ข้ามไปเนื้อหา

มัตสึโอะ บาโช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อนุสาวรีย์ของบาโชในเมืองโองากิ จังหวัดกิฟุ
มัตสึโอะ บาโช
มัตสึโอะ บาโช
ชื่อภาษาญี่ปุ่น
คันจิ松尾 芭蕉
ฮิรางานะまつお ばしょう
การถอดเสียง
โรมาจิMatsuo Bashō

มัตสึโอะ บาโช (ญี่ปุ่น: 松尾芭蕉 Matsuo Bashō, ค.ศ. 1644 – 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1694[1][2]) หรือ บาโช เป็นนามแฝงของ มัตสึโอะ มูเนฟูซะ (松尾宗房, Matsuo Munefusa)[3] เป็นกวีชาวญี่ปุ่น ผู้ซึ่งได้รับสมญานามเป็นปรมาจารย์ทางด้านบทกวีไฮกุ ในงานกวีที่เขาได้แต่งขึ้นเขียนเพียงชื่อ 芭蕉 (はせを, ฮาเซโอะ) เขาเป็นหนึ่งในกวีที่อยู่ในช่วงยุคสมัยเอโดะ

บาโช เกิดในอิงะ ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดมิเอะ ในตระกูลซามูไร ภายหลังจากการใช้ชีวิตหลายปีภายใต้วิถีชีวิตซามูไร เข้าได้ค้นพบว่าการเป็นนักประพันธ์นั้นเหมาะกับเขามากกว่า เขาจึงได้ละทิ้งวิถีชีวิตซามูไร บาโชได้เริ่มใช้ชีวิตแบบกวีเมื่อได้รับใช้เจ้านายในฐานะซามูไร ในตอนแรกเขาได้ตั้งชื่อตนเองว่า โทเซ (桃青, Tosei) ตามบทกวีโทเซ ซึ่งหมายถึงผลพีชเล็ก ๆ ด้วยบาโชมีความยกย่องนับถือในตัวกวีจีนชื่อหลี่ ไป๋ (李白, Lǐ Bái) ซึ่งหมายถึงลูกพลัมสีขาว

ในปี ค.ศ. 1666 เมื่อเจ้านายเก่าได้สิ้นชีวิตลง และมีเจ้านายใหม่ซึ่งเป็นพี่น้องของเจ้านายเดิมขึ้นมาปกครอง เขาได้เลือกกลับไปบ้าน แทนที่จะรับตำแหน่งต่อในฐานะซามูไร และย้ายไปเอโดะในปี ค.ศ. 1675 (ปัจจุบันคือโตเกียว) ต่อมาในปี ค.ศ. 1678 ที่เอโดะ เขาได้รับตำแหน่งให้เป็นปรมาจารย์ไฮกุ หรือ โซโช (宗匠, sōshō) และเริ่มชีวิตของกวีอาชีพ ในปี ค.ศ. 1680 ได้ย้ายไปยังฟูกูงาวะ (ส่วนหนึ่งของเอโดะ) และได้เริ่มปลูกต้นบาโช (芭蕉, Bashō, แปลว่า: ต้นกล้วย) ที่เขาชื่นชอบในบริเวณสวน ภายหลังจากเขาที่ได้ใช้ชื่อตัวเองว่าบาโช

ในช่วงชีวิต บาโชได้ออกเดินทางท่องเที่ยวไปหลายแห่ง สถานที่ที่มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น และสถานที่ที่ปรากฏในงานประพันธ์ การท่องเที่ยวเหล่านี้มีส่วนสำคัญในงานเขียนของเขา สถานที่บางแห่งได้ส่งเสริมให้มีจินตนาการที่ยิ่งใหญ่ ในการเดินทางบะโชได้พบสานุศิษย์ และสอนพวกเขาด้วยเร็งงะ (連歌, renga)

บทประพันธ์ที่มีชื่อเสียงที่สุดของชาโชคือ โอกุ โนะ โฮโซมิจิ (おく細道ほそみち, Oku no Hosomichi, แปลว่า: เส้นทางสายเล็ก ๆ ลึกเข้าไป) เขียนขึ้นภายหลังจากการเดินทางของบาโชและลูกศิษย์ ซึ่งเริ่มจากเอโดะในวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 1689 และพวกเขาเดินทางไปโทโฮกุและโฮกูริกุ จากนั้นจึงกลับสู่เอโดะในปี ค.ศ. 1691 การเดินทางในหนังสือนี้จบลงที่โองากิและมิโนะ (ปัจจุบันคือจังหวัดกิฟุ) ด้วยบทหนึ่งในไฮกุที่เขาแสดงความหมายโดยนัยว่า จะเดินทางไปศาลเจ้าอิเซะต่อ ภายหลังจากการพักอยู่ที่โองากิ

บาโชเสียชีวิตเพราะโรคภัยไข้เจ็บในช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิในปี ค.ศ. 1694 ที่โอซากะ ภายในบ้านของลูกศิษย์ที่เขาร่วมเดินทางไปด้วย ก่อนสิ้นใจ บาโชได้เขียนไฮกุสุดท้าย

ในการเดินทางฉันล้มป่วย
ความฝันวิ่งอยู่รอบกาย
ในทุ่งที่ปกคลุมด้วยหญ้าแห้ง
旅に病んで夢は枯野をかけ廻る
Tabini yande
Yume ha kareno wo
Kake meguru

บทกวีที่มีชื่อเสียงของบะโช

[แก้]

"สระเก่าเอ๋ย"

สระเก่าเอ๋ย
กบกระโดดลงไป
เสียงของน้ำ
古池や蛙飛びこむ水の音
Furuike ya
Kawazu tobikomu
Mizu no oto

เกร็ด

[แก้]

เกี่ยวกับ บาโช (Bashō, 芭蕉) หรือ ต้นกล้วย

เนื่องจากสภาพอากาศนั้นหนาวเย็นเกินกว่าที่กล้วยจะมีผลได้ ว่ากันว่า เขาตั้งใจว่าจะสื่อความหมายของบทกวีที่มิอาจมีผล หรือไร้ผล และเนื่องจากบาโชได้ศึกษาเซน เช่นนี้ เป็นไปตามแนวคิดของเซน

บทความและลิงก์ที่เกี่ยวข้อง

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]