ข้ามไปเนื้อหา

มาสด้า ซีเอ็กซ์-9

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มาสด้า ซีเอกซ์-9
ภาพรวม
บริษัทผู้ผลิตมาสด้า
เริ่มผลิตเมื่อพ.ศ. 2550–ปัจจุบัน​
แหล่งผลิตญี่ปุ่น ญี่ปุ่น: ฮิโรชิม่า
ตัวถังและช่วงล่าง
ประเภทรถยนต์นั่งเอนกประสงค์สมรรถนะสูงขนาดกลาง
รูปแบบตัวถัง5 ประตู เอสยูวี
ระยะเหตุการณ์
รุ่นก่อนหน้ามาสด้า เอ็มพีวี
มาสด้า 5

มาสด้า CX-9 (อังกฤษ: Mazda CX-9) เป็นรถยนต์เอนกประสงค์สมรรถนะสูงขนาดกลาง (Mid-Size SUV) ผลิตโดยมาสด้า เริ่มผลิตในปี พ.ศ. 2550 ถูกพัฒนาขึ้นบนตัวถัง CD3 ซึ่งเป็นพื้นตัวถังสำหรับการพัฒนารถยนต์ขนาดกลางและรถยนต์ขนาดใหญ่ของมาสด้าและฟอร์ด ใช้ร่วมกับ มาสด้า 6 ฟอร์ด ฟิวชั่น และ ฟอร์ด เอดจ์

รุ่นที่หนึ่ง (พ.ศ. 2549–2558)

[แก้]
รุ่นที่หนึ่ง
ภาพรวม
เริ่มผลิตเมื่อพ.ศ. 2549–2558
แหล่งผลิตญี่ปุ่น: ฮิโรชิม่า
ผู้ออกแบบKaname Sawai (พ.ศ. 2547)
ตัวถังและช่วงล่าง
ประเภทรถยนต์นั่งอเนกประสงค์สมรรถภาพสูงขนาดกลาง
รูปแบบตัวถัง5 ประตู เอสยูวี
โครงสร้างเครื่องวางหน้า
ขับเคลื่อนล้อหน้า/สี่ล้อ
แพลตฟอร์มพื้นฐานฟอร์ด ซีดี3
รุ่นที่คล้ายกันฟอร์ด เอดจ์
ฟอร์ด ฟิวชัน
เมอร์คิวรี มิลาน
ลินคอล์น เอ็มเคแซด
มาสด้า6
ระบบส่งกำลัง
เครื่องยนต์3.5 L MZI V6 (รุ่นปี 2007)
3.7 L MZI V6 (รุ่นปี 2008-2015)
ระบบเกียร์อัตโนมัติ 6 จังหวะ F21
มิติ
ระยะฐานล้อ2,875 mm (113.2 in)
ความยาว5,075 mm (199.8 in)
ความกว้าง1,935 mm (76.2 in)
ความสูงรุ่นปี 2007-09: 1,730 mm (68 in)
รุ่นปี 2007-09 Grand Touring: 1,735 mm (68.3 in)
รุ่นปี 2010-15: 1,727 mm (68.0 in)
น้ำหนัก2,054 kg (4,528 lb)

มาสด้า ซีเอ็กซ์-9 เผยโฉมครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2549 ในงานนิวยอร์กมอเตอร์โชว์โดยในระยะแรกมาสด้ามีแผนทำตลาดซีเอ็กซ์-9 เฉพาะในอเมริกาเหนือเท่านั้น ยังไม่มีการจำหน่ายในญี่ปุ่น แม้ว่าจะผลิตจากประเทศญี่ปุ่นก็ตาม แต่หากทำตลาดอยู่ในตลาดเดียว โอกาสจะคืนทุนได้เร็วก็ยาก เพราะฉะนั้นหากประเทศอื่นๆ สามารถนำไปทำตลาดได้โดยสามารถรับมือกับยอดขายและกระแสตอบรับ โดยที่ไม่ขาดทุนและคุ้มค่า ก็ควรที่จะนำรถรุ่นนั้นๆ ไปขาย เป็นธรรมดาของบริษัทรถยนต์ จนในที่สุด ก็ได้ส่งออกไปขายในบางประเทศ ในรุ่นปรับโฉมซึ่งเปิดตัวในปี พ.ศ. 2552

มาสด้า ซีเอ็กซ์-9 มีเครื่องยนต์ 2 รุ่นคือ 3.5 และ 3.7 ลิตร ของ Ford ทั้งสองรุ่นเป็นเครื่องยนต์ V6 ขับเคลื่อนล้อหน้า และขับเคลื่อนสี่ล้อ ระบบเกียร์เป็นเกียร์อัตโนมัติ 6 สปีด และมีฐานการประกอบที่ประเทศญี่ปุ่น

ในประเทศไทย บริษัท มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้นำมาสด้า ซีเอ็กซ์-9 เข้ามาทำตลาดในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2552 โดยเคยนำมาอวดโฉมในงานบางกอกอินเตอร์เนชันแนลมอเตอร์โชว์ ปี พ.ศ. 2552 แต่ที่นำมาขายล่าช้ากว่าตลาดโลกเพราะมาสด้าคิดว่าควรจะรอรุ่นปรับโฉมจะดีกว่า กว่าจะได้เปิดตัวก็คือปี พ.ศ. 2552 เปิดตัวในราคา 3,690,000 บาท เครื่องยนต์ 3.7 ลิตร V6 เป็นรถนำเข้าจากต่างประเทศทั้งคัน

ปรับโฉมรุ่นปี 2010

[แก้]

สำหรับรุ่นปี 2010 มาสด้า ซีเอ็กซ์-9 ได้มีการปรับโฉมโดยมีกระจังหน้าใหม่ ระบบแอร์สามโซนและระบบบลูทูธแฮนฟรีเป็นคุณสมบัติมาตรฐานในทุกรุ่น

ปรับโฉมรุ่นปี 2010
ปรับโฉมรุ่นปี 2010 
ปรับโฉมรุ่นปี 2010
ปรับโฉมรุ่นปี 2010 

ปรับโฉมรุ่นปี 2013

[แก้]

สำหรับรุ่นปี 2013 ซีเอ็กซ์-9 ได้มีการปรับโฉมใหม่โดยเปลี่ยนแปลงภายนอก เช่น ไฟหน้าใหม่ กระจังหน้าใหม่

ปรับโฉมรุ่นปี 2013
ปรับโฉมรุ่นปี 2013 
ปรับโฉมรุ่นปี 2013
ปรับโฉมรุ่นปี 2013 

รุ่นที่สอง (TC; พ.ศ. 2559–ปัจจุบัน)

[แก้]
รุ่นที่สอง (TC)
ภาพรวม
ชนิดรถยนต์อเนกประสงค์สมรรถนะสูงประเภทครอสโอเวอร์ขนาดกลาง
เริ่มผลิตเมื่อพ.ศ. 2559–ปัจจุบัน
รุ่นปี2017–ปัจจุบัน
ตัวถังและช่วงล่าง
รูปแบบตัวถังรถยนต์อเนกประสงค์สมรรถนะสูง 5 ประตู
โครงสร้างเครื่องวางหน้า (ขวาง) ขับเคลื่อนล้อคู่หน้า/ขับเคลื่อน 4 ล้อ
รุ่นที่คล้ายกันMazda Atenza/Mazda6
Mazda CX-8
ระบบส่งกำลัง
เครื่องยนต์2.5 L SKYACTIV-G turbo I4 (เบนซิน)
ระบบเกียร์6-speed เกียร์อัตโนมัติ SKYACTIV-Drive
มิติ
ระยะฐานล้อ2,930 mm (115 in)
ความยาว5,075 mm (199.8 in)
ความกว้าง1,969 mm (77.5 in)
ความสูง1,747 mm (68.8 in)
น้ำหนัก1,924 kg (4,242 lb)
มาสด้า ซีเอ็กซ์-9 (ออสเตรเลีย)

ที่งานลอสแอนเจลิสออโต้โชว์ มาสด้าได้เผยโฉมรุ่นที่สองของซีเอ็กซ์-9 ซึ่งผ่านมาเก้าปีหลังจากเปิดตัวรุ่นแรก มาสด้า ซีเอ็กซ์-9 สร้างบนพื้นฐานและเครื่องยนต์สกายแอคทีฟที่มาสด้าได้แนะนำไปเมื่อ พ.ศ. 2554 มาสด้า ซีเอ็กซ์-9 รุ่นที่สองได้ใช้เครื่องยนต์ 2.5 ลิตร สกายแอคทีฟ-จี เบนซิน สี่สูบ ให้กำลัง 227 แรงม้าในน้ำมันออคเทน 87 และให้กำลัง 250 แรงม้าในน้ำมันพรีเมียม แรงบิด 470 นิวตันเมตร ใช้เครื่องยนต์ร่วมกับเกียร์อัตโนมัติ 6 จังหวะ การออกแบบภายนอกได้ใช้แนวทางการออกแบบโคโดะของมาสด้า ตัวรถมีขนาดสั้นกว่ารุ่นก่อน แต่มีฐานล้อที่ยาวกว่า น้ำหนักได้ลดลงไป 90 กิโลกรับในรุ่นขับเคลื่อนสองล้อและลดลงไป 130 กิโลกรัมในรุ่นขับเคลื่อนทุกล้อ

อ้างอิง

[แก้]