ข้ามไปเนื้อหา

มาซาอูจิ ฮาจิซูกะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มาซาอูจิ ฮาจิซูกะ
蜂須賀 正氏
ฮาจิซูกะใน ค.ศ. 1929
เกิด15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1903(1903-02-15)
โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
เสียชีวิต14 พฤษภาคม ค.ศ. 1953(1953-05-14) (50 ปี)
อาตามิ ประเทศญี่ปุ่น
สัญชาติญี่ปุ่น
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาสัตววิทยา, ปักษีวิทยา
ชื่อย่อที่ใช้ทางสัตววิทยาHachisuka

มาซาอูจิ ฮาจิซูกะ (ญี่ปุ่น: 蜂須賀 正氏โรมาจิHachisuka Masauji; 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1903 – 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1953) มาควิสฮาจิกูซะที่ 18 เป็นขุนนาง นักปักษีวิทยา และนักเลี้ยงนกชาวญี่ปุ่น[1][2]

ชีวประวัติ

[แก้]

ฮาจิซูกะเกิดที่โตเกียว โดยเป็นเหลนชายของโทกูงาวะ อิเอนาริ โชกุนคนที่ 11 และหลานชายของเจ้าชายโทกูงาวะ โชกุนคนสุดท้าย[3] เขาย้ายไปประเทศอังกฤษตอนอายุ 19 ปีเพื่อเรียนต่อให้เสร็จ เขาได้รับการสนับสนุนจากเพื่อนของบิดานามว่า บารอน ฮายาชิในประเทศอังกฤษ และศึกษาสัตววิทยาเป็นเวลา 5 ปีที่วิทยาลัยมอดลิน เคมบริดจ์ ซึ่งความสนใจเกี่ยวกับนกของเขาเติบโตขึ้นอย่างมากด้วยการสนับสนุนจาก ดร. ฟรานซิส กิลเลอมาร์ดและเอ. เอช. อีแวนส์ ทำให้เขาเข้าจุดสูงสุดด้วยการเข้าในสหภาพนักปักษีวิทยาแห่งอังกฤษ[4]

สุสานตระกูลฮาจิซูกะ

ฮาจิซูกะออกไปสำรวจไอซ์แลนด์ (1925), แอฟริกาเหนือ (1927) และเบลเจียนคองโก หลังจบการศึกษาที่เคนบริดจ์ใน ค.ศ. 1927 เขาเดินางกลับญี่ปุ่นผ่านสหรัฐร่วมกับ Jean Delacour ผู้เยี่ยมเยือนร่วมกับเขาที่จีนและเกาหลีในภายหลัง ใน ค.ศ. 1928–9 เขาเดินทางไปหมู่เกาะฟิลิปปินส์เพื่อศึกษาการกระจายตัวของนกในท้องถิ่น การศึกษานี้ได้รับการตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1932–3 ในชุดหนังสือสองเล่มชื่อ "Birds of the Philippine Islands" หลังกลับมาที่ลอนดอน และทำงานเกี่ยวกับชุดหนังสือของเขาที่บริติชมิวเซียมและที่ทริง[4] เขายังเขียนเกี่ยวกับนกในอียิปต์, ไอซ์แลนด์, ไหหลำ และฟอร์โมซาอย่างละเอียด[5]

แม้ว่าเขาตั้งใจเดินทางกลับญี่ปุ่นหลังบิดาเสียชีวิต เนื่องจากเขาจำเป็นต้องดำรงตำแหน่งหัวหน้าครอบครัว อาการป่วยทำให้เขาต้องอยู่ที่แคลิฟอร์เนียจนกระทั่ง ค.ศ. 1938 ณ ที่นั่น เขาสมรสกับชิเยโกะ นางามิเนะจากลอสแอนเจลิสในวันที่ 7 มีนาคม ค.ศ. 1939 เธอให้กำเนิดบุตรสาร[1][2][4]

หลังสงคราม เขาทำงานเกี่ยวกับการรายงานนกในหมู่เกาะแมสคารีน เขาเสียชีวิตหลังป่วยชั่วครู่ใน ค.ศ. 1953 ที่อาตามิ ประเทศญี่ปุ่น และผลงานของเขาได้รับการตีพิมพ์หลังเสียชีวิต (The Dodo and Kindred Birds)[1][2][4] เขายังเขียนหนังสือเกี่ยวกับนกในประเทศจีนด้วยก่อนที่จะเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ[5][6]

บรรพบุรุษ

[แก้]

โทกูงาวะ โยชิโนบุ ลุงของฮาจิซูกะ เป็นโชกุนโทกูงาวะคนสุดท้าย[7][6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Delacour, J. (1953) The Dodo and Kindred Birds by Masauji Hachisuka (Review). The Condor 55 (4): 223.
  2. 2.0 2.1 2.2 Peterson, A. P. (2013) Author Index: Hachisuka, Masauji (Masa Uji), marquis. Zoonomen Nomenclatural data. Retrieved 03 February 2017.
  3. Perez, C. (2015) A Short History of Philippine Bird Books – Part 6 American Period. Wild Bird Club of the Philippines. Retrieved 03 February 2017.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 N. B. K. (1954) Obituary: The Marquess Hachisuka. Ibis 96 (1): 150.
  5. 5.0 5.1 Bryant, C. E. (1954) Obituary: Masauji, the Marquess Hachisuka (1903-1953). Emu 54 (1) 79-80.
  6. 6.0 6.1 Delacour, Jean (1953). "Obituaries. Masauji, 8th Marquess Hachisuka" (PDF). The Auk. 70 (4): 521–522.
  7. "Genealogy". Reichsarchiv. 8 May 2010. สืบค้นเมื่อ 17 November 2017. (ในภาษาญี่ปุ่น)