ข้ามไปเนื้อหา

มหาวิทยาลัยโบราณ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดในออกซฟอร์ด อังกฤษ เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในโลกภาษาอังกฤษ

ในโลกภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยโบราณหมายถึงมหาวิทยาลัยยุคกลางและมหาวิทยาลัยสมัยใหม่ยุคแรกในบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ ที่ก่อตั้งก่อน ค.ศ. 1600[1] ในจำนวนนี้ สี่แห่งตั้งอยู่ในสกอตแลนด์ สองแห่งในอังกฤษ และหนึ่งแห่งในไอร์แลนด์ โดยมหาวิทยาลัยเหล่านี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดในโลกที่ยังเปิดสอน

มหาวิทยาลัยโบราณในบริเตนใหญ่ประกอบเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันสำคัญทางวัฒนธรรม 27 แห่งที่ได้รับการยอมรับจากสถาบันกษัตริย์ของบริเตนให้เป็น "องค์กรที่มีสถานะพิเศษของสหราชอาณาจักร"[2]

มหาวิทยาลัยโบราณที่ยังคงดำเนินการอยู่ในอังกฤษ สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ ตามลำดับการก่อตั้ง:

ปีค.ศ. ชื่อ ก่อตั้งในประเทศ ที่ตั้ง หมายเหตุ
1096 มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ราชอาณาจักรอังกฤษ ออกซฟอร์ด อังกฤษ เว็บไซต์ทางการของมหาวิทยาลัยระบุว่า "ไม่มีวันก่อตั้งที่ชัดเจน แต่การเรียนการสอนบางรูปแบบมีในออกซฟอร์ดในปี 1096 และพัฒนาอย่างรวดเร็วตั้งแต่ปี 1167 เมื่อพระเจ้าเฮนรีที่ 2 แห่งอังกฤษ ห้ามไม่ให้นักเรียนอังกฤษเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยปารีส"[3] การสอนหยุดชั่วคราวในปี 1209 (เนื่องจากการประหารนักวิชาการ 2 คน) และปี 1355 (การจราจล St Scholastica riot)
1209 มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เคมบริดจ์ อังกฤษ ก่อตั้งโดยกลุ่มนักวิชาการที่ออกจากออกซฟอร์ด หลังข้อขัดแย้งจากการประหารชีวิตนักวิชาการ 2 คนในปี 1209 ได้รับการยอมรับในฐานะ studium generale ตั้งแต่ปลายคริสตศตวรรษที่ 13 และได้รับสารตราพระสันตะปาปาในปี 1318[4][5]
1413 มหาวิทยาลัยเซนต์แอนดรูส์ ราชอาณาจักรสกอตแลนด์ เซนต์แอนดรูส์ สกอตแลนด์ ก่อตั้งโดยสารตราพระสันตะปาปา บนฐานขององค์กรจำนวหนึ่งที่ก่อตั้งระหว่างปี 1410 และ 1413 แต่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการในปี 1413[6]
1451 มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ กลาสโกว์ สกอตแลนด์ ก่อตั้งโดยสารตราพระสันตะปาปาของ Pope Nicholas V[7]
1495 มหาวิทยาลัยแอเบอร์ดีน แอเบอร์ดีน สกอตแลนด์ King's College ก่อตั้งในปี 1495 โดยสารตราพระสันตะปาปา และ Marischal College ก่อตั้งในปี 1593 วิทยาลัยทั้งสองแห่งควบรวมเข้าด้วยกันในปี 1860
1582 มหาวิทยาลัยเอดินบะระ เอดินบะระ สกอตแลนด์ ก่อตั้งโดยสภาเมือง โดยอำนาจของกฎบัตรที่มอบให้โดย James VI
1592 มหาวิทยาลัยดับลิน ราชอาณาจักรไอร์แลนด์ ดับลิน ไอร์แลนด์ ก่อตั้งโดยกฎบัตรของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 มีวิทยาลัยทรินิตี [1][8][9] เป็นวิทยาลัยเดียวในมหาวิทยาลัย

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Radcliffe dean to lead historic university in Scotland". Ukinusa.fco.gov.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-09. สืบค้นเมื่อ 2012-02-17.
  2. Elston, Laura (7 March 2023). "King invites leading institutions to reaffirm loyalty to him at historic ceremony". The Independent.
  3. A brief history of the University of Oxford เก็บถาวร 2008-04-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Oxford University
  4. Alan B. Cobban (5 July 2017). The Medieval English Universities: Oxford and Cambridge to C. 1500. Taylor & Francis. pp. 58, 59. ISBN 9781351885805.
  5. Patrick Zutshi (15 April 2016). "When did Cambridge become a studium generale". ใน Kenneth Pennington; Melodie Harris Eichbauer (บ.ก.). Law as Profession and Practice in Medieval Europe: Essays in Honor of James A. Brundage. Routledge. pp. 162–170. ISBN 9781317107682.
  6. Jobson Lyon, Charles (2009). The History of St. Andrews, Ancient and Modern. BiblioLife. p. 68. ISBN 978-1103782949.
  7. Devine, Thomas (1995). Glasgow: Beginnings to 1830. Manchester University Press. p. 3. ISBN 9780719036910.
  8. Meenan, James (May 30, 1946). ""The Universities." II.—The University of Dublin: Trinity College" (PDF). TARA - Trinity College Dublin.
  9. "Rise & Progress of Universities – Chapter 17". Newman Reader. สืบค้นเมื่อ 2012-02-17.