มันเฟรท ร็อมเมิล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก มันเฟรด ร็อมเมิล)
มันเฟรท ร็อมเมิล
มันเฟรท ร็อมเมิล ในปี ค.ศ. 2004
นายกเทศมนตรีเมืองชตุทการ์ท
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 1974 – ค.ศ. 1996
ก่อนหน้าอาร์นุล์ฟ เคล็ท
ถัดไปว็อล์ฟกัง ชูสเทอร์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด24 ธันวาคม ค.ศ. 1928(1928-12-24)
ชตุทการ์ท สาธารณรัฐไวมาร์
เสียชีวิต7 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013(2013-11-07) (84 ปี)
ชตุทการ์ท ประเทศเยอรมนี
พรรคการเมืองพรรคสหภาพประชาธิปไตยคริสเตียน
คู่สมรสลีเซอล็อทเทอ ไดเบอร์ (สมรส 1954–2013)
บุตรคาเทอรีเนอ
อาชีพนักกฎหมาย

มันเฟรท ร็อมเมิล (เยอรมัน: Manfred Rommel; 24 ธันวาคม ค.ศ. 1928 – 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013) เป็นนักการเมืองชาวเยอรมันของพรรคสหภาพประชาธิปไตยคริสเตียน ซึ่งทำหน้าที่เป็นนายกเทศมนตรีเมืองชตุทการ์ทตั้งแต่ปี ค.ศ. 1974 ถึง 1996 นโยบายของร็อมเมิลได้รับการอธิบายว่าใจกว้างและเสรีนิยม และเขาเป็นหนึ่งในนักการเมืองที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในเขตเทศบาลเมืองในประเทศเยอรมนี เขาเป็นผู้รับเกียรติยศจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก เขาเป็นบุตรชายคนเดียวของจอมพลแอร์วีน ร็อมเมิล กับลูซีอา มารีอา ม็อลลิน ผู้เป็นมารดา (ค.ศ. 1894–1971) และมีส่วนทำให้เกิดการสถาปนาพิพิธภัณฑ์ในเกียรติยศของผู้เป็นบิดา เขาเป็นที่รู้จักสำหรับมิตรภาพของเขากับลูกของสองฝ่ายตรงข้ามหลักทางทหารของพ่อเขา หนึ่งในนั้นคือเดวิด มอนต์โกเมอรี[1]

ความเป็นมาและครอบครัว[แก้]

ร็อมเมิลเกิดในชตุทการ์ท และเข้ารับราชการเป็นลุฟท์วัฟเฟินเฮ็ลเฟอร์ (ผู้ช่วยกองทัพอากาศ) เมื่ออายุ 14 ปี โดยทำงานในกองปืนใหญ่ต้านอากาศยาน เขาพิจารณาที่จะเข้าร่วมวัฟเฟิน-เอ็สเอ็ส แต่พ่อของเขาคัดค้าน เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 1944 เขาอยู่ที่บ้านพ่อแม่ของเขาเมื่อพ่อของเขาถูกนำตัวออกไปและถูกบังคับให้ฆ่าตัวตายเพราะถูกกล่าวหาว่าสมรู้ร่วมคิดในแผนลับ 20 กรกฎาคมเพื่อลอบสังหารอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ซึ่งพรรณาต่อสาธารณชนในฐานะความตายที่เกิดขึ้นจากการทำสงคราม[2] ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945 ร็อมเมิลถูกไล่ออกจากงานกองทัพอากาศและในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1945 เขาถูกเกณฑ์ทหารสู่ราชการหน่วยทหารไรชส์อาร์ไบทซ์ดีนสท์ อยู่ในเมืองรีทลิงเงินใกล้ ๆ ปลายเดือนเมษายน ทันทีก่อนที่กองทัพบกที่หนึ่งเข้ายึดครอง เขาได้ถูกทอดทิ้ง เขาถูกจับเป็นเชลยศึก โดยได้เปิดเผยความจริงเกี่ยวกับการตายของพ่อของเขา และถูกสอบปากคำโดยนายพลฌ็อง เดอ ลัทร์ เดอ ตาซีญี[3]

ชีวิตหลังสงครามและอาชีพ[แก้]

ในปี ค.ศ. 1947 เขาได้รับอบีทัวร์ขณะศึกษาอยู่ที่บีเบอรัคอันแดร์ริส และไปศึกษากฎหมายที่มหาวิทยาลัยทือบิงเงิน เขาแต่งงานกับลีเซอล็อทเทอในปี ค.ศ. 1954 และมีลูกสาวชื่อคาเทอรีเนอ[4] หลังจากยุติการทำงานในฐานะนักกฎหมาย ในปี ค.ศ. 1956 ร็อมเมิลเข้าข้าราชการพลเรือนและต่อมาได้กลายเป็นเลขานุการของรัฐในรัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค

ในปี ค.ศ. 1974 ร็อมเมิลสืบตำแหน่งต่อจากอาร์นุล์ฟ เคล็ท ในฐานะโอเบอร์เบือร์เกอร์ไมส์เทอร์ (เทียบเท่ากับนายกเทศมนตรี) ของชตุทการ์ทโดยชนะ 58.5 เปอร์เซนต์ของคะแนนเสียงในรอบที่สองของการเลือกตั้ง ซึ่งเอาชนะเพเทอร์ ค็อนราดี จากพรรคประชาธิปไตยสังคมแห่งเยอรมนี เขาได้รับการเลือกตั้งใหม่หลังจากรอบแรกของการเลือกตั้งในปี ค.ศ. 1982 โดยมีคะแนนเสียงถึง 69.8 เปอร์เซนต์ และในปี 2533 มีคะแนนเสียงถึง 71.7 เปอร์เซนต์ของการลงคะแนนเสียง ในฐานะนายกเทศมนตรีเมืองชตุทการ์ท เขายังเป็นที่รู้จักสำหรับความพยายามของเขาที่จะให้กลุ่มกองทัพแดงเยอรมันผู้ก่อการร้ายผู้ที่ได้ฆ่าตัวตายที่เรือนจำชตัมไฮม์-ชตุทการ์ทได้รับการฝังศพที่เหมาะสม แม้จะมีความกังวลว่าหลุมฝังศพจะกลายเป็นจุดเดินทางของพวกการเมืองฝ่ายซ้ายหัวรุนแรง[5][6]

ระหว่างการเป็นโอเบอร์เบือร์เกอร์ไมส์เทอร์เมืองชตุทการ์ท ร็อมเมิลเริ่มต้นมิตรภาพที่ได้รับการเผยแพร่อย่างแพร่หลายกับพลตรีกองทัพบกสหรัฐจอร์จ แพ็ทตันที่ 4 ซึ่งเป็นบุตรชายของนายพลจอร์จ เอส. แพตตัน ผู้เป็นศัตรูของพ่อเขาในสงครามโลกครั้งที่สองที่ได้รับมอบหมายให้อยู่ในสำนักงานใหญ่กองพลที่เจ็ดใกล้เมือง[7][8] นอกจากนี้ เขายังเป็นเพื่อนกับเดวิด มอนต์โกเมอรี ไวเคานต์มอนต์โกเมอรีแห่งอลามีนที่ 2 ผู้เป็นบุตรชายของจอมพลเบอร์นาร์ด ลอว์ มอนต์โกเมอรี ผู้เป็นศัตรูที่ยิ่งใหญ่อีกรายของพ่อเขา มิตรภาพดังกล่าวได้รับการมองว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งการคืนดีของอังกฤษและเยอรมันหลังจากสงคราม และการเข้าสู่นาโตของเยอรมนีตะวันตก[9]

ในการเฉลิมฉลองปี ค.ศ. 1996 ที่โรงละครรัฐเวือร์ทเทิมแบร์ค มันเฟรท ร็อมเมิล ได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี อันเป็นเกียรติยศแด่พลเมืองชาวเยอรมันระดับสูงสุด ในการกล่าวสุนทรพจน์ เฮ็ลมูท โคล ได้เน้นความสำคัญต่อความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศฝรั่งเศสกับเยอรมนีในระหว่างการดำรงตำแหน่งของร็อมเมิล ในฐานะการเป็นโอเบอร์เบือร์เกอร์ไมส์เทอร์เมืองชตุทการ์ท ไม่กี่วันหลังมอบเกียรติยศนี้แด่ร็อมเมิล เมืองชตุทการ์ทได้มอบรางวัลพลเมืองกิตติมศักดิ์แก่เขา[10] นอกจากนี้เขายังเสี่ยงต่อการเป็นที่นิยมของเขา เมื่อเขายืนหยัดในการปฏิบัติต่อผู้อพยพชาวต่างชาติอย่างเป็นธรรม ที่ได้รับการชักจูงสู่ชตุทการ์ท โดยเศรษฐกิจที่เฟื่องฟูของเมือง[11] ในฐานะนายกเทศมนตรี ร็อมเมิลยังทำ "การควบคุมการเงินของเมืองที่เข้มงวด, การลดหนี้และการปรับเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานในท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งถนนและระบบขนส่งสาธารณะ [ขณะทำงาน]...เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างฝรั่งเศสกับเยอรมัน"[11] การเมืองของร็อมเมิลได้รับการอธิบายว่าใจกว้างและเสรีนิยม[12]

นอกการเมือง[แก้]

หลังเกษียณจากการเมืองเมื่อปี ค.ศ. 1996 ร็อมเมิลยังคงอยู่ในความต้องการในฐานะนักเขียนและวิทยากร แม้จะมีความทุกข์ทรมานจากโรคพาร์คินสัน เขาเขียนหนังสือทางการเมืองและหนังสือขำขันหลายเล่ม เขาเป็นที่รู้จักในแบบมนุษย์เดินดินและคำพูดรวมถึงคำคมแบบตลกอยู่บ่อย ๆ บางครั้ง เขาก็เขียนบทความให้แก่หนังสือพิมพ์ชตุทการ์เทอร์ไซทุง

ร็อมเมิลยังร่วมมือกับแบซิล ลิดเดลล์ ฮาร์ต ในการตีพิมพ์เดอะรอมเมิลเปเปอร์ส ซึ่งเป็นการรวบรวมไดอารี, จดหมาย และบันทึกที่พ่อของเขาเขียนในระหว่างและหลังจากการสู้รบทางทหาร เขาได้รับรางวัลหลายรางวัลจากต่างประเทศรวมทั้งเครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งจักรวรรดิบริติช (ซีบีอี), เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ฝรั่งเศส, เหรียญอิสรภาพประธานาธิบดีสหรัฐ และเครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งรัฐบาลกลางเยอรมันชั้นสูงสุด[11] เขาเสียชีวิตในวันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013 คงเหลือไว้ซึ่งลูกสาวชื่อคาเทอรีเนอ[13]

ภาพยนตร์[แก้]

ในภาพยนตร์เกี่ยวกับพ่อของเขาในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง มีนักแสดงที่รับบทเป็นมันเฟรท ร็อมเมิล ดังต่อไปนี้:

เกียรติประวัติ[แก้]

มันเฟรท ร็อมเมิล เคยเขียนเกี่ยวกับเกียรติประวัติของเขาเป็นจำนวนมาก: "Die Zahl der Titel will nicht enden. Am Grabstein stehet: bitte wenden!" ซึ่งแปลว่า: "จำนวนเกียรติประวัติดูเหมือนจะไม่มีที่สิ้นสุด คำจารึกบนศิลาเหนือหลุมฝังศพของฉันจะอ่านได้ว่า: กรุณาเงยขึ้นเถอะ!"[4]

  • ค.ศ. 1979: พลเมืองกิตติมศักดิ์ประจำกรุงไคโร[14]
  • ค.ศ. 1982: โอร์เดนไวแดร์เดนทีแอร์ริสเชน สำหรับอารมณ์ขันของเขา[15]
  • ค.ศ. 1982: เจ้าหน้าที่ระดับสูงในเครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซา แห่งประเทศเนเธอร์แลนด์
  • ค.ศ. 1982: วุฒิสมาชิกกิตติมศักดิ์ของมหาวิทยาลัยประยุกต์ชตุทการ์ท
  • ค.ศ. 1984: อิสริยาภรณ์เจเนอรัล-เคลย์
  • ค.ศ. 1985: อัศวินแห่งเครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ของสาธารณรัฐฝรั่งเศส
  • ค.ศ. 1987: ผู้พิทักษ์แห่งเยรูซาเลม[15]
  • ค.ศ. 1987: กางเขนคุณธรรมเจ้าหน้าที่ระดับสูงแห่งสาธารณรัฐอิตาลี
  • ค.ศ. 1990: ผู้บังคับบัญชาแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งจักรวรรดิบริติช[15]
  • ค.ศ. 1990: อิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งรัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค
  • ค.ศ. 1990: เหรียญ ดร.ฟรีดริช เลเนอร์ สำหรับการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ
  • ค.ศ. 1990: เหรียญพันธะสำหรับมิตรภาพเยอรมันอเมริกัน
  • ค.ศ. 1992: ปริญญาเอกกิตติมศักดิ์แห่งมหาวิทยาลัยแมริแลนด์
  • ค.ศ. 1993: เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมทองคำแห่งสหพันธ์สมาคมกรีฑานานาชาติ
  • ค.ศ. 1995: เหรียญอ็อทโท เฮียร์ช
  • ค.ศ. 1996: พลเมืองกิตติมศักดิ์แห่งเมืองชตุทการ์ท
  • ค.ศ. 1996: ประธานหัวหน้าร่วมแห่งรางวัลบุคลากรสำหรับบริการสาธารณะที่โดดเด่น
  • ค.ศ. 1996: เหรียญฟรีดริช เอ. โฟคท์ สำหรับบริการในภาษาถิ่นสเวเบีย
  • ค.ศ. 1996: ปริญญาเอกกิตติมศักดิ์แห่งมหาวิทยาลัยแห่งเวลส์
  • ค.ศ. 1996: มหากางเขนคุณธรรม (ค.ศ. 1978) กับดาว (ค.ศ. 1989) และสายสะพายไหล่ (ค.ศ. 1996) : เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
  • ค.ศ. 1996: ได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์
  • ค.ศ. 1997: คุณค่าแห่งข้อตกลงฝรั่งเศส-เยอรมัน สำหรับมิตรภาพเยอรมัน-ฝรั่งเศส
  • ค.ศ. 1997: สมาชิกกิตติมศักดิ์ของสมาคมเมืองแห่งเยอรมัน
  • ค.ศ. 1997: รางวัลไฮนซ์ เฮอร์เบิร์ต คาร์รี
  • ค.ศ. 1998: รางวัลดอล์ฟ สเติร์นเบอร์เกอร์
  • ค.ศ. 2008: รางวัลฮันส์-เพเทอร์-ชตีล

หนังสือที่เกี่ยวข้อง[แก้]

  • Abschied vom Schlaraffenland. Gedanken über Politik und Kultur. Deutsche Verlags-Anstalt, Stuttgart, München 1987, ISBN 3-421-06081-9.
  • Manfred Rommels gesammelte Sprüche, Gefunden und herausgegeben von Ulrich Frank-Planitz, Engelhorn Verlag, Stuttgart 1988, ISBN 3-87203-050-7
  • Wir verwirrten Deutschen. Ullstein, Frankfurt am Main 1989, ISBN 3-548-34614-6.
  • Manfred Rommels gesammelte Gedichte. Engelhorn-Verlag, Stuttgart 1993
  • Die Grenzen des Möglichen. Ansichten und Einsichten. Deutsche Verlags-Anstalt, Stuttgart, München 1995, ISBN 3-421-05001-5.
  • Trotz allem heiter. Erinnerungen. Deutsche Verlags-Anstalt, Stuttgart, München 1998, ISBN 3-421-05151-8.
  • Neue Sprüche und Gedichte. Ge sammelt und herausgegeben von Ulrich Frank-Planitz, Hohenheim-Verlag, Stuttgart 2000, ISBN 978-3-89850-002-9
  • Manfred Rommels gesammelte Sprüche, dva, Stuttgart 2001, ISBN 978-3-421-05573-6.
  • Holzwege zur Wirklichkeit. Hohenheim-Verlag, Stuttgart 2001, ISBN 3-89850-026-8.
  • Soll und Haben. Deutsche Verlags-Anstalt, Stuttgart, München 2001, ISBN 3-421-05579-3.
  • Das Land und die Welt. Hohenheim-Verlag, Stuttgart 2003, ISBN 3-89850-099-3.
  • Ganz neue Sprüche & Gedichte und andere Einfälle. Hohenheim-Verlag, Stuttgart 2004, ISBN 3-89850-123-X
  • Vom Schlaraffenland ins Jammertal?. Hohenheim-Verlag, Stuttgart 2006, ISBN 3-89850-137-X.
  • Gedichte und Parodien. Hohenheim-Verlag, Stuttgart 2006, ISBN 3-89850-151-5.
  • Manfred Rommels schwäbisches Allerlei. Eine bunte Sammlung pfiffiger Sprüche, witziger Gedichte und zumeist amüsanter Geschichten. Hohenheim-Verlag, Stuttgart 2008, ISBN 978-3-89850-170-5.
  • Auf der Suche nach der Zukunft. Zeitzeichen unter dem Motto: Ohne Nein kein Ja. Hohenheim-Verlag, Stuttgart 2008, ISBN 978-3-89850-173-6.
  • 1944 – das Jahr der Entscheidung. Erwin Rommel in Frankreich(The year of decesion. Erwin Rommel in France), Hohenheim-Verlag, Stuttgart 2010, ISBN 978-3-89850-196-5.
  • Die amüsantesten Texte. Hohenheim-Verlag, Stuttgart 2010, ISBN 978-3-89850-203-0.

