มะจอเต๊ะ
หน้าตา
มะจอเต๊ะ | |
---|---|
![]() | |
มะจอเต๊ะใบกว้างที่ Olbrich Botanical Gardens, แมดิสัน | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ ![]() | |
อาณาจักร: | พืช Plantae |
เคลด: | พืชมีท่อลำเลียง Tracheophyta |
เคลด: | พืชดอก Angiosperms |
เคลด: | พืชใบเลี้ยงคู่แท้ Eudicots |
เคลด: | โรสิด Rosids |
อันดับ: | กุหลาบ |
วงศ์: | วงศ์ขนุน |
สกุล: | โพ |
สกุลย่อย: | F. subg. Ficus Jack |
สปีชีส์: | Ficus deltoidea |
ชื่อทวินาม | |
Ficus deltoidea Jack |
มะจอเต๊ะ หรือ ไทรใบโพธิ์หัวกลับ หรือ ไทรไข่มุก หรือ สาริกาลิ้นทอง[1] เป็นไม้ทรงพุ่มขนาดเล็ก อยู่ในวงศ์ขนุน (Moraceae) โดยที่ชื่อ "มะจอเต๊ะ" เป็นภาษามลายูปัตตานี ทั้งนี้เนื่องจากยังไม่มีการกำหนดชื่ออย่างเป็นทางการในภาษาไทย
ลักษณะ
[แก้]มะจอเต๊ะ เป็นไม้พื้นเมืองที่พบอยู่ทางตอนใต้ของประเทศไทย แถบจังหวัดนราธิวาส จึงทำให้มีชื่อเป็นภาษามลายูถิ่น ลักษณะเป็นไม้พุ่มอิงอาศัยเกาะตามต้นไม้ใหญ่ ลำต้น กิ่งและใบ มีน้ำยางสีขาวขุ่น ผลแบบมะเดื่อออกตามซอกใบ แบ่งออกเป็น 2 ชนิดย่อย (F. d. deltoidea, F. d. motleyana) คือชนิดใบแคบ ที่ใบรูปขอบไข่กลับ ขนาดใบ กว้าง 2 – 2.5 เซนติเมตร ยาว 4 – 5 เซนติเมตร กับชนิดใบกว้าง ใบรูปไข่กลับกว้าง ๆ จนเกือบกลม ขนาดใบ กว้าง 4 – 7 เซนติเมตร ยาว 5 – 9 เซนติเมตร ทั้งสองพันธุ์ สามารถพบได้ในป่าในแถบจังหวัดนราธิวาส[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ไทรใบโพธิ์หัวกลับ/ไทรไข่มุก/สาลิกาลิ้นทอง
- ↑ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ. เกร็ดวิทย์ชวนรู้: มะจอเต๊ะ เก็บถาวร 2007-12-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน -- ปทุมธานี: กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี