มาเซราตี เอ็มซี12

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Maserati MC12
ภาพรวม
เริ่มผลิตเมื่อ2004-2005 (ผลิต 50+12 คัน)
ผู้ออกแบบแฟรงค์ สตีเวนสัน
ตัวถังและช่วงล่าง
ประเภทรถยนต์นั่งสมรรถนะสูง
รถแข่ง
รูปแบบตัวถังคูเป้
โครงสร้าง เครื่องวางกลางหลังคนขับ ขับเคลื่อนล้อหลัง
รุ่นที่คล้ายกันเฟอร์รารี่ เอ็นโซ
ระบบส่งกำลัง
เครื่องยนต์6.0L เอฟ140 V12
ระบบเกียร์Maserati Cambiocorsa เกียร์กึ่งอัตโนมัติ 6 จังหวะ[1]
มิติ
ระยะฐานล้อ2,800 mm (110.2 in)[2]
ความยาว5,143 mm (202.5 in)[2]
ความกว้าง2,096 mm (82.5 in)[2]
ความสูง1,205 mm (47.4 in)[2]
น้ำหนัก1,335 kg (2,943 lb) (dry)
1,497 kg (3,300 lb) (kerb)[3]
ระยะเหตุการณ์
รุ่นก่อนหน้ามาเซราติ บอร่า
รุ่นต่อไปมาเซราติ เอ็มซี20

มาเซราติ เอ็มซี12 (อังกฤษ: Maserati MC12) เป็นรถยนต์นั่งสมรรถนะสูง เครื่องยนต์กลางลำหลัง ขับเคลื่อนสองล้อท้าย (RMR) 2 ประตู 2 ที่นั่ง ผลิตโดยบริษัทมาเซราติ บริษัทสัญชาติอิตาลี เริ่มผลิตตั้งแต่ปี 2004 จำนวนทั้งหมด 25 คัน และอีก 25 คัน ในปี 2005 ทำให้มี เอ็มซี12 ที่จำหน่ายทั่วไปเพียง 50 คัน[1][4] และมีรถที่ผลิตเพื่อการแข่งขันเพิ่มอีก 12 คัน จึงมีการผลิตทั้งหมดเพียง 62 คันในโลกเท่านั้น[5] โดยเปิดให้จองในราคา 600,000 (23 ล้านบาท)

มาเซราติออกแบบและสร้างบนโครงของ เฟอร์รารี่ เอ็นโซ แต่ในท้ายที่สุดรถคันนี้ใหญ่กว่า และมีสัมประสิทธิการต้านอากาศที่ต่ำกว่า[4] เอ็มซี12 ยาวกว่า กว้างกว่า สูงกว่าและมีความโค้งมากกว่า ขณะที่เฟอร์รารี่ เอ็นโซมีอัตราการเร่งที่เร็วกว่า เบรกที่มีประสิทธิภาพมากกว่า (เบรกในระยะที่สั้นกว่า) ความเร็วของเอ็มซี12 อยู่ที่ 330 กม./ชม. ส่วนของเฟอร์รารี่ เอ็นโซ อยู่ที่ 350 กม./ชม.[4][6]

ภาพรวม[แก้]

เอมซี12 เป็นรถสองประตู คูเป้ ที่สามารถอดหลังคาได้ แต่ไม่สามารถนำหลังคาเก็บไว้ในรถได้[7] เครื่องยนต์วางกลางลำหลัง (เครื่องยนต์อยู่ระหว่างเพลา แต่อยู่หลังห้องโดยสาร) ช่วยให้จุดศูนย์ถ่วงของรถอยู่ตรงกลางซึ่งจะเพิ่มความเสถียรและเพิ่มความสามารถในการเข้าโค้งของรถ การกระจายน้ำหนักอยู่ที่ ด้านหน้า 41% และด้านหลัง 59% อย่างไรก็ตามความเร็วที่เกิดจากแรงเสียดทานของสปอยเลอร์หลังจะส่งผลกระทบต่อไปในระยะที่ 200 กม./ชม. แรงกดที่ 34% อยู่ที่ด้านหน้าและ 66% ที่ด้านหลัง[7]

ภายใน[แก้]

