มาตุภูมิเพรียกหา
มาตุภูมิเพรียกหา | |
---|---|
รัสเซีย | |
สร้างเพื่อรำลึกถึง วีรชนแห่งยุทธการณ์ที่สตาลินกราด | |
แล้วเสร็จ | 15 ตุลาคม 1967 |
ที่ตั้ง | 48°44′33″N 44°32′13″E / 48.74250°N 44.53694°E มามาเยฟคูร์กัน วอลโกกราด ประเทศรัสเซีย |
ออกแบบโดย | เยฟเกนี วูเชติช, ยากอฟ เบโลปอลสกี, นีโกไล นีคีติน |
มาตุภูมิเพรียกหา (รัสเซีย: Родина-мать зовёт!, อักษรโรมัน: Rodina-mat' zovyot!, อังกฤษ: The Motherland Calls) เป็นประติมากรรมอนุสรณ์สงครามขนาดมหึมา ศิลปะนีโอคลาสสิกและสัจนิยมสังคมนิยม ตั้งอยู่บนเนินมามาเยฟคูร์กันใน วอลโกกราด ประเทศรัสเซีย ผลงานออกแบบนำโดยประติมากร เยฟเกนี วูเชติช ร่วมออกแบบโดยสถาปนิก ยาคอฟ เบโลปอลสกี ประติมากรรมนี้สร้างขึ้นจากคอนกรีตเพื่อระลึกถึงวีรชนในยุทธการณ์ที่สตาลินกราด และเป็นส่วนสำคัญของอนุสรณ์สถานซึ่งยังมีประติมากรรมชิ้นอื่น ๆ ตลอดจนลานจัตุรัสต่าง ๆ ตัวประติมากรรมมีความสูงจากฐาน 85 เมตร (279 ฟุต) และเคยเป็นรูปปั้นที่สูงที่สุดในโลกเมื่อสร้างแล้วเสร็จในปี 1967 และสูงที่สุดในยุโรปหากไม่นับส่วนฐาน ประติมากรรมตลอดจนอนุสรณ์สถานทั้งหมดได้รับการขึ้นทะเบียนโดยยูเนสโกในรายชื่อแหล่งมรดกโลกตั้งแต่ปี 2014
ประติมากรรมนี้แสดงรูปบุคลาธิษฐานของรัสเซียที่ซึ่งนิยมเรียกกันว่า มารดารัสเซีย ในรูปสตรีสวมผ้าคลุมที่ถูกลมพัดจนเป็นประดุจปีก ในมือขวาถือดาบ มือซ้ายกางออกเพรียกหาชาวโซเวียตให้เข้าร่วมสงคราม แรกเริ่มวางแผนจะสร้างประติมากรรมนี้ด้วยแกรนิต ด้วยความสูงเพียง 30 เมตร (98 ฟุต) และยังออกแบบให้มีทหารกองทัพแดงคุกเข่าคำนับและวางดาบต่อเบื้องหน้าของมารดารัสเซียและถือธงที่พับไว้ ก่อนจะเปลี่ยนในปี 1961 เป็นประติมากรรมคอนกรีตขนาดใหญ่โตที่สูงขึ้นกว่าเดิมเกือบสองเท่าและกลายมาเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์โดยนักเขียนและเจ้าหน้าที่ทหารของโซเวียต การออกแบบนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก เทพีแห่งชัยชนะที่มีปีกแห่งซามอธเทธรซ ประติมากรรมกรีกโบราณรูปเทพีแห่งชัยชนะ นีเก
ภูมิหลัง
[แก้]ยุทธการณ์ที่สตาลินกราดเป็นการปะทะครั้งใหญ่ระหว่างสหภาพโซเวียตและเยอรมนีของนาซีบนแนวรบตะวันออกของสงครามโลกครั้งที่สอง การต่อสู้ดำเนินนานหกเดือนระกว่างกรกฎาคม 1942 ถึงกุมภาพันธ์ 1943[1] โดยโซเวียตชนะการศึกแต่ด้วยราคาที่สูงลิ่วด้วยชาวโซเวียตเสียชีวิตมากกว่าหนึ่งล้านราย[2] การยุทธ์นี้ได้กลายมาเป็นตำนานในวัฒนธรรมโซเวียตอย่างรวดเร็ว และได้รับการยอมรับแพร่หลายว่าเป็นจุดเปลี่ยนในตำราประวัติศาสตร์โซเวียต[3]
