มาตรา 301 (ประมวลกฎหมายอาญาตุรกี)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มาตรา 301 เป็นมาตราหนึ่งของประมวลกฎหมายอาญาตุรกี ซึงกำหนดให้การดูหมิ่นประเทศตุรกี ชนชาติเติร์ก สถาบันของรัฐตุรกี และวีรชนแห่งชาติตุรกี อย่างมุสตาฟา เคมาล อตาเติร์ก มีผลใช้บังคับในวันที่ 1 มิถุนายน 2548 และมีการริเริ่มโดยเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปกฎหมายอาญาในกระบวนการก่อนการเปิดเจรจาสมาชิกภาพของตุรกีในสหภาพยุโรป[1][2] เพื่อให้ตุรกีมีมาตรฐานเดียวกับสหภาพยุโรป นับแต่มาตราดังกล่าวเป็นกฎหมาย ทำให้เกิดคดีแล้ว 60 คดี ซึ่งบางคดีมีชื่อเสียงด้วย[3]

วันที่ 30 เมษายน 2551 มีการเปลี่ยนแปลงมาตรา 301 หลายอย่าง รวมทั้งการแก้ไขข้อกำหนดให้ต้องได้รับการอนุมัติของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมก่อนยื่นฟ้อง[4] ทั้งนี้เพื่อป้องกันการนำไปใช้ในทางที่ผิด เป็นการอุดช่องโหว่ของกฎหมายในฉบับเดิม[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Turkey's new penal code touches raw nerves," EurActiv June 2, 2005, updated November 14, 2005.
  2. Leicht, Justus (2006-02-06). "Turkey: Court drops prosecution of writer Orhan Pamuk". World Socialist Web site. ICFI. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 July 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-07-29.
  3. Lea, Richard. "In Istanbul, a writer awaits her day in court", The Guardian, July 24, 2006.
  4. CafeSiyaset: 301 yeni hali ile yürürlüğe girdi เก็บถาวร 2014-08-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ("New version of Article 301 takes effect") (ในภาษาตุรกี)
  5. "Turkey: Update on Campaign to Abolish Article 301 - English Pen". Writers in Prison Committee Bulletin. English Pen. 2008-02-21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-17. สืบค้นเมื่อ 2008-07-29.