ถึงแม้รถจะถูกออกแบบมาเพื่อเป็นการดัดแปลงเพื่อเป็นรถแข่ง แต่การตกแต่งภายในก็เพื่อความหรูหรา ภายในเป็นส่วนวัสดุคาร์บอนไฟเบอร์เคลือบด้วยเจล หนังสีฟ้าและเงิน "Brightex" ซึ่งเป็นวัสดุสังเคราะห์ที่พบว่า "แพงเกินไปสำหรับอุตสาหกรรมแฟชั่น"[6] คอนโซลกลางมีลักษณะคล้ายนาฬิการูปไข่มาเซราตีและปุ่มสตาร์ทสีน้ำเงิน แต่ได้รับการวิจารณ์ว่าไม่มีวิทยุเครื่องเสียง หรือพื้นที่ติดตั้งเพิ่ม[8][9]

ภายนอก[แก้]

มาเซราติ เอมซี12

โครงของรถที่ทำจากคาร์บอนไฟเบอร์ได้รับการทดสอบในอุโมงค์ลมเพื่อให้ได้แรงกดสูงสุดทั่วทุกพื้นผิว ดังนั้นสปอยเลอร์หลังจึงมีความกว้าง 2 เมตร (79 นิ้ว) แต่หนาเพียง 30 มิลลิเมตร (1.2 นิ้ว) ด้านล่างของรถเรียบและกันชนด้านหลังมีตัวกระจายแรง[1] อากาศจะถูกดูดเข้าไปในห้องเครื่องยนต์ผ่านช่องดักอากาศด้านบน ทำให้ตำแหน่งบนด้านบนของห้องโดยสารทำให้รถสูงกว่า เฟอร์รารี่ เอ็นโซ ด้านนอกมีให้เลือกเฉพาะในรูปแบบสีขาวและสีฟ้าซึ่งเป็นเกียรติแก่ทีมแข่งรถ "America Camoradi" ซึ่งขับรถมาเซราติ Tipo Birdcages ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1960[10][11] รถคันให้ความรู้สึกอึดอัดที่เกิดจากขนาดของมันซึ่งยาวและกว้างกว่า ฮัมเมอร์ เอช2[9] รวมกับการที่รถคันนี้ไม่มีกระจกด้านหลัง ทำให้การจอดรถคันนี้เป็นเรื่องท้าทาย[9]

เครื่องยนต์[แก้]

เอ็มซี12 ใช้เครื่องยนต์ V12 น้ำหนัก 232 กิโลกรัม ความจุ 5,998 ซีซี ซึ่งกระบอกสูบทำมุม 65 องศา[12] แต่ละกระบอกสูบมีวาล์วสี่ตัว ใช้การหล่อลื่นแบบอ่างแห้ง อัตราส่วนการอัดเท่ากับ 11.2: 1[13] ให้แรงบิดสูงสุด 652 นิวตันเมตร (481 ลูกบาศก์ฟุต) ที่ 5,500 รอบต่อนาที[13]

เอ็มซี12 สามารถเร่งความเร็วจาก 0–100 กม./ชม. ใน 3.8 วินาที (แม้ว่า Motor Trend Magazine จะระบุเวลา 3.7 วินาที) และ 0–200 กม./ชม. ใน 9.9 วินาที[7][1][2] สามารถทำเวลา 1/4 ไมล์ใน 11.3 วินาที โดยมีความเร็วปลายทาง 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือหนึ่งกิโลเมตรใน 20.1 วินาที[7][2] ความเร็วสูงสุดของ มาเซราติ เอมซี12 ทำได้ที่ 330 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (205 ไมล์ต่อชั่วโมง)[2]

กำลังขับเคลื่อนไปยังล้อ ผ่านชุดเกียร์กึ่งอัตโนมัติแบบหกจังหวะด้านหลัง[14] กระปุกเกียร์จะเหมือนกับชุดเกียร์ของ เฟอร์รารี่ เอ็นโซ (ปรับอัตราส่วนให้ต่างกัน) ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็น "Maserati Cambiocorsa" ให้เวลาในการเปลี่ยนเพียง 150 มิลลิวินาที และเป็นกลไกที่มีคลัทช์แบบคู่ขนาด 215 มม.[1][4][15]

เกียร์ 1 2 3 4 5 6 Final drive
อัตราส่วน
3.15:1 2.18:1 1.57:1 1.19:1 0.94:1 0.71:1 4.10:1

แซสซี[แก้]

"ล้อของมาเซราติ เอมซี12"