แนวคิดก่อสร้างอนุสรณ์ฉลองชัยชนะของโซเวียตในศึกที่สตาลินกราดมีที่มาในช่วงปีท้าย ๆ ของสงครามโลกครั้งที่สองนักการเมืองและศิลปินโซเวียตได้พิจารณาการออกแบบต่าง ๆ สำหรับอนุสรณ์ก่อนสงครามจะสิ้นสุด และพิพิธภัณฑ์โซเวียตแห่งแรกที่ระลึกถึงสงครามโลกครั้งที่สองมีสถาปนาขึ้นเร็วถึงเดือนมีนาคม 1943[4] ในปี 1944 ชิ้นงานตีพิมพ์ Arkhitektura SSSR ออกบทความตำนวนหนึ่งที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับการออกแบบที่เป็นไปได้สำปรับอนุสรณ์[4] หลังสิ้นสุดสงครามในปี 1945 มีการสร้างและตั้งเสาโอเบลิสก์กับแผ่นป้ายระลึกจำนวนมากทั่วสหภาพโซเวียต กระนั้น โจเซฟ สตาลิน ได้เข้ามาตัดตอนแผนการใหญ่สำหรับอนุสรณ์ อันเนื่องมาจากปัญหาสงครามเย็น[5]
การออกแบบ
[แก้]การออกแบบแรกของวูเชติชและเบปอลสกีมีความทะเยอทะยายและได้อิทธิพลอย่างมากจากอนุสรณ์ที่อุทยานเทรพโทในเบอร์ลิน[6] โดยในแผนแรกเริ่มตั้งใจจะมีการสร้างประตูชัยที่เปิดออกสู่ขั้นบันไดหินแกรนิต ตามด้วยขั้นบันไดอิฐบนเส้นทางเดินที่ล้อมรอบด้วยต้อนพอพลาร์ลอมบาร์ดี[7] ขั้นบันไดหินแกรนิตชุดที่สองจะเปิดออกสู่ลานกว้างรูปวงกลม ตรงกลางเป็นประติมากรรมหินแกรนิตขนาดใหญ่แสดงรูปชายชาวรัสเซีย ชื่อชิ้นงานว่า หยัดยืนตราบสิ้นชีวี (Stand To the Death!)[8] ด้านหลังจะเป็นขั้นบันไดหินแกรนิตชุดสุดท้ายที่เปิดออกสู่ลานกว้างและมีทางเข้าสู่ใต้ดิน ชื่อว่า "ปาโนรามา" (Panorama)[9] โถงใต้ดินทรงคัพพอลานี้ภายในมีทั้งไฟนิรันดร์เพื่อระลึกถึงวีรชนแห่งสตาลินกราด, ประติมากรรมรูปชายตีดาบเป็นพานไถ และผนังสลักชื่อของผู้เสียชีวิตในศึกครั้งนั้น[10] ทางออกจากโถงนี้จะเปิดออกสู่ชั้นลอยเป็นจุดชมวิวที่สองซึ่งมีภาพจิตรกรรมพานอรามาแสดงสตาลินกราดที่เจริญรุ่งเรืองหลังสงคราม[10]
องค์ประแอบหลักของโครงการจะเป็นปริตมากรรมขนาดมหึมาบนยอดของเนินมามาเยฟคูร์กัน ที่ฐานมีชั้นสำหรับผู้เยี่ยมชมวางของที่ระลึกถึงผู้ตาย[10] ประติมากรรมนี้จะออกแบบโดยใช้องค์ประกอบอย่างนีโอคลาสสิกและสัจนิยมสังคมนิยมซึ่งเป็นทั้งสองศิลปกรรมที่วูเยวิชถนัด[11] แปลนเดิมออกแบบให้สร้างจากหินแกรนิตทั้งหมด และมีทหารโซเวียตคุกเข่าคำนับและวางดาบเบื้องหน้าบุคาธิษฐานของรัสเซียหรือมารดารัสเซียกำลังถือธงที่พับไว้ ต่อมาจึงเปลี่ยนมาเป็นรูปประติมากรรมคอนกรีตแสดงมารดารัสเซียคนเดียวสวมผ้าคลุมที่ถูกลมพัดจนกางออกคล้ายปีก มือขสาถือดาบ และมือซ้ายกางออกเพรียกหาคนโซเวียตมาต่อสู้กับศัตรู[12] การออกแบบนี้ได้แรงบันดาลใจมาจาก เทพีแห่งชัยชนะมีปีกแห่งซามอธเธรซ ประติมากรรมกรีกโบราณแสดงรูปเทพีแห่งชัยชนะ นีเก[13]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Hellbeck 2015, pp. 1–2.
