มาตราด็องฌง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มาตราด็องฌงของความสว่างจันทรุปราคา คือ มาตราห้าขั้นที่เป็นประโยชน์สำหรับวัดการปรากฏและความสว่างของดวงจันทร์ ระหว่างจันทรุปราคา มาตรานี้ถูกนำเสนอโดยอ็องเดร-หลุยส์ ด็องฌง (André-Louis Danjon) ในปี ค.ศ. 1921 เมื่อเขาสันนิษฐานว่า ความสว่างของจันทรุปราคานั้นเกี่ยวข้องกับวัฏจักรสุริยะ[1] ระดับของอุปราคาของมาตราด็องฌง โดยแบบดั้งเดิมจะใช้ตัวอักษร L เป็นการแสดงถึง

มาตรา[แก้]

ความหมายของมาตรา:

ค่า L ความหมาย
0 อุปราคามืดมาก ดวงจันทร์เกือบจะมองไม่เห็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับช่วงบดบังลึกทึ่สุด
1 อุปราคามืด เทา หรือ เป็นสีน้ำตาล รายละเอียดซึ่งมองเห็นความแตกต่างได้ด้วยความยากลำบาก
2 อุปราคาสีแดงเข้มหรือสีสนิม ศูนย์กลางเงามืดมาก ขณะที่ขอบนอกของเงานั้นสว่างกว่าเมื่อเทียบกัน
3 อุปราคาสีแดงอิฐ เงามืดโดยปกติมีความสว่างหรือขอบสีเหลือง
4 อุปราคาสีแดงทองแดงสว่างมากหรือสีส้ม เงามืดโดยปกติมีสีค่อนข้างน้ำเงิน และมีขอบที่สว่างมาก

การกำหนดค่าของ L[แก้]

การกำหนดค่าของ L สำหรับอุปราคาจะดีที่สุดในช่วงใกล้กลางอุปราคาเต็มดวงด้วยตาเปล่า มาตรานั้นเป็นความคิดส่วนตัว และแตกต่างกันในแต่ละผู้สังเกตการณ์ ยิ่งไปกว่านั้น ค่า L อาจแตกต่างกันไปตามส่วนของดวงจันทร์ ขึ้นอยู่กับระยะห่างของผู้สังเกตการณ์เหล่านั้นจากศูนย์กลางเงามืดของโลก

อ้างอิง[แก้]

  1. Danjon, A. "Relation Entre l'Eclairement de la Lune Eclipsee et l'Activite Solaire". L'Astronomie. 35: 261–265. Bibcode:1921LAstr..35..261D.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]