อิวาเนะ มัตสึอิ
อิวาเนะ มัตสึอิ | |
---|---|
22 พฤษภาคม 1885 – 23 ธันวาคม พ.ศ. 1948 (70 ปี) | |
อิวาเนะ มัตสึอิ | |
เกิดที่ | นาโงยะ ประเทศญี่ปุ่น |
อนิจกรรมที่ | เรือนจำซูกะโมะ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นภายใต้การยึดครองของสัมพันธมิตร |
เหล่าทัพ | กองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่น |
ยศสูงสุด | พลเอก |
รับใช้ | ญี่ปุ่น |
บัญชาการ | IJA Brigade 35 IJA กองทัพ 11 IJA กองทัพบกที่ 10,กองพลยานเกราะเร็วเซี่ยงไฮ้ |
การยุทธ | สงครามโลกครั้งที่สอง สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง การสังหารหมู่นานกิง |
บำเหน็จ | เครื่องราชอิสริยาภรณ์ว่าวทองคำ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย |
อิวาเนะ มัตสึอิ (ญี่ปุ่น: 松井 石根; โรมาจิ: Matsui Iwane; ทับศัพท์: extra 27 July 1878 – 23 December 1948) ; 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1885 — 22 กันยายน ค.ศ. 1957) เป็นนายพลในกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นและผู้บัญชาการกองกำลังญี่ปุ่นในประเทศจีนในปี ค.ศ. 1937 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง
อิวาเนะ มัตสึอิถูกตัดสินลงโทษประหารชีวิตในข้อหาก่ออาชญากรรมสงครามและดำเนินการโดยฝ่ายสัมพันธมิตร เนื่องจากเขาได้มีส่วนร่วมกับการสังหารหมู่นานกิง
อิวาเนะ มัตสึอิเกิดที่เมืองนาโกย่า เขาเข้าเป็นทหารแห่งกองทัพจักรวรรดิญี่ปุนและเข้าร่วมสู้รบในสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น (ค.ศ. 1904–05) เขาอาสาไปทำงานต่างประเทศที่นั่นหลังจากเรียนจบจากวิทยาลัยการทัพบกในปี ค.ศ. 1906 เมื่อมัตสึอิได้เติบโตในตำแหน่งหน้าที่ทางทหารเขาได้รับชื่อเสียงในฐานะผู้เชี่ยวชาญชั้นแนวหน้าของกองทัพญี่ปุ่นในประเทศจีนและเขาเป็นผู้สนับสนุนอย่างกระตือรือร้นในการแผ่ขยายอิทธิพลของจักรวรรดิญี่ปุ่นในเอเชีย เขายังเห็นด้วยกับลัทธิจักรวรรดิอาณานิคมญี่ปุ่นและมีบทบาทสำคัญในการก่อตั้งวงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพา
มัตสึอิเกษียณราชการจากการปฏิบัติหน้าที่ในกองทัพเมื่อปี ค.ศ. 1935 แต่ถูกเรียกตัวกลับเข้าประจำการในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1937 เมื่อญี่ปุ่นเริ่มต้นรุกรานประเทศจีนทำให้เกิดสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง เขาได้บัญชาการกองทัพญี่ปุ่นเข้ารุกรานเมืองเซี่ยงไฮ้ในยุทธการเซี่ยงไฮ้ หลังจากชนะการสู้รบ มัตสึอิก็ประสบความสำเร็จในการโน้มน้าวให้ผู้บังคับบัญชาระดับสูงของญี่ปุ่นตัดสินใจเข้าโจมตีสู่เมืองหลวงหนานจิงของจีน กองทหารภายใต้คำสั่งของเขาที่เข้ายึดครองหนานจิงเมื่อวันที่ 13 ธันวาคมมีความรับผิดชอบต่อการสังหารหมู่นานกิงซึ่งเป็นอาชญากรรมสงครามที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก
ในท้ายที่สุดมัตสึอิได้เกษียรอายุจากกองทัพอีกครั้งใน ปี ค.ศ. 1938 ซึ่งขณะนั้นตามมาด้วยเหตุการณ์ที่ญี่ปุ่นได้พ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่สองเขาถูกตัดสินลงโทษในข้อหาก่ออาชญากรรมสงครามโดยศาลทหารระหว่างประเทศสำหรับตะวันออกไกล (International Military Tribunal for the Far East) และถูกประหารชีวิตโดยการแขวนคอ
ถึงอย่างไรก็ตามในปัจจุบันทางรัฐบาลญี่ปุ่นได้มีการนำเอาเถ้ากระดูกอัฐิของมัตสึอิ อิวาเนะและอาชญากรสงครามชาวญี่ปุ่นคนอื่นๆ ไปประดิษฐานสักการะบูชาที่ศาลเจ้ายาซูกูนิในปี ค.ศ. 1978 ได้สร้างความไม่พอใจแก่ประเทศจีน ที่ถือว่าญี่ปุ่นไม่มีความรับผิดชอบและสำนึกผิดต่อการก่ออาชญากรสงครามทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งกับประเทศจีนถึงปัจจุบัน