- ↑ Hellbeck 2015, pp. 1, 12; Hoffmann 2021, p. 90; Winchester 2011, p. 91.
- ↑ Hoffmann 2021, p. 90.
- ↑ 4.0 4.1 Palmer 2009, p. 380.
- ↑ Palmer 2009, pp. 380–381.
- ↑ Palmer 2009, p. 382.
- ↑ Palmer 2009, p. 383; Anon.(a) n.d.
- ↑ Palmer 2009, p. 383.
- ↑ Palmer 2009, pp. 383–384.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 Palmer 2009, p. 385.
- ↑ Palmer 2009, pp. 378, 396; Farago 2018.
- ↑ Palmer 2009, pp. 385, 395.
- ↑ Palmer 2009, p. 395.
บรรณานุกรม
[แก้]หนังสือ
[แก้]- Lowe, Keith (8 December 2020). Prisoners of History: What Monuments to World War II Tell Us About Our History and Ourselves. New York: St. Martin's Press. ISBN 978-1-250-23504-6. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 June 2024. สืบค้นเมื่อ 27 June 2024.
- Hellbeck, Jochen (28 April 2015). Stalingrad: The City that Defeated the Third Reich. New York: PublicAffairs. ISBN 978-1-61039-496-3.
- Hoffmann, David L. (28 June 2021). The Memory of the Second World War in Soviet and Post-Soviet Russia. London: Routledge. doi:10.4324/9781003144915. ISBN 978-1-003-14491-5.
- Tumarkin, Nina (10 August 1995). The Living And The Dead. New York: Basic Books. ISBN 978-0-465-04144-2.
- Urbansky, Sören (28 January 2020). "Conclusion". Beyond the Steppe Frontier. Princeton University Press. pp. 266–276. doi:10.23943/princeton/9780691181684.003.0010. ISBN 978-0-691-18168-4.
- Winchester, Charles (20 August 2011). Hitler's War on Russia. Ian Drury. London: Bloomsbury Publishing. pp. 91–104. ISBN 978-1-84908-990-6.
บทความวิชาการ
[แก้]- Palmer, Scott (2009). "How Memory Was Made: The Construction of the Memorial to the Heroes of the Battle of Stalingrad". The Russian Review. Wiley. 68 (3): 373–407. doi:10.1111/j.1467-9434.2009.00530.x. ISSN 0036-0341. JSTOR 20621047. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 June 2024. สืบค้นเมื่อ 24 June 2024.
- Riabov, Oleg; Riabova, Tatiana; Kleshchenko, Liudmila (2022). "'Save the Children!': The Symbol of Childhood and (De)Legitimation of Power in Russian Protests, 2017–21". Region. Slavica Publishers. 11 (2): 235–252. ISSN 2166-4307. JSTOR 27221296. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 June 2024. สืบค้นเมื่อ 24 June 2024.
