มัสยิดหฺวายเชิ่ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มัสยิดหฺวายเชิ่ง
怀圣寺
ศาสนา
ศาสนาอิสลามนิกายซุนนี
ที่ตั้ง
ที่ตั้งกว่างโจว มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน
มัสยิดหฺวายเชิ่งตั้งอยู่ในมณฑลกวางตุ้ง
มัสยิดหฺวายเชิ่ง
Guangdong
พิกัดภูมิศาสตร์23°7′31.38″N 113°15′12.91″E / 23.1253833°N 113.2535861°E / 23.1253833; 113.2535861พิกัดภูมิศาสตร์: 23°7′31.38″N 113°15′12.91″E / 23.1253833°N 113.2535861°E / 23.1253833; 113.2535861
สถาปัตยกรรม
ประเภทมัสยิด
มัสยิดหฺวายเชิ่ง
อักษรจีนตัวย่อ广州怀圣寺
อักษรจีนตัวเต็ม廣州懷聖寺

มัสยิดหฺวายเชิ่ง (จีน: 广州怀圣寺)[1][2] ซึ่งยังเป็นที่รู้จักกันในชื่อ มัสยิดประภาคาร[1] และ มัสยิดใหญ่แห่งกวางตุ้ง เป็นมัสยิดหลักในกว่างโจว สร้างขึ้นใหม่หลายครั้งตลอดช่วงประวัติศาสตร์ โดยเชื่อกันว่ามัสยิดนี้สร้างขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ 1,300 ปีมาแล้ว[3] ทำให้มัสยิดนี้เป็นหนึ่งในมัสยิดที่เก่าแก่ที่สุดในโลก[4]

ประวัติ[แก้]

ทางเข้ามัสยิด, ประมาณ 1873
มัสยิดหฺวายเชิ่งกับหอกวางถา ค.ศ. 1860

เอกสารเก่าของชาวมุสลิมในจีนบันทึกว่า มัสยิดนี้สร้างใน ค.ศ. 627 โดยซะอด์ อิบน์ อะบี วักกอศ ซึ่งคาดกันว่าเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจเป็นครั้งแรกในจีนในคริสต์ทศวรรษ 620[5] แม้ว่านักวิชาการสมัยใหม่ยังไม่พบหลักฐานที่ยืนยันว่าซะอด์ อิบน์ อะบี วักกอศ ได้มาเยือนจีนจริง[6] แต่พวกเขาก็เห็นด้วยว่าชาวมุสลิมกลุ่มแรกได้มาถึงจีนแล้วในคริสต์ศตวรรษที่ 7[6] และเห็นด้วยว่าเมืองการค้าสำคัญเช่น กว่างโจว, เฉวียนโจว และหยางโจว น่าจะ มีมัสยิดที่สร้างตั้งแต่ราชวงศ์ถัง ถึงแม้ว่าจะไม่พบหลักฐานที่น่าเชื่อถือก็ตาม[5]

มีความเป็นไปได้ว่ามัสยิดนี้มีมาตั้งแต่ช่วงต้นของราชวงศ์ซ่ง มัสยิดได้รับการสร้างขึ้นใหม่ใน ค.ศ. 1350 และอีกครั้งใน ค.ศ.1695 หลังจากถูกเพลิงไหม้ ส่วนหออะซานสร้างมาก่อนหน้านี้แล้ว[7] ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 หอนี้เป็นจุดหมายตาที่สำคัญจุดหนึ่งของกว่างโจว[8]

การเดินทาง[แก้]

มัสยิดตั้งอยู่ในระยะทางที่สามารถเดินได้จากสถานีซีเมินโข่วของรถไฟใต้ดินกว่างโจวไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้

ดูเพิ่ม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Hagras, Hamada. "THE FUNCTIONS AND SYMBOLISM OF CHINESE MINARETS: A CASE STUDY OF THE HUAISHENG GUANGTA". Journal of Islamic Architecture. 6: 68–76. doi:10.18860/jia.v6i2.10209.
  2. Kees Versteegh; Mushira Eid (2005). Encyclopedia of Arabic Language and Linguistics: A-Ed. Brill. pp. 379–. ISBN 978-90-04-14473-6.
  3. Great Mosque of Guangzhou เก็บถาวร 2011-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at archnet.org
  4. Steinhardt, Nancy Shatzman (September 2008), "China's Earliest Mosques", Journal of the Society of Architectural Historians, 67 (3): 335, doi:10.1525/jsah.2008.67.3.330
  5. 5.0 5.1 Lipman, Jonathan Neaman (1997). Familiar strangers: a history of Muslims in Northwest China. University of Washington Press. p. 29. ISBN 962-209-468-6.
  6. 6.0 6.1 Lipman 1997, p. 25.
  7. "Great Mosque of Guangzhou". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-02-19. สืบค้นเมื่อ 2019-03-10.
  8. "Canton" , 'Encyclopædia Britannica, 9th ed., Vol. V, New York: Charles Scribner's Sons, 1878, p. 37.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]