มาร (ศาสนาพุทธ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มาร (บาลี: มาร; มาจากรากศัพท์ มรฺ แปลว่า "ตาย" มารจึงแปลว่า "ผู้ทำให้ตาย") มารมี 5 จำพวก ได้แก่

1.กิเลสมาร

2.ขันธมาร

3.อภิสังขารมาร

4.เทวปุตตมาร

5.มัจจุมาร

ส่วนเทวปุตตมารหมายถึง เทวดาจำพวกหนึ่ง มีใจบาปหยาบช้าคอยกีดกันไม่ให้ทำบุญ[1]

ในพระพุทธศาสนาใช้หมายถึง สิ่งใด ๆ ที่ฆ่าบุคคลให้ตายจากคุณความดีหรือจากผลที่หมายอันประเสริฐ, สิ่งที่ล้างผลาญคุณความดี, ตัวการที่กำจัดหรือขัดขวางบุคคลมิให้บรรลุ ผลสำเร็จอันดีงาม[2]

ประเภท[แก้]

ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ได้แบ่งมารออกเป็น 5 ประเภท[2] ได้แก่

  1. กิเลสมาร คือ กิเลสซึ่งทำให้เรามีความประพฤติ และนิสัยไม่ดีต่าง ๆ ในแง่ของมารหมายถึง กิเลสที่คอยขัดขวางไม่ให้เราทำความดี เช่น นิวรณ์5
  2. ขันธมาร คือ ขันธ์ ซึ่งบกพร่องแล้วเป็นมารผลาญตัวเอง ในแง่ของมารหมายถึง ขันธ์ที่คอยกีดขวางการทำความดี เช่น ต้องการฟังธรรมะ แต่หูหนวก ไม่สามารถฟังธรรมได้ เป็นต้น
  3. อภิสังขารมาร คือ ความคิดนึกอันประกอบกับอารมณ์ เป็นมารเพราะเป็นตัวปรุงแต่งกรรม ทำให้เกิดชาติชรา เป็นต้น ขัดขวางไม่ให้หลุดพ้นจากทุกข์ในสังสารวัฏ
  4. เทวปุตตมาร เทวดาที่เป็นมาร คือ ท้าววสวัตตี จอมเทพแห่งสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี เป็นต้น
  5. มัจจุมาร คือ ความตายที่ตัดโอกาสการทำความดีของเรา

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, กรุงเทพพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า 904
  2. 2.0 2.1 , พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), มาร, พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]