รายงานข่าว
[แก้]- Anatolyeva, Anna (18 March 2021). "Жители Волгограда Раскритиковали Вид Родины-Матери после Реставрации" [Volgograd Residents Criticize the Appearance of The Motherland Calls After Restoration]. Bloknot Volgograd (ภาษารัสเซีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 March 2021. สืบค้นเมื่อ 28 June 2024.
- Bickerton, James (16 November 2022). "Fact Check: Does Ted Cruz Book Cover Feature Soviet-Era Monument in Russia?". Newsweek. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 November 2023. สืบค้นเมื่อ 27 June 2024.
- Bloknot Volgograd writer (15 November 2014). "В Волгограде «Родину-Мать» Начнут Ремонтировать в 2015 Году" [In Volgograd, the "Motherland" Will Begin to Be Repaired in 2015]. Bloknot Volgograd (ภาษารัสเซีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 September 2021. สืบค้นเมื่อ 28 June 2024.
- Bogdanov, Ivan (10 July 2021). "Выполнявшая Скандальную Реставрацию «Родины-Матери» в Волгограде Компания Включена в Реестр Недобросовестных Поставщиков" [Company Involved in Controversial Restoration of The Motherland Calls in Volgograd Added to Registry of Unscrupulous Suppliers]. V1.ru (ภาษารัสเซีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 June 2024. สืบค้นเมื่อ 28 June 2024.
- Bradley, Jane (11 March 2022). "Ukraine-Russia Conflict: Users of Online Puzzle Game Take to Twitter After Spate of 'Pro-Russian' Answers". The Scotsman. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 June 2024. สืบค้นเมื่อ 27 June 2024.
- Coalson, Robert (20 April 2024). "Insta-Nazis: How Claims Of 'Rehabilitating Nazism' Are Molding A Militaristic Society In Putin's Russia". Radio Free Europe/Radio Liberty. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 June 2024. สืบค้นเมื่อ 25 June 2024.
- Farago, Jason (19 July 2018). "The Cement Mixer as Muse". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2019. สืบค้นเมื่อ 24 June 2024.
- Filimonova, Tatanya (21 August 2020). "Волгоградцы Призвали Наказать Артемия Лебедева за Критику "Родины-Матери"" [Volgograd Residents Call for Punishment of Artemy Lebedev for Criticizing The Motherland Calls]. Caucasian Knot (ภาษารัสเซีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 June 2024. สืบค้นเมื่อ 28 June 2024.
- Galpin, Richard (8 May 2009). "Russia's massive leaning statue". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 April 2022. สืบค้นเมื่อ 27 June 2024.
- Gorodskiye Vesti writer (17 August 2017). "Внутри Монумента «Родина-Мать Зовет!» Заменят 99 Стальных Канатов" [Inside the Monument The Motherland Calls! 99 Steel Cables Will Be Replaced]. Gorodskiye Vesti (ภาษารัสเซีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 November 2019. สืบค้นเมื่อ 28 June 2024.
- Gorodskiye Vesti writer (23 March 2020). "Последние Штрихи: Основание Родины-Матери Освобождают от Лесов" [Final Touches: The Base of The Motherland Calls Is Freed from Scaffolding]. Gorodskiye Vesti (ภาษารัสเซีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 June 2024. สืบค้นเมื่อ 28 June 2024.
- Gorodskiye Vesti writer (24 June 2020). "24 Июня после Масштабной Реставрации на Мамаевом Кургане Откроют Монумент «Родина Мать Зовёт!»" [On June 24, After Extensive Restoration, the Monument The Motherland Calls Will Open at Mamayev Kurgan]. Gorodskiye Vesti (ภาษารัสเซีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 June 2024. สืบค้นเมื่อ 28 June 2024.
- Heintz, Jim (7 May 2020). "AP Photos: Memorials Weave WWII Into Russia's Psyche". Associated Press. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 November 2023. สืบค้นเมื่อ 28 June 2024.
