ข้ามไปเนื้อหา

มัสยิดใหญ่แห่งซีอาน

พิกัด: 34°15′47.9″N 108°56′11.0″E / 34.263306°N 108.936389°E / 34.263306; 108.936389
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มัสยิดใหญ่แห่งซีอาน
西安大清真寺
ลานที่สองของมัสยิดใหญ่แห่งซีอาน
ศาสนา
ศาสนาอิสลามนิกายซุนนี
ที่ตั้ง
ที่ตั้งซีอาน มณฑลฉ่านซี ประเทศจีน
มัสยิดใหญ่แห่งซีอานตั้งอยู่ในประเทศจีน
มัสยิดใหญ่แห่งซีอาน
ที่ตั้งในประเทศจีน
พิกัดภูมิศาสตร์34°15′47.9″N 108°56′11.0″E / 34.263306°N 108.936389°E / 34.263306; 108.936389
สถาปัตยกรรม
ประเภทมัสยิด
รูปแบบจีน
พื้นที่ทั้งหมด12,000 ม.2

มัสยิดใหญ่แห่งซีอาน (จีน: 西安大清真寺; พินอิน: Xīān Dà Qīngzhēnsì) เป็นมัสยิดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน.[1]: 128  โดยเป็นที่ทำการละหมาดในเขตชุมชนมุสลิมในซีอาน และบริเวณนี้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่โด่งดังอีกด้วย ตัวมัสยิดส่วนใหญ่ถูกสร้างในช่วงต้นของราชวงศ์หมิง[2]: 121  โดยมีตึกอยู่กว่า 20 หลังในลานทั้งห้า และมีพื้นที่ 12,000 ตารางเมตร

ศัพทมูลวิทยา

[แก้]

มัสยิดนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อมัสยิดฮว่าเจว๋ (จีน: 化觉巷清真寺; พินอิน: Huàjué Xiàng Qīngzhēnsì) ซึ่งมาจากที่ตั้งของมัสยิดที่เส้นทางฮั่วเจว๋ 30 บางครั้งอาจจะถูกเรียกว่ามัสยิดใหญ่แห่งตะวันออก (จีน: 东大寺; พินอิน: Dōng Dàsì) เช่นกัน เพราะมันตั้งอยู่ทางตะวันออกของมัสยิดเก่าแก่แห่งหนึ่งที่มีชื่อว่ามัสยิดต้าเสว๋สี (จีน: 大学习巷清真寺; พินอิน: Dàxuéxí Xiàng Qīngzhēnsì)

ประวัติ

[แก้]

มัสยิดนี้เริ่มสร้างในสมัยจักรพรรดิหงอู่ของราชวงศ์หมิง แล้วต่อเติมในสมัยราชวงศ์ชิง[2]: 121 

ใน ค.ศ.1956 มีการประกาศให้มัสยิดนี้เป็นแหล่งประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่สำคัญได้รับการคุ้มครองในระดับชาติ แล้วกลายเป็นแหล่งประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่สำคัญได้รับการคุ้มครองในระดับชาติใน ค.ศ.1988 มัสยิดนี้เป็นที่ละหมาดของชาวมุสลิมเชื้อสายจีน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวหุย

โครงสร้าง

[แก้]

มัสยิดนี้มีลานอยู่ห้าแห่ง โดยที่ตัวมัสยิดอยู่ลานที่สี่ แต่ละลานจะมีอนุสรณ์ที่แตกต่างกัน เช่น ในลานแรกจะมีประตูที่สร้างในสมัยราชวงศ์ชิง ส่วนลานที่สี่จะมีศาลาฟีนิกซ์ ซึ่งเป็นศาลาสวนรูปหกเหลี่ยม มีกำแพงหลายแห่งที่มีภาพของนก, พืช, วัตถุ และตัวอักษรทั้งภาษาจีนและอาหรับ ในลานที่สองมีศิลาจารึกสองอันที่เขียนโดยมี่ ฟูจากราชวงศ์ซ่งและDong Qichangจากราชวงศ์หมิง[ต้องการอ้างอิง]

และโดยรวมแล้ว ตัวมัสยิดเป็นสิ่งก่อสร้างที่ผสมระหว่างสถาปัตยกรรมจีนกับอิสลาม ตัวอย่างเช่นตึกรูปทรงจีนที่หันไปทางเหนือและใต้จากแบบ ฮวงจุ้ย ตัวมัสยิดหันไปทางตะวันตกไปทางมักกะฮ์, ที่มากไปกว่านั้น คือลายอักษรที่ผสมกันระหว่างภาษาจีนและอาหรับ เรียกว่าซีนี โดยเป็นรูปภาษาอาหรับในแบบเขียนภาษาจีน นักวิชาการบางท่านกล่าวว่ามีเจดีย์สูงเท่าตึกสามชั้น รูปแปดเหลี่ยมในลานที่สาม มีชื่อว่า เชิ่งซินโหลว (Shengxinlou) หรือ “สำรวจหอหัวใจ” (Examining the Heart Tower) ที่มีหน้าที่เป็นหออะษานของมัสยิด[3]: 346 

ส่วนหอละหมาดเป็นตึกที่มีหลังคาทรงปั้นหยาสีเขียวขุ่น, โตวกง (dougong; ที่ค้ำไม้), หน้ามุขที่มีเสาหกต้น และประตูห้าบาน

ภาพ

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Liu, Zhiping (1985). Zhongguo Yisilanjiao jianzhu [Islamic architecture in China]. Xinjiang Renmin Chubanshe.
  2. 2.0 2.1 Steinhardt, Nancy S. (2015). China’s Early Mosques. Edinburgh University Press. ISBN 978-0748670413.
  3. Steinhardt, Nancy S. (2008). "China's Earliest Mosques". Journal of the Society of Architectural Historians. 67 (3).

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]