มาตราระหว่างประเทศว่าด้วยเหตุการณ์ทางนิวเคลียร์
มาตราระหว่างประเทศว่าด้วยเหตุการณ์ทางนิวเคลียร์ (อังกฤษ: International Nuclear and Radiological Event Scale, INES) เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2533[1] โดยสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) เพื่อที่จะช่วยให้การติดต่อสื่อสารข้อมูลสำคัญด้านความปลอดภัยเป็นไปได้อย่างรวดเร็วในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุนิวเคลียร์
มาตราดังกล่าวตั้งใจที่จะให้เป็นมาตราส่วนเชิงลอการิทึม คล้ายกับมาตราขนาดโมเมนต์ซึ่งใช้เพื่ออธิบายเปรียบเทียบขนาดความรุนแรงของแผ่นดินไหว แต่ละระดับที่เพิ่มขึ้นนั้นแสดงว่าอุบัติเหตุจะมีความรุนแรงมากขึ้นเป็นสิบเท่าของระดับที่น้อยกว่าหนึ่งระดับ เมื่อเปรียบเทียบกับแผ่นดินไหว ขณะที่ความรุนแรงของมันนั้นสามารถวัดค่าออกมาเป็นปริมาณได้ แต่ระดับของอุบัติภัยที่เกิดขึ้นจากน้ำมือมนุษย์นั้น อย่างเช่นอุบัติเหตุนิวเคลียร์ เป็นประเด็นที่จะต้องใช้การตีความมากกว่า และเนื่องจากความยากของการตีความ ระดับ INES ของอุบัติเหตุนั้นจึงถูกตีค่าออกมาหลังจากเกิดเหตุการณ์ขึ้น ดังนั้น มาตราดังกล่าวจึงมีความสามารุที่จำกัดมากในการสนับสนุนการช่วยเหลือหลังเกิดเหตุการณ์
เนื่องจากมาตรา INES ไม่ได้รับการจัดโดยองค์กรกลาง อุบัติเหตุนิวเคลียร์ที่ได้รับความสนใจจากประชาชนบางครั้งจะถูกตีค่าโดยผู้ดำเนินงานของสถานที่ที่เกิดเหตุการณ์ โดยอดีตองค์การของประเทศ แต่ยังรวมถึงสถาบันทางวิทยาศาสตร์ องค์การระหว่างประเทศหรือผู้เชี่ยวชาญอื่นซึ่งอาจนำมาซึ่งความสับสนในความรุนแรงที่แท้จริง
เกณฑ์และตัวบ่งชี้หลายอย่างถูกนิยามให้สอดคล้องกับรายงานเหตุการณ์นิวเคลียร์โดยองค์การทางการที่แตกต่างกัน มาตรา INES ถูกแบ่งออกเป็นเจ็ดระดับ สามระดับเป็นระดับ "เหตุ" และอีกสี่ระดับเป็นระดับ "อุบัติเหตุ" นอกจากนี้ยังมีระดับ 0 อีกด้วย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Event scale revised for further clarity". World-nuclear-news.org. 6 October 2008. สืบค้นเมื่อ 13 September 2010.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Nuclear Events Web-based System (NEWS) เก็บถาวร 2009-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, IAEA
- International Nuclear Event Scale factsheet เก็บถาวร 2011-05-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, IAEA
- "International Nuclear Event Scale, User's manual" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-19. สืบค้นเมื่อ 19 March 2011. International Nuclear Event Scale, User's manual, IAEA, 2008