มัสยิดราโอราโอ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก มัสยิดเราเรา)
มัสยิดราโอราโอเมื่อปี 2008
ศาสนา
ศาสนาศาสนาอิสลาม
ที่ตั้ง
ที่ตั้งนาการีราโอราโอ, ซูไงตารับ, อำเภอตานะฮ์ดาตาร์, จังหวัดสุมาตราตะวันตก, อินโดนีเซีย
สถาปัตยกรรม
ประเภทมัสยิด
รูปแบบมีนังกาเบา, เปอร์เซีย
ลงเสาเข็ม1908
เสร็จสมบูรณ์1918
หอคอย1

มัสยิดราโอราโอ (อินโดนีเซีย: Masjid Rao Rao) เป็นหนึ่งในมัสยิดที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศอินโดนีเซีย ตั้งอยู่ในนาการีราโอราโอ อำเภอตานะฮ์ดาตาร์ จังหวัดสุมาตราตะวันตก[1] สร้างขึ้นตามสถาปัตยกรรมมีนังกาเบาและสถาปัตยกรรมเปอร์เซีย มัสยิดสร้างขึ้นในปี 1908 โดยหลังคาเดิมทำมาจากเส้นใยพืช ก่อนที่ต่อมาจะเปลี่ยนมาใช้ซิงค์[2]

นับตั้งแต่การตั้งมัสยิด มัสยิดได้รับความเสียหายอย่างหนักจากเหตุแผ่นดินไหวหลายครั้ง ทั้งในปี 1926 และ 2009[3][4] กระนั้น มัสยิดไม่เคยได้รับการซ่อมแซมครั้งใหญ่เลย การซ่อมแซมมีเพียงการซ่อมหลังคาและหออะษานที่เอียงในปี 1975 และได้มีการเปลี่ยนกระเบื้องทั้งหมดในมัสยิดใหม่ในราวทศวรรษ 1990[5][6] ในสมัยสงครามเอกราชอินโดนีเซียมัสยิดยังถูกใช้เป็นศูนย์กลางทางยุทธศาสตร์เพื่อต่อสู้กับเจ้าอาณานิคมดัตช์ด้วย[3][1]

ประวัติศาสตร์[แก้]

มัสยิดสร้างขึ้นในปี 1908[7] เพื่อแทนมัสยิดอาตัปอีจุก (Atap Ijuk Mosque) หลังเดิมที่ถูกทุบทำลายลงเนื่องจากสภาพอาคารไม่สามารถใช้งานได้[8] นับจากนั้น จึงสร้างมัสยิดขึ้นบนที่ดินวักฟ์ของ H. Mohammad Thaib Caniago ภายใต้ความร่วมมือของชุมชนราโอราโอ และ Abdurrachman Datuk Majo Indo[9] มัสยิดก่อสร้างแล้วเสร็จในปลายปี 1918[3]

สถาปัตยกรรม[แก้]

มัสยิดราโอราโอ ภาพถ่ายปี 1924

รูปแบบทางสถาปัตยกรรมของมัสยิดเป็นการผสมผสานองค์ประกอบต่าง ๆ ส่วนใหญ่จากมีนังกาเบาและเปอร์เซีย มัสยิดสี่ชั้นโค้งเล็กน้อยเป็นแบบมีนังกาเบา พื้นที่โล่งใต้โดมและหออะษาน[3][8]

ในโถงสวดมีเสาหลักสี่เสาทำจากคอนเกรีตตั้งอยู่ ส่วนที่ใหม่กว่าของมัสยิดสร้างขึ้นในทศวรรษ 1930 ประดับด้วยกระจกที่ทุบให้แตก ส่วนแท่นมิมบัร มีขนาด 3 × 1.38 เมตร[3]

ในงานฉลองครบรอบมัสยิด 100 ปี ในเดือนตุลาคม 2008 Shodiq Pasadigoe นายอำเภอตานะฮ์ดาตาร์ ได้กล่าวว่ามีมัสยิดอีกสองแห่งในสุมาตราตะวันตกที่สร้างให้คล้ายกับมัสยิดราโอราโอ[5][1] คือ มัสยิดซาดะฮ์ในตานะฮ์ดาตาร์ และมัสยิดใหญ่โกโตบารูในอำเภอโซลกใต้[10]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Arief 2008.
  2. Kementerian Agama, pp. 1.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 Akbar 2012.
  4. Kubontubuh & Hadiwinoto 2008.
  5. 5.0 5.1 Kementerian Agama, pp. 2.
  6. Ajisman & Almaizon 2004, pp. 47.
  7. Kompas.com.
  8. 8.0 8.1 Ajisman & Almaizon 2004, pp. 46.
  9. Mahyuddin, pp. 167.
  10. Nugroho 2009.

บรรณานุกรม[แก้]

  • Ajisman; Almaizon (2004). Iim Imadudin (บ.ก.). Bangunan Bersejarah di Kabupaten Tanah Datar. Balai Kajian Sejarah dan Nilai Tradisional Padang. ISBN 979-938-849-X.
  • Akbar, Rus (10 August 2012). "Masjid Rao Rao Jadi Basis Pendidikan & Melawan Penjajah". Okezone.com. สืบค้นเมื่อ 2012-08-31.
  • Kementerian Agama Indonesia. Serial Rumah Ibadah Bersejarah: Masjid Raya Rao-Rao (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-14. สืบค้นเมื่อ 2012-07-07.
  • Arief, Farid N. (2008). "Refleksi 100 Tahun Masjid Rao-Rao". Kementerian Agama Indonesia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-02. สืบค้นเมื่อ 2012-07-07.
  • Kubontubuh, Catrini Pratihari; Hadiwinoto, Suhadi (2008). Heritage Reborn: Rehabilitating The Rao-Rao Mosque. Vol. 5. Majalah Heritage Asia. ISSN 1675-6924.
  • Nugroho, Joko (2009). "Dibangun di Bawah Iringan Gendang Serunai". ANTARA Biro Sumatera Barat. สืบค้นเมื่อ 2012-07-08.
  • "Masjid Rao-Rao". Kompas.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-04. สืบค้นเมื่อ 2012-07-07.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]