- Iordanova, Irina (19 March 2024). "Кто Заплатит за Фото «Родины-Матери» в Волгограде" [Who Will Pay for the Photo of the "Motherland" in Volgograd]. Gazeta (ภาษารัสเซีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 April 2024. สืบค้นเมื่อ 25 June 2024.
- Komsomolsky, Oleg (9 February 2024). "Грудь «Родины-матери» в Эпицентре Скандала: При Чем Здесь Путин и Ивлеева" [The Breasts of the "Motherland" in the Epicenter of a Scandal: What Putin and Ivleeva Have to Do With It]. News.ru (ภาษารัสเซีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 June 2024. สืบค้นเมื่อ 25 June 2024.
- Najibullah, Farangis (24 March 2017). "Navalny Supporters Face Real Blowback For Virtual 'Zelyonka' Attack". Radio Free Europe/Radio Liberty. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 June 2024. สืบค้นเมื่อ 24 June 2024.
- Novikov, Sergei (9 December 2013). "«Родина-Мать» Падёт?" [Will the "Motherland" Fall?]. Nasha Versia (ภาษารัสเซีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 May 2021. สืบค้นเมื่อ 28 June 2024.
- Papachristou, Lucy (9 February 2024). "Woman Faces 5 Years in Jail After Mocking Russian Statue on Instagram". The Independent. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 June 2024. สืบค้นเมื่อ 24 June 2024.
- Petrov, Andrei (29 April 2020). "Открытие Скульптуры "Родина-Мать Зовет!" на Мамаевом Кургане после Реставрации Перенесено из-за Пандемии" [The Unveiling of the Sculpture The Motherland Calls at Mamayev Kurgan Post-Restoration Has Been Postponed Due to the Pandemic]. Vestnik Kavkaza (ภาษารัสเซีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 June 2024. สืบค้นเมื่อ 28 June 2024.
- Petrov, Andrei (2 April 2024). "Родина-Мать Покрылась Странными Пятнами. Выясняем, Что Это Такое и Кто за Это Ответит" [The Motherland Calls is Covered in Strange Stains. We Investigate What These Are and Who Will Be Responsible]. E1.ru (ภาษารัสเซีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 June 2024. สืบค้นเมื่อ 28 June 2024.
- Radio Free Europe writer (19 October 2019). "Russia's Motherland Statue Calls…For A Makeover". Radio Free Europe/Radio Liberty. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 June 2024. สืบค้นเมื่อ 27 June 2024.
- Razdorskikh, Diana (10 May 2024). "Бастрыкин Указал Возбудить Уголовное Дело На Захотевшего Прикрыть Соски «Родины-Матери» Блогера" [Bastrykin Ordered a Criminal Case Against Blogger Who Wanted to Cover the Nipples of the "Motherland Calls" Statue]. Bloknot Volgograd (ภาษารัสเซีย). สืบค้นเมื่อ 29 July 2024.
- Serebryakov, Alexei (25 June 2019). "«Работаем Круглосуточно и Красить не Будем»: Всё о Реставрации «Родины-Матери» в Волгограде" ["We're Working Around the Clock and Not Going to Paint": Everything About the Restoration of The Motherland Calls in Volgograd]. V1.ru (ภาษารัสเซีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 March 2022. สืบค้นเมื่อ 28 June 2024.
- Serebryakov, Alexei (17 March 2021). "На Мамаевом Кургане «Родина-Мать» Покрылась Трещинами и Мрачными Пятнами" [At Mamayev Kurgan, The Motherland Calls Has Developed Cracks and Dark Stains]. Bloknot Volgograd (ภาษารัสเซีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 June 2022. สืบค้นเมื่อ 28 June 2024.
- Sokolova, Evgeniya (20 May 2019). "Внутри и Снаружи: в Волгограде Началась Реставрация Монумента «Родина-Мать Зовет!»" [Inside and Outside: the Restoration of the Monument "The Motherland Calls!" Has Begun in Volgograd]. V1.ru (ภาษารัสเซีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 June 2024. สืบค้นเมื่อ 28 June 2024.
