มาร์โกส เปเรซ ฮิเมเนซ
มาร์โกส เปเรซ ฮิเมเนซ | |
---|---|
![]() | |
ประธานาธิบดีเวเนซุเอลา | |
ดำรงตำแหน่ง 2 ธันวาคม พ.ศ. 2495 – 23 มกราคม พ.ศ. 2501 รักษาการ: 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495 – 19 เมษายน พ.ศ. 2496 | |
ก่อนหน้า | เยอรมัน ซูซาเลส ฟลาเมริช |
ถัดไป | วูล์ฟกัง ลาร์ราซาบัล |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | มาร์โกส อีวานเกลิสตา เปเรซ ฮิเมเนซ 25 เมษายน พ.ศ. 2457 รัฐตาชีรา, ประเทศเวเนซุเอลา |
เสียชีวิต | 20 กันยายน พ.ศ. 2544 (87 ปี) อาร์โกเบนดัส, ประเทศสเปน |
เชื้อชาติ | เวเนซุเอลา |
คู่สมรส | ฟลอ แมเรีย ชาลบูธ |
บุตร | 5 |
ศิษย์เก่า | สถาบันเตรียมทหารแห่งเวเนซุเอลา |
อาชีพ | นักการเมือง |
วิชาชีพ | ทหาร |
ลายมือชื่อ | ![]() |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ![]() |
สังกัด | กองทัพเวเนซุเอลา |
ประจำการ | 2474–2501 |
ยศ | ![]() |
มาร์โกส อีวานเกลิสตา เปเรซ ฮิเมเนซ (สเปน: Marcos Evangelista Pérez Jiménez) เป็นผู้เผด็จการและอดีตประธานาธิบดีของประเทศเวเนซุเอลา เขาเข้าสู่อำนาจจากการรัฐประหารใน พ.ศ. 2491 เป็นผู้นำประเทศในฐานะหัวหน้าคณะรัฐประหารใน พ.ศ. 2490 – พ.ศ. 2495 และดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีใน พ.ศ. 2495 – พ.ศ. 2501 โดยมีการเลือกตั้งใน พ.ศ. 2492 ปรากฎว่าพรรคฝ่ายค้านชนะการเลือกตั้งจึงทำให้การเลือกตั้งนี้เป็นโมฆะและเปเรซได้กลับมาเป็นประธานาธิบดีในปี พ.ศ. 2496 และได้ยกเลิกรัฐธรมนูญเดิมและประกาศใช้รัฐธรรมนูญใหม่ซึ่งให้อำนาจเผด็จการแก่เขา[1]
ภายใต้การปกครองของเปเรซ เวเนซุเอลาเริ่มร่ำรวยจากการส่งออกน้ำมัน ทำให้รายได้ทั้งหมดนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศและโครงการต่างๆ ที่เขาได้สร้างขึ้น รวมถึงการสร้างถนน สะพาน สถานที่ราชการ และสถานที่สาธารณะเพิ่มขึ้นมาและกระจายได้ทั่วถึง ทั้งนี้อุตสาหกรรมต่างๆ ภายในประเทศทั้งไฟฟ้า เหมืองแร่ โรงงานเหล็กและโรงงานต่างๆ ได้พัฒนาขึ้นมาอย่างรวดเร็ว[2][3][4] ส่งผลให้สมัยของเปเรซนั้นเจริญเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ดี เปเรซถูกวิพากษ์วิจารณ์ในฐานะผู้เผด็จการที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน และเป็นผู้นำที่เผด็จการที่สุดในละตินอเมริกา[5] ทั้งนี้เขายังมีหน่วยตำรวจลับที่ชื่อ Dirección de Seguridad Nacional (DSN) ซึ่งเป็นหน่วยความมั่นคงของรัฐบาลได้จับผู้ที่วิจารณ์การบริหารงานของเขาและปราบปรามผู้ที่เห็นต่างจากเขา เพื่อพยายามรักษาอำนาจของเขาต่อไป ทั้งนี้รัฐบาลของเปเรซได้ต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างเข้มข้นอีกด้วย[6][7]
หลังการประท้วงครั้งใหญ่ในเวเนซุเอลาที่ต้องการประชาธิปไตย เปเรซได้หมดอำนาจลงหลังจากการรัฐประหารในวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2501[8][9] หลังจากนั้นเขาได้ลี้ภัยไปยังสาธารณรัฐโดมินิกัน ก่อนที่จะเดินทางไปลี้ภัยที่ไมอามี สหรัฐ และสุดท้ายเขาก็ได้ตั้งถิ่นฐานและอาศัยอยู่ที่ประเทศสเปนซึ่งขณะนั้นสเปนปกครองโดยฟรันซิสโก ฟรังโก และเขาได้ใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศสเปนเรื่อยมาจนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรมในวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2544 ที่อัลโกเบนดัส แคว้นมาดริด ประเทศสเปน ด้วยวัย 87 ปี[10]
ชีวิตช่วงต้นและการศึกษา[แก้]
เปเรซเกิดเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2457 ที่ มิเชเลนา รัฐตาชีรา เป็นบุตรของฆวน เปเรซ ซูตามันเต และอเดลา ฮิเมเนซ บิดาของเขาเป็นเกษตรกร ส่วนมารดาของเขาเป็นครู เขาเริ่มเข้าเรียนที่โรงเรียนในบ้านเกิดของเขาและได้ไปศึกษาต่อที่ประเทศโคลอมเบีย และใน พ.ศ. 2477 เขาได้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรของสถาบันเตรียมทหารแห่งเวเนซุเอลา โดยสอบได้ที่หนึ่งจากรุ่นเดียวกันกับเขา และสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนทหารคอริลอส ประเทศเปรู
ชีวิตส่วนตัว[แก้]
เขาสมรสกับฟลอ แมเรีย ชาลบูธ เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488 ทั้งคู่มิธิดาด้วยกัน 5 คน[11]
รางวัลและเกียรติยศ[แก้]
เขาได้รับอิสริยาภรณ์ลีเจียนออฟเมอริต จากรัฐบาลสหรัฐเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2497[12][13]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Hollis Micheal Tarver Denova, Julia C. Frederick (2005), The history of Venezuela, Greenwood Publishing Group. p357
- ↑ Martínez Castill, บ.ก. (มิถุนายน 2563). La intervención del Estado venezolano en la economía 1936-2016: alcances y límites (PDF). redalyc.org. ISBN 1315-2467. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2563.
{{cite book}}
: ตรวจสอบค่า|isbn=
: length (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
และ|date=
(help) - ↑ Penélope, Plaza, บ.ก. (กันยายน 2551). La construcción de una nación bajo el Nuevo Ideal Nacional. Obras públicas, ideología y representación durante la dictadura de Pérez Jiménez (PDF). Universidad Central de Venezuela. สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2563.
{{cite book}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
และ|date=
(help) - ↑ Gerardo, Lucas, บ.ก. (กรกฎาคม 2551). Industralización contemporánea en Venezuela (PDF). UCAB. สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2563.
{{cite book}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
และ|date=
(help) - ↑ "The Extradition of Marcos Perez Jimenez, 1959–63: Practical Precedent for Administrative Honesty?", Judith Ewell, Journal of Latin American Studies, 9, 2, 291–313, [1]
- ↑ Time, 23 August 1963, as cited in John Gunther, Inside South America, pp. 492–493
- ↑ Magallanes, Manuel Vicente (1873). Los partidos políticos en la evolución histórica venezolana. Mediterráneo.
- ↑ Holzer, Harold (2004). "Introduction". ใน Cuomo, Mario; Holzer, Harold (บ.ก.). Lincoln on Democracy. New York: Fordham University Press. p. xliv. ISBN 0823223450.
- ↑ Beyer, Rick (29 March 2011). "The Symphony That Helped Sink a Dictator". Astonish, Bewilder and Stupefy. สืบค้นเมื่อ 24 April 2017.
- ↑ Marcos Perez Jimenez Dies at 87
- ↑ "Benevolent Dictator Finally Loses Post". The Wilmington News. Vol. 24 no. 9. Wilmington, North Carolina. AP. 23 January 1958. p. 26. สืบค้นเมื่อ 4 May 2015.
- ↑ Office of the Historian, บ.ก. (19 January 1955). "Progress Report by the Operations Coordinating Board to the National Security Council". FRUS.
- ↑ "Marcos Perez Jimenez – Legion of Merit". valor.militarytimes.com.
![]() |
บทความเกี่ยวกับชีวประวัตินี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |