มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย
พระมหาพิชัยมงกุฎ
สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย
ชื่อย่อมทร.ล้านนา ชร. / RMUTL CR
ประเภทวิทยาเขต
สถาปนา3 มกราคม พ.ศ. 2539
อธิการบดีรองศาสตราจารย์วิเชษฐ ทิพย์ประเสริฐ
อธิการบดีรองศาสตราจารย์วิเชษฐ ทิพย์ประเสริฐ
ที่ตั้ง
99 หมู่ 10 ตำบลทรายขาว อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย
สี███สีขาว
███สีแดง
เว็บไซต์chiangrai.rmutl.ac.th

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย เป็นสถาบันการศึกษาวิชาชีพ ด้านเทคโนโลยี ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้จัดตั้งขึ้น โดยได้รับการสถาปนาและวางศิลาฤกษ์ ในวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2539 เพื่อเฉลิมฉลองในวโรกาส "กาญจนาภิเษก" พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงครองราชย์ครบ 50 ปี เพื่อเป็นการกระจายโอกาสทางการศึกษา และพัฒนาสู่ท้องถิ่นชนบท [1] โดยมีพื้นที่เป้าหมายดำเนินงานในเขตภาคเหนือตอนบน และในเขตเศรษฐกิจพิเศษ 4 ชาติ ที่เรียกว่า "เขตสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ" โดยการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และด้านบริการเพื่อสนองความต้องการของตลาดแรงงาน และสังคมภูมิภาค เป็นสถาบันการศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และศิลปวัฒนธรรม

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย จัดตั้งขึ้นบริเวณ "นิคมแม่ลาว" อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย มีพื้นที่รวม 5,000 ไร่ เป็นพื้นที่ภูเขา 3,500 ไร่ พื้นที่ราบ 1,500 ไร่ โดยมีพื้นที่ใช้สอยปัจจุบัน 740 ไร่ 2 งาน 18 ตารางวา

ปัจจุบันวิทยาเขตเชียงราย มีจำนวนนักศึกษากว่า 1,439 คน[2]

รายนามผู้บริหาร[แก้]

สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเชียงราย
รายนามผู้อำนวยการ การดำรงตำแหน่ง
1. นายชัยยง เอื้อวิริยานุกูล พ.ศ. 2538 - พ.ศ.2544
2. นายธวัช ณ เชียงใหม่ พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2545
3. นายบุญธรรม เร็วการ พ.ศ. 2545 - พ.ศ.2546
4. นายประหยัด อิ่มอุดม พ.ศ. 2546 – พ.ศ.2547
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เขตพื้นที่เชียงราย
รายนามรองอธิการบดีเขตพื้นที่ การดำรงตำแหน่ง
5. นายอุดม สุธาคำ พ.ศ. 2547 – พ.ศ. 2548
6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์อวยพร   บัวใบ พ.ศ. 2548  - พ.ศ. 2551
7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประสาร  รุจิระศักดิ์ พ.ศ. 2551 – พ.ศ. 2556
8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์อุดม       สุธาคำ พ.ศ. 2556 – พ.ศ. 2560
9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์นิติพงษ์   สมไชยวงค์ พ.ศ. 2561 – พ.ศ. 2561
10. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิวัติ       มูลปา พ.ศ. 2561 – พ.ศ. 2562
11. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธนากร    สร้อยสุวรรณ พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2565
12. รองศาสตราจารย์วิเชษฐ     ทิพย์ประเสริฐ พ.ศ. 2565 – ปัจจุบัน

หลักสูตรที่เปิดสอน[แก้]

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย จำแนกตามระดับการศึกษา ได้แก่ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง และระดับปริญญาตรี โดยมีคณะที่เปิดสอนจำนวนทั้งสิ้น 3 คณะ ได้แก่

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย เก็บถาวร 2010-01-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน[แก้]