อ้างอิง[แก้]

  1. "The sons of wartime generals who became great friends". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-18. สืบค้นเมื่อ 2018-09-02.
  2. "Death of the Desert Fox: Rommel's son's account of his father's last moments after Hitler ordered him to take a cyanide pill or be arrested". Daily Mail. 30 December 2012.
  3. Manfred Rommel: Trotz allem heiter. Stuttgart 1998, 3rd edition, p. 77–85. ISBN 3-421-05151-8
  4. 4.0 4.1 Was Macht Eigenlich...: Manfred Rommel stern.de
  5. Usselmann, Rainer. "18. Oktober 1977: Gerhard Richter's work of mourning and its new audience". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-06-27. สืบค้นเมื่อ 2008-10-11.
  6. "Tage des Zorns, Tage der Trauer" (ภาษาเยอรมัน). Die Zeit. 16 October 1987. สืบค้นเมื่อ 7 November 2013.
  7. Sobel, Brian M. (1997). The Fighting Pattons. Greenwood Publishing Group. p. 94. ISBN 9780275957148.
  8. "Career Spotlight: Benjamin Patton (C'88)". alumni.georgetown.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 December 2013.
  9. "Die Väter Feinde, die Söhne Freunde" (ภาษาเยอรมัน). Badische Zeitung. 5 May 2009.
  10. "Festive retirement party for Stuttgart Mayor Manfred Rommel". German News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 September 2005. สืบค้นเมื่อ 2006-10-05.
  11. 11.0 11.1 11.2 Dan van der Vat, Manfred Rommel obituary, The Guardian, 7 November 2013
  12. Manfred Rommel: Freundlich, ehrlich, demokratisch Der Tagesspiegel, vom 23. Dezember 2008.
  13. Martin, Douglas (9 November 2013). "Manfred Rommel, Son of German Field Marshal, Dies at 84". The New York Times.
  14. "Ehrenbürgerwürde der Universität Stuttgart für Suzanne Mubarak und Manfred Rommel". Informationsdienst Wissenschaft. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 October 2010. สืบค้นเมื่อ 2007-06-30.
  15. 15.0 15.1 15.2 Löffelholz, Thomas (16 December 1996). "Was vorbei ist, kann nicht mehr schiefgehen". Die Welt.

บรรณานุกรม[แก้]

  • Puhl, Widmar: Manfred Rommel: Der Oberbürgermeister. (in German). Zürich/Wiesbaden: Orell Füssli 1990, ISBN 3-280-01997-4.
  • Rommel, Manfred: Trotz allem heiter. Erinnerungen. (in German). Stuttgart: Deutsche Verlagsanstalt, Stuttgart 1998, ISBN 3-421-05151-8. (His memories)