้นบินทดสอบได้ภายในปีค.ศ. 2007 และสามารถส่งมอบเครื่องบินลำแรกได้ในปีค.ศ. 2010[9] ต่อมาในปีค.ศ. 2005 มิตซูบิชิได้เปลี่ยนแผนไปสร้างเครื่องบินที่ใหญ่ขึ้นจุผู้โดยสารได้ 70-90 คนแทน[10]

มิถุนายน ค.ศ. 2007 มิตซูบิชิเปิดภาพคอนเซปต์ในงานปารีสแอร์โชว์ครั้งที่ 47 และยังเริ่มการเสนอขายเครื่องบินรุ่นนี้แก่สายการบินต่างๆในเดือนตุลาคมปีเดียวกัน ซึ่งจะถือเป็นอากาศยานพาณิชย์ลำแรกของญี่ปุ่นหลังสายการผลิตเครื่องบินNAMC YS-11 ยุติไปตั้งแต่ปีค.ศ. 1974 มิตซูบิชิเปิดเผยว่าเครื่องบินรุ่นนี้จะมีอยู่สองรุ่นย่อยด้วยกัน คือแบบ MRJ70 ขนาด 70-80 ที่นั่ง และแบบ MRJ90 ขนาด 86-96 ที่นั่ง[11]

มิตซูบิชิเปิดตัวเครื่องรีเจนัลเจ็ตในวันที่ 28 มีนาคม ค.ศ. 2008 พร้อมกับคำเสนอซื้อจำนวน 25 ลำโดยออลนิปปอนแอร์เวย์ (ยืนยันซื้อ 15 ลำ, โอกาสจัดหา 10 ลำ)[12] มิตซูบิชิหวังว่าเครื่องบินรุ่นนี้จะสามารถครองส่วนแบ่ง 20% ของตลาดเครื่องบินขนาดนี้เป็นเวลามากกว่า 20 ปี อย่างไรก็ตาม เที่ยวบินทดสอบล่าช้าออกไปเป็นปลายปีค.ศ. 2011 และมีการคาดการณ์ว่ามิตซูบิชิจะต้องขายเครื่องบินรุ่นนี้ให้ได้ 300-400 ลำจึงจะคุ้มทุน[5]

คำสั่งซื้อและการส่งมอบ[แก้]

ออลนิปปอนแอร์เวย์เป็นลูกค้ารายแรกของเครื่องบินรุ่นนี้ โดยมีการสั่งซื้อขนาด 90 ที่นั่งจำนวน 15 ลำ และเป็นโอกาสจัดหาเพิ่มเติมอีก 10 ลำ[13]

วันสั่งซื้อ สายการบิน / ผู้ซื้อ เข้าประจำการ ประเภท
เอ็มอาร์เจ70 เอ็มอาร์เจ90 สิทธิการสั่งซื้อ
27 มีนาคม 2008 ญี่ปุ่น ออลนิปปอนแอร์เวย์[13] 2020 15 10
2 ตุลาคม 2009 สหรัฐ Trans States Holdings[14] 2020 50 50
11 กรกฎาคม 2012 สหรัฐ สกายเวสต์แอร์ไลน์[15][16] n/a 100 100
14 กรกฎาคม 2014 ประเทศพม่า แอร์มัณฑะเลย์[17] n/a 6 4
28 มกราคม 2015 ญี่ปุ่น เจแปนแอร์ไลน์[18][19] 2022 32
16 กุมภาพันธ์ 2016 สหรัฐ AeroLease Aviation, LLC[20] n/a 10 10
11 กรกฎาคม 2016 สวีเดน Rockton AB[21] n/a 10 10
ทั้งหมด ? 213[22] 194[22]

ข้อมูลจำเพาะ[แก้]

เบื้องหน้า
เครื่องยนต์เจ็ต Pratt & Whitney PW1000G เทอร์โบแฟน
  • อักษรจำแนกชั้น: J คือชั้นธุรกิจ, W คือชั้นประหยัดพรีเมี่ยม และ Y คือชั้นประหยัด
ข้อมูลทั่วไปของมิตซูบิชิ สเปซเจ็ต[23]
รุ่นย่อย MRJ70 MRJ90 M100[24]
ที่นั่งผู้โดยสาร 69 ที่นั่ง (9J + 60Y)
หรือประหยัด 80 ที่นั่ง
81 ที่นั่ง (9J + 72Y)
หรือประหยัด 92 ที่นั่ง
76 ที่นั่ง (12J+12W+52Y)
หรือประหยัด 84 ที่นั่ง
ระยะห่างแถวที่นั่ง 74–79 ซม.ในชั้นประหยัด, 91 ซม.ในชั้นธุรกิจ
ห้องโดยสาร กว้าง 2.03 เมตร x สูง 2.76 เมตร
ความยาว 33.4 เมตร 35.8 เมตร 34.5 m (113 ft)
ช่วงระหว่างปลายปีก 29.2 เมตร 27.8 เมตร
ความสูงหาง 10.4 เมตร
น้ำหนักบินขึ้นสูงสุด LR : 40,200 กิโลกรัม LR : 42,800 กิโลกรัม 42 ตัน
น้ำหนักบรรทุกเปล่า - 26,000 กิโลกรัม[25]
ความจุเชื้อเพลิง - 12,100 ลิตร[26]
เครื่องยนต์ (2x) Pratt & Whitney PW1215G Pratt & Whitney PW1217G
เส้นผ่าศูนย์กลางใบพัด 142 เซนติเมตร[27]
แรงขับเครื่องยนต์ (2ตัว) 69.3 กิโลนิวตัน 78.2 กิโลนิวตัน
พิสัยบิน LR : 3,740 กิโลเมตร LR : 3,770 กิโลเมตร 1,910 nmi (3,540 km)
ความเร็วบินปกติ มัค 0.78 (829 กม/ชม.)
เพดานบินสูงสุด 11,900 เมตร
ความยาวทางวิ่งเพื่อทะยานขึ้น (MTOW, SL, ISA) LR : 1,720 เมตร LR : 1,740 เมตร
ความยาวทางวิ่งเพื่อลงจอด (MLW, Dry) 1,430 เมตร 1,480 เมตร