- Sokolova, Evgeniya (5 August 2019). "Пластическая Операция для «Родины-Матери»: Ей Лечат Глаза и Руку" [Plastic Surgery for The Motherland Calls: Healing Her Eyes and Hand]. Е1.ru (ภาษารัสเซีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 December 2023. สืบค้นเมื่อ 28 June 2024.
- Sokolova, Evgeniya (8 November 2019). "«Весь Новодел Снимем»: на Стилобат Монумента «Родина-Мать Зовет!» не Вернут Гранитные Плиты" ["We Will Remove All New Work": Granite Slabs Will Not Return to the Pedestal of the Monument The Motherland Calls!]. V1.ru (ภาษารัสเซีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 June 2024. สืบค้นเมื่อ 28 June 2024.
- Sokolova, Evgeniya (8 November 2019). ""Опыт Перенесем на Все Объекты России»: В Волгограде Подвели Итоги Омоложения «Родины-Матери"" ["Experience Transferred to All Objects in Russia": Volgograd Summarizes the Rejuvenation of The Motherland Calls]. V1.ru (ภาษารัสเซีย). Viktoria Ryndina (correspondent). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 January 2022. สืบค้นเมื่อ 28 June 2024.
- Spinidonov, Ivan (10 March 2023). "В Волгограде Специалисты Проверят Надежность Монумента «Родина-Мать Зовет!»" [In Volgograd, Specialists Will Verify the Reliability of the Monument The Motherland Calls!]. Oblvesti. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 June 2024. สืบค้นเมื่อ 28 June 2024.
- Statsky, Grigori (15 October 2010). ""Родина-Мать» Ушла на «Больничный"" ["Motherland" on "Sick Leave"]. V1.ru (ภาษารัสเซีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 June 2024. สืบค้นเมื่อ 27 June 2024.
เว็บไซต์
[แก้]- Anon.[a] (n.d.). "Mamayev Kurgan Memorial Complex 'To the Heroes of the Battle of Stalingrad'". UNESCO World Heritage Sites (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 March 2022. สืบค้นเมื่อ 24 June 2024.
- Anon.[b] (n.d.). "Государственные Символы" [State Symbols]. Volgograd Oblast Duma (ภาษารัสเซีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 December 2019. สืบค้นเมื่อ 24 June 2024.
- Anon.[c] (n.d.). "20 Лет Международной Федерации Борцов Сопротивления" [20th Anniversary of the International Federation of Resistance Fighters]. Stamps.ru (ภาษารัสเซีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 June 2024. สืบค้นเมื่อ 24 June 2024.
- Anon.[d] (n.d.). "30 Лет Разгрому Советской Армией Фашстских Войск Под Сталинградом" [30th Anniversary of the Soviet Army's Defeat of Fascist Troops at Stalingrad]. Stamps.ru (ภาษารัสเซีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 June 2024. สืบค้นเมื่อ 24 June 2024.
- Anon.[e] (n.d.). "60 Лет Сталинградской Битве" [60th Anniversary of the Battle of Stalingrad]. Stamps.ru (ภาษารัสเซีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 June 2024. สืบค้นเมื่อ 24 June 2024.
- Anon.[f] (n.d.). "70-Летие Пазгрома Цоветскими Войсками Немецко-Фашистских Войск в Сталинградской битве" [70th Anniversary of the Defeat of Nazi German Troops by Soviet Troops in the Battle of Stalingrad]. Central Bank of Russia (ภาษารัสเซีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 June 2024. สืบค้นเมื่อ 24 June 2024.
- Anon.[g] (n.d.). "Мамаев Курган (в Специальном Исполнении)" [Mamayev Kurgan (Special Version)]. Central Bank of Russia (ภาษารัสเซีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 June 2024. สืบค้นเมื่อ 24 June 2024.
- Anon.[h] (n.d.). "Definition of piezometer". Merriam-Webster. สืบค้นเมื่อ 3 September 2024.
- Anon. (1 June 2021). "Statue Statistics". Statue Of Liberty National Monument. U.S. National Park Service. สืบค้นเมื่อ 28 August 2024.