มัตตี นือแกเน็น
มัตตี เอ็นซิโอ นือแกเน็น (ฟินแลนด์: Matti Ensio Nykänen; 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 − 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562)[1] เป็นนักสกีกระโดดไกลชาวฟินแลนด์ระหว่างปี 2524 ถึง 2534 เขาได้รับรางวัลโอลิมปิกฤดูหนาว 5 เหรียญ (4 เหรียญทอง) รางวัลแชมป์โลก 9 เหรียญ (5 เหรียญทอง) และ รางวัลแชมป์ระดับประเทศ 22 เหรียญ (14 เหรียญทอง) ทำให้เขาถูกขนานนามว่าเป็นนักสกีกระโดดไกลชายที่ดีที่สุดในโลก[2] โดยมีครั้งที่สำคัญที่สุด คือ เขาได้รับสามเหรียญทองในกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว 1988 ทำให้เขากลายเป็นนักกีฬาที่ได้รับเหรียญมากที่สุดในโอลิมปิก ร่วมกับยวอนเนอ ฟัน เกินนิป จากประเทศเนเธอร์แลนด์
นือแกเน็นเป็นนักสกีกระโดดไกลคนเดียวในประวัติศาสตร์ที่สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศจากห้ารายการใหญ่ทั้งหมด ได้แก่ เหรียญทองโอลิมปิกฤดูหนาว (สามครั้ง) กีฬาสกีกระโดดไกลชิงแชมป์โลก (หนึ่งครั้ง) กีฬาร่อนสกีชิงแชมป์โลก (หนึ่งครั้ง) World Cup สี่สมัย และ Four Hills Tournament (สองครั้ง)
การเสียชีวิต
[แก้]นือแกเน็นเสียชีวิตที่บ้านในลาปเพนรานตา ก่อนเที่ยงคืนเล็กน้อยของวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2562 จากอาการป่วยกระทันหัน ด้วยวัย 55 ปี[3] เขาบ่นว่ามีอาการมึนและคลื่นไส้ในคืนวันนั้น[4] ก่อนหน้านี้สามเดือน เขาได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวาน[5] แต่เขาก็ไม่ได้สนใจคำวินิจฉัยและยังดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่อไป[6] ข่าวการเสียชีวิตของเขานั้นเผยแพร่ตามสื่อทั้งในฟินแลนด์และต่างประเทศ และมีคำสรรเสริญมากมายจากนักสกีกระโดดไกลในยุคเดียวกัน[7] เขามีภรรยาและลูกอีกสามคนที่ยังมีชีวิตอยู่[1] สองคนจากการแต่งงานก่อนหน้าและหนึ่งคนเป็นบุตรนอกสมรส[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Troubled Finnish ski jumping legend Matti Nykänen dead at 55" (ภาษาอังกฤษ). Yle News. 2019-02-04. สืบค้นเมื่อ 2019-02-05.
- ↑ "Matti Nykänen". IOC. Retrieved 4 March 2017.
^ Boswell, Thomas (24 February 1988). "Another Jump Begets Gold for Nykanen". The Washington Post. Fred Ryan. Retrieved 4 March 2017.
^ Associated Press (24 June 1994). "Sports People: Ski Jumping; Nykanen Gives Up Comeback and Retires". The New York Times. The New York Times Company. Retrieved 4 March 2017.
^ Davies, Lizzy (28 December 2009). "Ski jump star suspected of trying to stab his wife". The Guardian. Guardian Media Group. Retrieved 4 March 2017.
^ Battersby, Kate (8 January 2010). "Life still all downhill for ski legend Matti Nykanen". Daily Express. Northern & Shell. Retrieved 4 March 2017.
^ MacArthur, Paul J. (September–October 2011). Skiing Heritage Journal, p. 29, at Google Books. International Skiing History Association. Retrieved 4 March 2017. - ↑ Juuti, Mikko (2019-02-07). "Seiska: Pia-vaimo löysi Matti Nykäsen kuolleena pesuhuoneesta – kertoo mäkikotkan viimeiset sanat". Ilta-Sanomat (ภาษาฟินแลนด์). สืบค้นเมื่อ 2019-02-08.
- ↑ Leinonen, Pauliina (2019-02-04). "Ystävä kertoo: Matti Nykänen oli valitellut illalla huimausta ja pahoinvointia" (ภาษาฟินแลนด์). Ilta-Sanomat. สืบค้นเมื่อ 2019-02-05.
- ↑ Lintunen, Katja (2018-11-15). "Matti Nykänen kärsii oudoista oireista - sai lääkäriltä sokkiuutisen: Pelottaa helkkaristi!". www.seiska.fi (ภาษาฟินแลนด์). สืบค้นเมื่อ 2019-02-08.
- ↑ "Mis põhjustas Matti Nykäneni surma? Lähedane sõber avalikustas hirmutava fakti". Sport (ภาษาเอสโตเนีย). 2019-02-05. สืบค้นเมื่อ 2019-02-06.
- ↑ Myllyniemi, Timo; Karjalainen, Tero; Marttinen, Mikko (2019-02-04). "Matti Nykäsen kuolema nousi pääuutiseksi Norjassa – kilpakumppani: "Hän oli mäkihypyn vastaus Diego Maradonalle"" (ภาษาฟินแลนด์). Ilta-Sanomat. สืบค้นเมื่อ 2019-02-05.
- ↑ "Soome meedia: suri suusahüppelegend Matti Nykänen". Elu24 (ภาษาเอสโตเนีย). 2019-02-04. สืบค้นเมื่อ 2019-02-06.