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต 4 ปี (วศ.บ. 4 ปี)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ภาคพิเศษ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และระบบควบคุมอัตโนมัติ (วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์)
  • สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
  • สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ (วิศวกรรมโลจิสติกส์)
  • สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ (วิศวกรรมอุตสาหการ)
คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย[แก้]

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต 4 ปี (บธ.บ. 4 ปี)

  • สาขาวิชาบริหารธุรกิจ วิชาเอกการจัดการธุรกิจ
  • สาขาวิชาบริหารธุรกิจ วิชาเอกการจัดการโลจิสติกส์
  • สาขาวิชาบริหารธุรกิจ วิชาเอกการตลาดและการตลาดติจิทัล
  • สาขาวิชาระบบสารสนเทศทางธุรกิจ

หลักสูตรบัญชีบัณฑิต 4 ปี (บช.บ. 4 ปี)

  • สาขาวิชาการบัญชี

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย[แก้]

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ (ปวช. 3 ปี)

  • หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเตรียมวิศวกรรมศาสตร์

สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย[แก้]

ตรามหาวิทยาลัย[แก้]

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระบรมราชนุญาตให้อัญเชิญพระราชลัญจกรและพระมหาพิชัยมงกุฎมาเป็นตรามหาวิทยาลัย โดยลักษณะของตรามหาวิทยาลัยคือ เป็นรูปพระราชลัญจกรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลเดช ล้อมรอบด้วยดอกบัวแปดกลีบ ด้านบนมีเลขเก้าไทยประดิษฐานอยู่ อยู่ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ ด้านล่างทำเป็นรูปโค้งรองรับตราพระราชลัญจกร จารึกชื่อมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มีดอกไม้ทิพย์อยู่ด้านหัวและด้านท้ายของชื่อมหาวิทยาลัย

ดอกลีลาวดี

สีประจำเขตพื้นที่[แก้]

  • สีประจำเขตพื้นที่ ได้แก่ สีขาว - แดง

ดอกไม้ประจำเขตพื้นที่[แก้]

หน่วยงานของนักศึกษา[แก้]

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้กำหนดให้มีองค์กรของนักศึกษาในระดับเขตพื้นที่ เพื่อเป็นศูนย์กลางการประสานงาน และการดำเนินกิจกรรมของนักศึกษา[3] ได้แก่

  • หน่วยดำเนินกิจกรรม
    • สโมสรนักศึกษาเขตพื้นที่ เป็นศูนย์กลางการประสานงาน และบริหารงานกิจกรรมของนักศึกษาในระดับเขตพื้นที่ มีนายกสโมสรนักศึกษาคณะในเขตพื้นที่ และผู้แทนนักศึกษา เป็นคณะกรรมการบริหาร โดยมีนายกสโมสรนักศึกษาเขตพื้นที่ เป็นผู้บริหารสูงสุดในองค์กร
    • สโมสรนักศึกษาคณะ เป็นศูนย์กลางการประสานงาน และบริหารงานกิจกรรมของนักศึกษาในระดับคณะในแต่ละเขตพื้นที่ มีผู้แทนนักศึกษาในคณะ เป็นคณะกรรมการบริหาร โดยมีนายกสโมสรนักศึกษาคณะ เป็นผู้บริหารสูงสุดในองค์กร
    • ชมรม เป็นหน่วยดำเนินกิจกรรมของนักศึกษา โดยมีประธานชมรม เป็นผู้อำนวยการดำเนินงาน
  • หน่วยตรวจสอบ
    • สภานักศึกษาเขตพื้นที่ เป็นตัวแทนรักษาสิทธิและผลประโยชน์ของนักศึกษา ควบคุม ตรวจสอบการบริหารงานและการดำเนินงานขององค์กรนักศึกษา (สโมสรนักศึกษา และชมรม) เป็นศูนย์กลางในการรับฟังความคิดเห็นของนักศึกษา

อ้างอิง[แก้]

  1. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง จัดตั้งวิทยาเขตสังกัดสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล
  2. สรุปข้อมูลจำนวนนักศึกษา ปีการศึกษา 1/2566
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-08-27. สืบค้นเมื่อ 2010-04-26.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]