ชีวิตช่วงต้นและอาชีพทหาร, 1878–1906
[แก้]มัตสึอิ อิวาเนะเกิดที่นาโกย่า[1] ในวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1878[2] เขาเป็นลูกชายคนที่หกของ ทะเคะคุนิ มัตสึอิ ผู้เป็นซามูไรยากจนและอดีตผู้ยึดมั่นต่อไดเมียว แห่งแคว้นโอวาริ ในช่วงยุครัฐบาลโชกุนโทกูงาวะแห่งเอะโดะ
หลังจากจบชั้นประถมศึกษาพ่อแม่ของเขายืนยันว่าเขาต้องศึกษาต่อ แต่มัตสึอิกังวลเรื่องหนี้สินของพ่อและไม่ต้องการเป็นภาระทางการเงิน แม้ว่าเขาจะเป็นชายร่างเตี้ยผอมบางและอ่อนแอ แต่มัตสึอิก็เลือกอาชีพในกองทัพเพราะในญี่ปุ่นในเวลานั้นโรงเรียนทหารเรียกเก็บค่าเล่าเรียนอย่างถูกที่สุด[3]
มัตสึอิเข้าเรียนที่โรงเรียนเตรียมทหารกลางในปี ค.ศ. 1893 และในปี ค.ศ. 1896 เขาสามารถสอบเข้าเรียนในโรงเรียนการทหารกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น[2] มัตสึอิเป็นนักเรียนที่ยอดเยี่ยมและสำเร็จการศึกษาสอบได้ในระดับที่สองของชั้นเรียน ในเดือนพฤศจิกายนปี ค.ศ. 1897 เขามีเพื่อนร่วมชั้นที่โดดเด่นเคียงคู่ของเขา ได้แก่ จินซาบูโระ มาซากิ, โนะบุยุกิ อะเบะ, ชิเงรุ ฮอนโจ และซะดะโอะ อะระกิ ซึ่งต่อมาจะกลายเป็นนายพลในกองทัพจักรวรรดิในอนาคตต่อมา[3]
มัตสึอิยังคงเรียนอยู่ที่โรงเรียนการทหารจนถึงในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1904 เมื่อทางโรงเรียนได้ปิดการเรียนการสอนเนื่องจากการเกิดสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่นได้ปะทุขึ้น เขาถูกส่งไปต่างประเทศทันทีซึ่งเขารับราชการทหารในแมนจูเรียในประเทศจีน ในฐานะผู้บัญชาการกองร้อยในหน่วยรบของกรมทหารราบที่ 6 แห่งกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่น[4]
ในระหว่างยุทธการลั่วหยางหรือที่ญี่ปุ่นเรียกว่า "ยุทธการโชวชันปุ" เขาได้รับบาดเจ็บในขณะปฏิบัติภารกิจและเพื่อนทหารในหน่วยรบของเขาส่วนใหญ่ถูกฆ่าตาย เมื่อญี่ปุ่นชนะสงครามกับรัสเซีย มัตสึอิได้กลับไปรักษาตัวที่ญี่ปุ่นและกลับไปเรียนที่โรงเรียนการทหารและจบการศึกษาระดับสูงสุดของชั้นเรียนในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1906[3]
การเข้าไปแทรกแซงในจีน
[แก้]มัตสึอิมีความสนใจในประเทศจีนเป็นอย่างยิ่ง[3] ถึงกับเสนอและสนับสนุนให้กองทัพญี่ปุ่นเข้าไปตั้งฐานทัพในจีน ในปี ค.ศ. 1924 เขาเสนอตัวเป็นที่ปรึกษาทางการทหารให้ขุนศึกจีน จาง จั้วหลินในดินแดนแมนจูเรียเมืองฮาร์บิน ในช่วงสมัยขุนศึก มัติสึอิ อิวาเนะได้พยายามยุยงให้ชาวจีนอ่อนแอแตกความสามัคคีและขัดขวางไม่ให้จีนรวมประเทศได้สำเร็จโดยหนุนแมนจูเรียเป็นอิสระ อีกทั้งเขายังแอบส่งข่าวจากการสอดแนมในจีนให้กองทัพคันโตของญี่ปุ่นในแมนจูเรีย[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Torsten Weber, "The Greater Asia Association and Matsui Iwane," in Pan-Asianism: A Documentary History, Volume 2, eds. Sven Saaler and Christopher Szpilman (Lanham: Rowman & Littlefield, 2011), 140
- ↑ 2.0 2.1 Kazutoshi Hando et al., 歴代陸軍大将全覧: 昭和篇(1) (Tokyo: Chūō Kōron Shinsha, 2010), 21. ISBN 9784121503374
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 Masataka Matsuura, 「大東亜戦争」はなぜ起きたのか (Nagoya: Nagoya Daigaku Shuppankai, 2010), 504–505. ISBN 9784815806293
- ↑ Kazutoshi Hando et al., 歴代陸軍大将全覧: 昭和篇(1) (Tokyo: Chūō Kōron Shinsha, 2010), 133. ISBN 9784121503374
- ↑ Takashi Hayasaka, 松井石根と南京事件の真実 (Tokyo: Bungei Shunjū, 2011), 32–33, 36–37, 40–41. ISBN 9784166608171