มัสยิดสีน้ำเงิน (เยเรวาน)
มัสยิดสีน้ำเงิน | |
---|---|
ศาสนา | |
ศาสนา | ศาสนาอิสลาม |
จารีต | อิมามียะฮ์ |
สถานะองค์กร | มัสยิด |
ที่ตั้ง | |
ที่ตั้ง | 12 ถนนมัชต็อตส์ เยเรวาน ประเทศอาร์มีเนีย[1][2] |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 40°10′41″N 44°30′20″E / 40.1781°N 44.5056°E |
สถาปัตยกรรม | |
รูปแบบ | สถาปัตยกรรมเปอร์เซีย |
เสร็จสมบูรณ์ | 1765–1766 |
ลักษณะจำเพาะ | |
โดม | 1 |
หอคอย | 1 |
ความสูงหอคอย | 24 เมตร (79 ฟุต)[3][4] |
มัสยิดสีน้ำเงิน (อาร์มีเนีย: Կապույտ մզկիթ; Blue Mosque) เป็นมัสยิดนิกายชีอะฮ์ในเยเรวาน ประเทศอาร์มีเนีย สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 18 ถือเป็นสิ่งก่อสร้างสำคัญจากยุคอาร์มีเนียใต้ปกครองของอิหร่าน ปัจจุบันมัสยิดสีน้ำเงินเป็นมัสยิดแห่งเดียวในประเทศอาร์มีเนียที่ยังคงมีการใช้งานในฐานะศาสนสถานอยู่[5][6] โดยประเทศอาร์มีเนียมีประชากรมุสลิมอยู่เป็นส่วนน้อย ราว 812[7] ถึง 1,000 คน หรือคิดเป็น 0.03% ของประชากร[8] ในปี 2013 รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมของอาร์มีเนียแถลงระบุว่ามีความพยายามอย่างมากที่จะเสนอชื่อให้มัสยิดสีน้ำเงินได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก[9][10]
ข้อถกเถียง
[แก้]แหล่งข้อมูลอาร์มีเนียและตะวันตกบางส่วนระบุว่ามัสยิดเป็นมัสยิดแบบอิหร่าน/เปอร์เซีย[a][11][12][6] นักมานุษยวิทยาและชาติพันธุ์วรรณา Tsypylma Darieva ระบุว่า "ในสื่อท้องถิ่นและวาทกรรมของทางการ มัสยิดสีน้ำเงินถูกนำไปเกี่ยวข้องกับ [...] ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศใหม่ของอาร์มีเนียกับอิหร่าน และปรากฏการเรียกมัสยิดสีน้ำเงินว่า ‘มัสยิดเปอร์เซีย’ เป็นเฉพาะ"[13]
นักข่าว Thomas de Waal ระบุว่าการเรียกมัสยิดนี้ว่าเป็นมัสยิดอิหร่าน/เปอร์เซียนั้นเป็น "การปกปิดข้อเท็จจริงที่ว่าชาวมุสลิมส่วนใหญ่ที่มามัสยิดนี้ในเวลาที่มัสยิดถูกสร้าง (ทศวรรษ 1760) ควรจะเป็นชาวอาเซอร์ไบจานมากกว่า"[14] นอกจากนี้ Darieva ยังระบุว่ามัสยิดเคยใช้เป็นมัสยิดใหญ่ของ "ชาวมุสลิม (ส่วนใหญ่เป็นประชากรอาเซอร์) ในเยเรวานจนถึงทศวรรษ 1920"[15]
ในขณะที่ในประเทศอาเซอร์ไบจาน มัสยิดนี้ถือว่าเป็นมรดกของอาเซอร์ไบจานในเยเรวาน[16][17] รวมถึงเคยมีเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลอาเซอร์ไบจานกล่าวไว้ว่ามัสยิดเป็น "ศูนย์กลางของศาสนิกชนชาวอาเซอร์ไบจานที่ใหญ่ที่สุดในเยเรวาน"[18] หนังสือปี 2007 ชื่อ War against Azerbaijan: Targeting Cultural Heritage (สงครามต่ออาเซอร์ไบจาน: การพุ่งเป้าไปที่มรดกทางวัฒนธรรม) ของกระทรวงการต่างประเทศอาเซอร์ไบจานและมูลนิธิไฮย์ดาร์ อะลีเยฟ ระบุว่าการปรับปรุงและบูรณะมัสยิดในทศวรรษ 1990 มีเป้าหมายที่จะ "นำเสนอมัสยิด[ใหม่]ในฐานะมัสยิดเปอร์เซีย"[19] ในขณะที่นักวิชาการอิสระชาวอาร์มีเนีย Rouben Galichian ปฏิเสธคำกล่าวอ้างดังกล่าวไว้ในหนังสือปี 2009 ชื่อ Invention of History (ประวัติศาสตร์ที่สร้างขึ้น) ว่า[20] "มัสยิดทุกมัสยิด[ในเยเรวาน]ที่สร้างขึ้นระหว่างปี 1635 ถึงทศวรรษ 1820 สร้างขึ้นโดยชาวอิหร่าน ซึ่งทราบดีว่าประชากรมุสลิมส่วนใหญ่ทั้งที่เป็นและไม่เป็นชาวอิหร่านก็นับถือนิกายชีอะฮ์ทั้งนั้น มัสยิดเหล่านี้จึงคล้ายคลึงกันมาก ฉะนั้นจึงเป็นการยากมากที่จะเข้าใจมัสยิดสีน้ำเงินในฐานะ 'มัสยิดอาเซอร์' เพราะ 'มัสยิดอาเซอร์' มันไม่มีอยู่ตั้งแต่แรก"
เชิงอรรถ
[แก้]- ↑ ตัวอย่างเช่น สำนักข่าวของรัฐ Armenpress เรียกสถานที่นี้ว่า "Iranian Blue Mosque of Yerevan" ในบทความที่เผยแพร่ในปี ค.ศ. 2013[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Government of the Republic of Armenia (2 November 2004). "Հայաստանի Հանրապետության Երևան քաղաքի պատմության և մշակույթի անշարժ հուշարձանների պետակական ցուցակ [List of historical and cultural monuments of Yerevan]". arlis.am (ภาษาอาร์เมเนีย). Armneian Legal Information System. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 August 2016.