อ้างอิง[แก้]

  1. Chieko Tsuneoka (7 February 2023). "Japan Ends Multibillion-Dollar Bid to Enter Passenger-Jet Market". Wall Street Journal. Tokyo.
  2. Richard Smith (October 10, 2016). "Mitsubishi's jet set for push into Middle East". The National (UAE).
  3. "Toyota to sink $67.2 mln in Mitsubishi passenger jet". China Economic Net. Xinhua News Agency. 23 May 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-18. สืบค้นเมื่อ 20 June 2008.
  4. Anselmo, Joe (24 October 2014). "Milestone for the Mitsubishi MRJ". Aviation Week & Space Technology. สืบค้นเมื่อ 25 October 2014.
  5. 5.0 5.1 Mecham, Michael; Anselmo, Joe (17 March 2008). "Mitsubishi Leads Japanese Aircraft Resurgence" (PDF). Aviation Week & Space Technology. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-10-25. สืบค้นเมื่อ 25 October 2014.
  6. Kageyama, Yuri (16 October 2014). "Mitsubishi Unveils First Japanese Built Passenger Jet In 40 Years". AviationPros. Associated Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 October 2014. สืบค้นเมื่อ 16 October 2014.
  7. "Mitsubishi delays MRJ deliveries by two years". Flight Global. 23 January 2017.
  8. "MHI to lead on Japan's regional jet". Flight International. 29 April 2003.
  9. "Japan Aerospace 2004 - Mitsubishi shows regional jet model". Flight International. 12 October 2004.
  10. "MHI moves to larger jet". Flight International. 19 April 2005.
  11. "Mitsubishi formally offers new MRJ regional jet to airlines". Flight International. 15 October 2007.
  12. "MHI Officially Launches Mitsubishi Regional Jet Program" (Press release). Mitsubishi Heavy Industries, Ltd. March 28, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2019-07-12.
  13. 13.0 13.1 "ANA Selects Mitsubishi Regional Jet—firm order for 15 aircraft with 10 options" (Press release). Tokyo: ANA. 27 March 2008. สืบค้นเมื่อ 27 March 2008.
  14. Reals, Kerry (1 February 2011). "Trans States firms up order for up to 100 MRJs". London: Flightglobal. สืบค้นเมื่อ 12 July 2012.
  15. Catts, Tim; Tomesco, Frederic (12 July 2012). "Mitsubishi Wins SkyWest Jet Sale in Blow to Bombardier". Bloomberg News. สืบค้นเมื่อ 12 July 2012.
  16. Toh, Mavis (13 December 2012). "SkyWest firms deal for 100 MRJ90s". Singapore: Flightglobal. สืบค้นเมื่อ 13 December 2012.
  17. "Air Mandalay Signs Definitive Agreement for Purchase of up to Ten MRJ Aircraft—MRJ value recognized in growing Asian market" (Press release). Farnborough, Hampshire: Mitsubishi Aircraft Corporation. 15 July 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-11. สืบค้นเมื่อ 15 July 2014.
  18. Chong, Aaron (28 January 2015). "JAL firms up order for 32 MRJ aircraft". Singapore: Flightglobal. สืบค้นเมื่อ 28 January 2015.
  19. Matsuda, Kiyotaka (28 August 2014). "JAL Said to Plan Order for 32 Mitsubishi Regional Jets". Bloomberg News. สืบค้นเมื่อ 28 August 2014.
  20. "Aerolease Aviation signs LOI with Mitsubishi Aircraft for purchase of up to 20 MRJ—Launch lessor in MRJ program" (Press release). Singapore: Mitsubishi Aircraft Corporation. 16 February 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-07. สืบค้นเมื่อ 1 March 2016.
  21. "Rockton signs LOI with Mitsubishi Aircraft for purchase of up to 20 MRJ—First European company and second lessor in MRJ program to select the MRJ" (Press release). Farnborough, Hampshire: Mitsubishi Aircraft Corporation. 11 July 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-17. สืบค้นเมื่อ 12 July 2016.
  22. 22.0 22.1 Ellis Taylor (21 Dec 2018). "MRJ set to start type certification testing in 2019". Flightglobal.
  23. "MRJ Brochure" (PDF). Mitsubishi Aircraft Corporation. 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-04-18. สืบค้นเมื่อ 4 May 2016.
  24. Bjorn Fehrm (June 13, 2019). "How Mitsubishi Aircraft morphed the MRJ70 into the M100 SpaceJet". Leeham News.
  25. "Mitsubishi Regional Jet, MRJ, compared with second generation regional jets". Leeham News. 4 Aug 2015. สืบค้นเมื่อ 4 August 2015.
  26. "Overview of MRJ Program and Systems, ICAS Biennial Workshop - 2015, Complex Systems Integrations in Aeronautics" (PDF). International Council of the Aeronautical Sciences. 31 Aug 2015. สืบค้นเมื่อ 16 May 2018.
  27. "Powering the Mitsubishi Regional Jet—PurePower PW1200G Engine" (PDF). Pratt & Whitney. สืบค้นเมื่อ 21 October 2014.