แชสซีของ MC12 เป็นโครงสร้างตัวถังแบบไร้โครง (monocoque) ที่ใช้วัสดุทำจากคาร์บอนและ nomex โดยมีโครงตัวถังย่อยทำจากอลูมิเนียมที่ด้านหน้าและด้านหลัง มีโรล์บาร์เพื่อเพิ่มความแข็งแรงความสะดวกสบายและความปลอดภัย[7][10] ปีกนกคู่กับสปริงม้วนแบบ push-rod ช่วยให้รถเสถียร และช่วยให้ผู้โดยสารนั่งได้อย่างราบรื่น[16] ด้านหน้าของรถสามารถยกขึ้นสำหรับการผ่านลูกระนาดและเนินเขาโดยการกดปุ่มยกชุดกันสะเทือนหน้า[8] มีสองโหมดสำหรับการปรับแต่งแชสซี ซึ่งสามารถเปลี่ยนได้ด้วยปุ่มในห้องโดยสารโดยโหมด "สปอร์ต" เป็นการตั้งค่ามาตรฐาน และโหมด "Race" จะมีคุณสมบัติระบบควบคุมการยึดเกาะ "Bosch ASR" (anti-slip regulation) ทำงานน้อยกว่า การเปลี่ยนเกียร์เร็วขึ้น และระบบกันสะเทือนที่แข็งขึ้น[1][17]

ล้อ[แก้]

MC12 มีล้อขนาด 480 มม. (19 นิ้ว) ที่มีความกว้าง 230 มิลลิเมตร (9 นิ้ว) ที่ด้านหน้า และ 330 มม. (13 นิ้ว) ที่ด้านหลัง ยางเป็นรุ่น "Pirelli P Zero Corsas" รหัส 245/35 ZR 19 สำหรับยางหน้า และ 345/35 ZR 19 สำหรับด้านหลัง[11] เบรคเป็นดิสก์เบรก Brembo พร้อมระบบเบรกป้องกันล้อล็อกของ Bosch (ABS)[16] เบรคหน้ามีเส้นผ่านศูนย์กลาง 380 มิลลิเมตร (15 นิ้ว) ที่มีปากกาจับลูกสูบเบรค 6 ตัว มีเบรคหลังมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 335 มิลลิเมตร (13.2 นิ้ว) มีปากกาจับลูกสูบเบรค 4 ตัว[16] น็อตล็อคล้อที่ดุมกลางซึ่งยึดล้อเข้ากับแชสซีจะมีรหัสสี โดยสีแดงเป็นทางซ้ายของรถ สีน้ำเงินเป็นทางด้านขวา[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 "Maserati Indy: MC12". Maserati Indy. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 กันยายน 2015. สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2006.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 "Carfolio: Maserati MC12". Carfolio. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 กันยายน 2015. สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2006.
  3. "Car and Driver Maserati MC12 First Drive". Car and Driver. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2016.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Hall, Nick. "World Car Fans test drive MC12". World Car Fans. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 กันยายน 2015. สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2006.
  5. "The Top 10 Maserati Car Models Of All-Time". Money Inc (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 6 มิถุนายน 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2018. สืบค้นเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2018.
  6. 6.0 6.1 Dron, Peter (16 เมษายน 2005). "Telegraph: It costs how much?". The Daily Telegraph. London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 เมษายน 2006. สืบค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2006.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 Markus, Frank. "Motor Trend Road Test". Motor Trend. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 กันยายน 2015. สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2006.
  8. 8.0 8.1 "Maserati MC12". Cool Supercars. 26 พฤศจิกายน 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2007. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2006.
  9. 9.0 9.1 9.2 Frank Mountain (2004). Fifth Gear: Maserati MC12 (Tv Series). Cadwell Park: Five.
  10. 10.0 10.1 "2004 Maserati MC12". RSsportscars. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 กันยายน 2015. สืบค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2015.
  11. 11.0 11.1 "Road and Track road tests: MC12". Road and Track. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 กันยายน 2007. สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2006.
  12. "MC 12". vitaphone-racing.de. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 ตุลาคม 2007. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2010.
  13. 13.0 13.1 "Technical Data: 2004 Maserati MC12". Global Car Locator. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 เมษายน 2005. สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2006.
  14. "Maserati MC12". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2020. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2020.
  15. Tan, Paul. "VW phases out automatics". Paul Tan. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2007. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2006.
  16. 16.0 16.1 16.2 "Maserati MC12". supercars.net. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2006.
  17. "Cars: Maserati MC12". FIA GT. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 ธันวาคม 2006. สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2006.