- ↑ Noble, John; Kohn, Michael; Systermans, Danielle (2008). Georgia, Armenia & Azerbaijan. Lonely Planet. p. 154. ISBN 9781741044775.
- ↑ Darieva 2016, p. 296.
- ↑ Markossian 2002, p. 44.
- ↑ Aghajanian, Liana (16 May 2016). "An insider's guide to Yerevan: the city where Kanye likes to swim in Swan Lake". The Guardian.
As the only active mosque left in Armenia, it now serves as a hub for a growing number of Iranian residents and tourists.
- ↑ 6.0 6.1 Brooke, James (12 March 2013). "Iran, Armenia Find Solidarity in Isolation". Voice of America.
In all of Christian Armenia, there is only one mosque: "The Iranian Mosque," restored 15 years ago by Iran.
- ↑ "Կրոնական կազմը Հայաստանում [Armenia's religious makeup]". ampop.am (ภาษาอาร์เมเนีย). 27 December 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 September 2019.
Հայաստանում բնակվում է 812 մուսուլման...
- ↑ Miller, Tracy, บ.ก. (October 2009), Mapping the Global Muslim Population: A Report on the Size and Distribution of the World's Muslim Population (PDF), Pew Research Center, p. 28, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-10-10, สืบค้นเมื่อ 2009-10-08
- ↑ 9.0 9.1 "Involvement of Blue Mosque in UNESCO list of cultural heritage is highly significant". Armenpress. 14 January 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-01. สืบค้นเมื่อ 2021-12-20.
- ↑ "Armenia applies to place Blue Mosque on UNESCO's World Heritage List". Today's Zaman. 22 January 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 December 2015.
- ↑ Kaeter, Margaret (2004). The Caucasian Republics. Facts on File. p. 12. ISBN 9780816052684.
The Blue Mosque [...] is the only Persian mosque in Yerevan still preserved.
- ↑ Carpenter, C. (2006). "Yerevan". World and Its Peoples, Volume 1. Marshall Cavendish. p. 775. ISBN 9780761475712.
...only one large Persian mosque, the eighteenth-century Blue Mosque, is still open, now renovated as a cultural center.
- ↑ Darieva 2016, p. 299.
- ↑ de Waal 2003, p. 80.
- ↑ Darieva 2016, p. 297.
- ↑ "Blue Mosque, historical Azerbaijani monument in Yerevan - PHOTOS". today.az. 17 January 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-01. สืบค้นเมื่อ 2021-12-20.
- ↑ Zeynalov, Natiq (5 May 2010). "Yerevanda Göy məscid hər gün İran vətəndaşları ilə dolu olur". azadliq.org (ภาษาอาเซอร์ไบจาน). Radio Free Europe/Radio Liberty. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-01. สืบค้นเมื่อ 2021-12-20.
Halbuki, onun fikrincə, bu, Azərbaycan mədəniyyətinin bir abidəsidir.
- ↑ Sayyad Salahli, First Deputy Chairman of the Azerbaijani State Committee for Work with Religious Organizations. Dadaşov, Valeh (15 December 2015). "State Committee official: 'Lease of Blue Mosque to Iran has preconceived purpose'". report.az.
- ↑ Imranly, Kamala, บ.ก. (2007). War against Azerbaijan: Targeting Cultural Heritage. Baku: Ministry of Foreign Affairs of Azerbaijan and Heydar Aliyev Foundation. p. 313. ISBN 978-9952-8091-4-5.
The Goy mosque was turned into the Museum of History of Yerevan in the Soviet period, and then 'restored' and presented as a Persian mosque after 1991.
- ↑ Galichian, Rouben (2010) [2009]. The Invention of History: Azerbaijan, Armenia and the Showcasing of Imagination (PDF) (2nd ed.). London: Gomidas Institute. p. 66. ISBN 978-1-903656-88-4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-17.
บรรณานุกรม
[แก้]- de Waal, Thomas (2003). Black Garden: Armenia and Azerbaijan Through Peace and War. New York: New York University Press. ISBN 978-0-8147-1945-9.
- Darieva, Tsypylma (2016). "Prayer house or cultural centre? Restoring a mosque in post-socialist Armenia". Central Asian Survey. Routledge. 35 (2): 292–308. doi:10.1080/02634937.2016.1140374. S2CID 147672093.
- Villari, Luigi (1906). "The Land of Ararat". Fire and Sword in the Caucasus. London: T. Fisher Unwin.
- Lynch, H. F. B. (1901). Armenia, travels and studies. Volume I: The Russian Provinces. London: Longmans, Green, and Co. pp. 213-215.
- Markossian, Nara (April 2002). "Islam in Armenia: Restored Blue Mosque Serves Yerevan's Growing Iranian Community". Armenian International Magazine. Glendale, California. 13 (3): 44-45. ISSN 1050-3471.